Monday, February 20, 2006

ปลาดุกลำพัน

หลายเดือนมาแล้ว ได้ข่าวว่ามีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับปลาดุกลำพัน และได้เห็นหน้าตาปลาดุกที่บ้านอาจารย์ผู้วิจัยท่านหนึ่ง คล้ายๆปลาดุกทั่วไปแต่ลำตัวยาวกว่ามาก เวลาว่ายน้ำจะพริ้วไปทั้งตัว ไม่ได้สังเกตสีแต่มีคนบอกว่าสีคล้ายปลาดุกอื่นแต่จะมีลายเหมือนคนใส่เสื้อลายสก็อต แถมชื่อปลาดุกจริงๆคือปลาดุกรำพันแต่เวลาไปแจ้งชื่อที่อำเภอ พนักงานทะเบียนเขียนผิด เลยได้ชื่อว่าปลาดุกลำพันมาจนบัดนี้ จริงเท็จอยู่กับผู้เล่า ซึ่งเข้าใจว่าเท็จเสียมากกว่า

เมื่อวานนี้มีพี่ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้นั่งคุยกับอาจารย์คู่นี้ถึงแหล่งที่ไปหาปลา เพราะต้องไปหามาจากหลายที่ บางครั้งไปถึงนราธิวาส พี่คนนี้ได้แนะนำว่าที่พื้นที่พรุกง แถบอำเภอสิชลก็มี บ่ายวานนี้ได้ไปหาเพื่อนอีกคนที่อยู่ในสิชลให้ช่วยหาปลาไว้ให้ โดยต้องเป็นปลาที่จับด้วยลอบเพราะถ้าตกเบ็ดมาปลาดุกลำพันจะกัดสายเบ็ดขาดแล้วเบ็ดจะค้างอยู่ข้างใน เอามาเลี้ยงได้ไม่กี่วันจะตายทั้งหมด

ลองไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับปลกดุกชนิดนี้พบว่ามี 2 ชนิดคือ "ปลาดุกลำพันภูเขา" และ"ปลาดุกลำพัน"

"ปลาดุกลำพัน’ สัตว์น้ำหายากในเขตป่าพรุของไทยปัจจุบัน ปลาดุกลำพันจัดเป็นปลาที่หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในประเทศไทยมีรายงานพบ 2 สปีชีส์ คือ Prophagorus cataractus และ P. nieuhofii ซึ่งชนิดหลังจะพบมากที่สุดแหล่งอาศัยของปลาดุกชนิดนี้อยู่ในพื้นที่ภาคใต้บริเวณป่าพรุ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สงขลา ปลาดุกลำพันนอกจากจะพบในธรรมชาติซึ่งนับวันค่อนข้างจะหายากแล้วนั้น ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้สามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกชนิดนี้ได้โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงปลาในบ่อและมีศักยภาพเป็นปลาเศรษฐกิจได้ อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกชนิดนี้ได้โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้สามารถเพาะเลี้ยงปลาในบ่อและมีศักยภาพเป็นปลาเศรษฐกิจได้ อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีผสมเทียมเช่นเดียวกับปลาดุกอุยได้ (เดลินิวส์ เสาร์ที่ 26 กรกฎาคม 2546 หน้า 30)"

และสามารถพบได้ในที่หลายแห่ง เช่น ทะเลน้อย อุทยานแห่งชาติเขาลำปี อุทนายแห่งชาติเขาสก

"ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีลักษณะค่อนข้างกลมมีอาณาเขตผืนน้ำประมาณ 30 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 20,000 ไร่ มีชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นป่าพรุเสม็ดขนาดใหญ่ มีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร ต้นน้ำของทะเลน้อยมาจากเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2,126 มิลลิเมตร ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ สำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 10 ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา นากใหญ่ ขนเรียบ นอกจากนี้ยังพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 8 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานอีก 25 ชนิด ซึ่งรวมถึงเต่ากระอาน ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย พันธุ์ปลา ที่พบอย่างน้อย 45 ชนิด และในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลากะทิ ปลาดุกลำพัน ปลาฝักพร้า ปลาตะลุมพุก และชนิดเด่นที่พบคือ ปลาตุม ปลากะแห เป็นต้น " http://www.aksorn.com/event/event_detail.asp?id=69 ทะเลน้อย

http://arcbc.defined.net/cgi-bin/oepp.exe/html?SID=1128690449&name=???????????????????&na=117&html=wetland/wetlist1.html เขาสก


"ปลามัด ทางตะวันออกเรียกว่า ปลาดุกลำพัน Clarias nieuhofi ในไทยพบภาคตะวันออกและภาคใต้ "http://www.siamensis.org/webboard/Webanswer.asp?id=1761

มีข้อมูลจากทางกรมประมงเกี่ยวกับปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ดังนี้

นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง เผยว่า จากการศึกษาของนักวิชาการกรมประมง เกี่ยวกับพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นของไทยในปัจจุบัน ระบุว่า พันธุ์สัตว์น้ำที่สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วมี 3 ชนิด คือ ปลาหางไหม้ ปลาหวีเกศ และปลาเสือตอนอกจากนั้น ยังมีปลาไทยถึง 29 ชนิดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และอีกกว่า 156 ชนิดที่ถูกคุกคาม สาเหตุที่ทำให้พันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นของไทยสูญพันธุ์นั้น เนื่องจากการทำประมงเกินขนาด และการจับปลาในฤดูผสมพันธุ์ ฤดูวางไข่รวมถึงการรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อนำมาจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยเริ่มเสื่อมโทรม และสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สัตว์น้ำไทยที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ปลาตะพัด ปลาตองลาย ปลากระโห้ ปลาทรงเครื่อง ปลาหมู อารีย์ ปลาบึก ปลาเทพา และปลากะรังหน้างอน เป็นต้น ส่วนปลาที่อยู่ในสถานะถูกคุกคาม ได้แก่ กระเบนราหูน้ำจืด ปลาซิวข้างขวาน ปลายี่สกปลานวลจันทร์ ปลาดุกด้าน ปลาดุกลำพัน ปลาจีด ปลากระทิงไฟ ปลากะรังหางตัด และม้าน้ำขณะ นายวัฒนะ ลีลาภัทร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กล่าวว่า แนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นไทยที่สถาบันฯ ได้ดำเนินการในขณะนี้ คือ การจัดทำโครงการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ และข้อมูลพันธุกรรมของสัตว์น้ำ โดยจัดตั้งเป็น “ธนาคารพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง” ใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์โดยวิธีแช่แข็ง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ไว้ได้นานหลายปี ทั้งนี้สถาบันฯ ได้ประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาจากสัตว์บก ด้วยการวิจัยและพัฒนาการเก็บรักษาน้ำเชื้อ โดยวิธีแช่แข็ง (Spermetozoa cryopreservation) ในสัตว์น้ำ ที่มาจากการเพาะเลี้ยง และจากธรรมชาติปัจจุบันสถาบันฯ มีเชื้อพันธุ์ที่เก็บแช่แข็งไว้รวมทั้งสิ้น 9 ชนิด 26 สายพันธุ์ และยังมีโครงการวิจัยในปลาบึกและปลายี่สกในปี 2548 มีแผนการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำรวม 100 ล้านตัว
โดย : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 22/06/2005

ดูแล้วก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เป็นปลาที่ใกล้สูญพันธ์ ถ้ามีการดูแลและส่งเสริมการเพาะพันธุ์ สัตว์อีกชนิดหนึ่งในโลกก็จะยังมีชื่อให้เราได้รู้จักต่อไป





No comments: