Tuesday, May 09, 2006

การสอบโอเน็ต เอเน็ต

ปีนี้(2549) เป็นปีที่นักเรียนชั้นม.6 ต้องใช้วิธีการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่โดยทำการสอบโอเน็ต เอเน็ต

ใครๆก็งงกับการสอบระบบนี้เพราะมีปัญหามากมายเหลือเกิน ตั้งแต่การสมัครสอบที่ต้องสมัครออนไลน์ ในการสอบมีปัญหาเรื่องที่นั่งสอบ เลขประจำตัวไม่ตรงกับสถานที่สอบฯลฯ จนถึงในการบอกผลสอบก็ผิดพลาดจนต้องมีการตวจเช็คซ้ำ 3 รอบ คะแนนที่ได้ไม่มีใครแน่ใจว่าถูกต้องแน่นอนเพราะขาดความเชื่อถือในกระบวนการตั้งแต่ต้น

คำถามที่ถามกันมากได้แก่ การสอบระบบนี้เป็นอย่างไร ทำไมต้องใช้ระบบนี้แทนระบบเอนทรานซ์แบบเดิม ถ้าเทียบกับที่อื่นๆมีการสอบในลักษณะนี้ที่ไหน หรือไม่
ข้อมูลเกี่ยวกับการสอบมีระบุใน http://ntthailand.mymaindata.com/ ดังนี้

"การวัดและประเมินผลการเรียนปีการศึกษา 2548
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)เป็นองค์กรของรัฐทำหน้าที่จัดระบบการทดสอบ พัฒนาแบบทดสอบเพื่อวัดและประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนบริการสอบ วัดความรู้ความสามารถ พัฒนาบุคลากรด้านการวัดและประเมินผล และเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและระดับนานาชาติ
สถาบันฯมีภารกิจหลักในการทดสอบมาตรฐานการจัดการศึกษาด้านผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการทดสอบผลการเรียนรู้รวบยอดระดับชาติซึ่งเป็นการวัดผลของกระบวนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะสมระยะยาวในตัวผู้เรียน เพื่อนำผลการวัดไปใช้ในการเปรียบเทียบ บ่งชี้ ประเมินและกำหนดนโยบายการศึกษา
โดยทดสอบนักเรียน 4 ช่วงชั้น ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 - ป.3)
ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 - ป.6)
ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 - ม.3)
และช่วงชั้นที่ 4 (ม.4 - ม.6)
ในปีการศึกษา 2548 สถาบันทดสอบจะดำเนินการประเมินให้กบช่วงชั้นที่ 4 ก่อน เนื่องจากมหาวิทยาลัยต้องการใช้ผลการทดสอบเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้วัดและประเมินผลมาตรฐานการจัดการศึกษาด้านผูเรียน ในช่วงชั้นที่ 4 ใน 2 ระดับ คือ
1. แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O - NET)
2. แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A - NET)

การสอบ O - NET (Ordinary National Educational Test)
O - NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1 ภาษาไทย 2 คณิตศาสตร์ 3 วิทยาศาสตร์ 4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5 ภาษาค่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล O - NET ประกอบด้วย 
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 80% - 90% : 10% - 20% ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer) 
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง 
3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ 
4. ข้อสอบครอบคลุมสาระและทักษะสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การสอบเป็นบริการของรัฐให้แก่นักเรียนทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

การสอบ A - NET (Advanced National Educational Test) 
A - NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง เป็นการวัดความรู้และ ความคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการวัดความรู้เชิง สังเคราะห์ โดยเน้นทักษะการคิดมากกว่า O-NET ประกอบด้วย 
1 ภาษาไทย 2 
2 คณิตศาสตร์ 2 
3 วิทยาศาสตร์ 2 
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2 
5 ภาษาอังกฤษ 2

ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล A - NET ประกอบด้วย 
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 60% - 80% : 40% - 20% ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer) 
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้าน เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และจะแสดงผลการทดสอบทั้งรวมและแยก 
3.ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
วิธีการคิดคะแนน 1. เมื่อมีการตรวจกระดาษคำตอบมีวิธีการวิเคราะห์ข้อสอบทุกข้อเพื่อหาคุณภาพขอข้อสอบ ถ้าข้อสอบข้อใดไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ ไม่สามารถวัดหรือจำแนกได้ ข้อสอบข้อนั้นจะไม่นำมาคิดคะแนน ดังนั้นคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนสอบที่ได้มาจากข้อสอบที่มีคุณภาพทุกข้อ 2 คะแนนผลการสอบจะแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐานรายวิชา

กำหนดการสอบประมวลความรู้ ช่วงชั้นที่ 4ประจำปีการศึกษา 2548 

สอบ O-NET วันเสาร์ที่25 - วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 
สอบ A-NET วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ - วันพุธที่ 1 มีนาคม 2549"


แต่ผลการสอบก็ไม่เป็นที่ลงตัวเสียที แม้แต่ในวันนี้ (16 พฤษภาคม 2549) นักเรียนยังลุ้นระทึกกันว่าจะสามารถประกาศผล admission ได้ภายในวันนี้หรือไม่ นับว่าเป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีปัญหามากที่สุดเท่าที่เคยจัดสอบมา

No comments: