เวลาอ่านหนังสือที่พูดถึงการเล่าเรียนวิชาการของกษัตรย์จะได้ยินว่าต้องเรียนศิลศาสตร์ 18 ประการ ตัวเองสงสัยเสมอว่าเขาเรียนอะไรกัน มีอะไรที่คนสมัยนี้เรียนที่เหมือนกับสมัยก่อน ลองไปค้นดูที่ต่างๆพบว่ามีการพูดถึงในหลายๆตำรา ไม่รู้ว่าจะเชื่อตำราไหนดี อย่างเช่น
ในตำราหนึ่งกล่าวไว้ว่า ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ
1. ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ
2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง
3. นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า
5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี
6. นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ
8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว
9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
10.โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
11.เวชศาสตร์ วิชาแพทย์
12.เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
13.สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
14.โยคศาสตร์ วิชาช่างกล
15.ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
16.มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
17.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์
18.ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์
จาก http://www.baanjomyut.com/library/great_teacher/index.html
แต่ถ้าจากที่แห่งหนึ่ง ข้อมูลจะเป็นเรียนศิลปวิทยา
เมื่อพระราชกุมารเจริญวัย ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการจาก สำนักครูวิศวามิตร วิชาที่ทรงศึกษาคือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันประกอบด้วย การปกครอง การดูลักษณะคนและพื้นที่ การดูดวงดาว การใช้อาวุธต่างๆในการรบ ภาษาและกวีนิพนธ์ อันเป็นศิลปะทางโลกสำหรับผู้ที่พร้อมจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ รวมทั้งไตรเพทและเวทางคศาสตร์
ไตรเพท ได้แก่ อิรุพเพทหรือฤคเวท ว่าด้วยการสร้างโลก ยชุรเพท หรือยชุรเวท ว่าด้วยบทสรรเสริญ และบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย สามเทพ หรือ สามเวท ว่าด้วยบทสวดในพิธีบวงสรวงเทพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่รวบรวมมาจากคัมภีร์ฤคเวท และยังมีเวทที่ 4 คือ อาถัพพนเพท หรือ อาถรรพเวท ว่าด้วยการใช้มนต์และการปลุกเสกในพิธีต่างๆ
เวทางคศาสตร์ คือคำอธิบายพระเวทต่างๆ เกี่ยวข้องกับการกล่าวสรรเสริญพระเจ้า การประกอบพิธีกรรม เป็นความรู้ทางธรรมสำหรับผู้ที่จะเป็นนักบวช
ศิลปศาสตร์ 18 ประการ
1. ไตรเพทศาสตร์ วิชา ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท ดังกล่าวมาแล้ว
2. สรีรศาสตร์ วิชาพิจารณาลักษณะส่วนต่างๆของร่างกาย
3. สังขยาศาสตร์ วิชาคำนวณ
4. สมาธิศาสตร์ วิชาทำจิตให้แน่วแน่
5. นิติศาสตร์ วิชาเกี่ยวกับกฎหมาย
6. วิเสสิกศาสตร์ วิชาแยกประเภทคนและสิ่งของ
7. โชติยศาสตร์ วิชาทำนายเหตุการณ์ทั่วไป
8. คันธัพพศาสตร์ วิชาฟ้อนรำและดนตรี
9. ติกิจฉศาสตร์ วิชาแพทย์
10. ปุรณศาสตร์ วิชาโบราณคดี
11. ศาสนศาสตร์ วิชาการศาสนา
12. โหราศาสตร์ วิชาเกี่ยวกับการทำนาย
13. มายาศาสตร์ วิชากล
14. เหตุศาสตร์ วิชาค้นหาเหตุ
15. วันตุศาสตร์ วิชาคิด
16. ยุทธศาสตร์ วิชาการรบ
17. ฉันทศาสตร์ วิชาแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
18. ลักษณะศาสตร์ วิชาดูลักษณะคนจาก http://203.170.173.156/deformed/buddish/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/data/2/2.htm
และจากอีกแห่งหนึ่ง
1. ความรู้ทั่วไป = ความรู้รอบตัว
2. รู้กฎธรรมเนียม = คือข้อกำหนดระเบียบปฏิบัติตามธรรมดาของมนุษย์
3. คณิตศาสตร์ = การคำนวณ
4. ยันตการ = การใช้เครื่องยนต์
5. นิติศาสตร์ = ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
6. โหราศาสตร์ = รู้การพยากรณ์
7. นาฎดุริยางคศิลป์ = ความรู้เรื่องการร้องรำทำเพลง
8. พลศึกษา = ความรู้เกี่ยวกับพลศึกษา
9. การยิงธนู
10. ประวัติศาสตร์ = ความรู้เรื่องโบราณ
11. แพทย์ศาสตร์ = ความรู้ทางแพทย์
12. อิติหาส = วิชาที่ว่าด้วยวรรณคดี นิยาย
13. วิชาดาราศาสตร์ = วิชาที่เกี่ยวกับดวงดาว
14. วิชาพิชัยสงคราม = วิชายุทธศาสตร์ และ ยุทธศิลป์
15. วิชานิพนธ์ = การประพันธ์
16. วาทศิลป์ = วิชาการพูด
17. เวทมนตร์ = วิชาเสกเป่าด้วยคาถา
18. ความรู้ทางภาษาศาสตร์
http://202.183.216.176/thai/sundorn/knowledge04.html เด็กไทยออนไลน์
ในขณะที่เทียบกับการเรียนการสอนสมัยนี้ สิ่งที่เราต้องเรียนดูจะเปลี่ยนไปตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นมาในแต่ละยุคสมัย แต่ไม่แน่ใจริงๆว่าระบบการเรียนการสอนของเราสอนให้คนรุ่นใหม่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงใด
No comments:
Post a Comment