Thursday, April 10, 2014

Crash of the Century

ช่วงนี้ติดตามข่าว MH 370 อยู่เป็นเดือน  น่าประหลาดใจมากที่อยู่ๆเครื่องบินทั้งลำหายไปโดยไม่มีร่องรอยได้  แถมในเมืองไทยมีเรื่องนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกกระโดร่มแล้วร่มไม่กาง เสียชีวิตไปสองคนในการฝึกบินครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคม ช่วงนี้ก็จะสนใจเรื่องอุบัติเหตุของเครื่องบิน เข้าไปค้น Youtube ดูเรื่อง 9/11 แล้วลิงก์ก็ต่อๆไปจนได้ดูเรื่องนี้ค่ะ "Crash of the Century"  http://www.youtube.com/watch?v=Na_ciq5h4nQ เป็นเหตุการณ์เครื่องบิน KLM และ PAN AM ชนกันกลางรันเวย์ของสนามบิน Tenerife airport ที่หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม  ค.ศ. 1977



ที่เรียกว่า Crash of the Century เป็นเพราะมีคนเสียชีวิตมากถึง 583 คน เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน ตามไปดู list ได้ที่นี่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_aircraft_accidents_and_incidents_resulting_in_at_least_50_fatalities

มีคำถามว่าการชนกันครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร  เครื่องบินสองลำชนกันบนรันเวย์เดียวกันในขณะที่กำลังจะ take off ทำไมเครื่องที่จะบินขึ้นไม่รอให้รันเวย์ว่าง  ทำไมเครื่องที่ค้างบนรันเวย์ไม่หลบออกไป? คำตอบของเหตุการณ์นี้ไิด้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจากสามประเทศที่เกี่ยวข้องคือ เนเธอร์แลนด์ อเมริกา และสเปน รวมถึงผู้เชียวชาญจากสองสายการบินนั้นด้วย พบว่าเกิดจากหลายๆเหตุการณ์ที่ประจวบเหมาะเกิดขึ้นพร้อมกัน

ลำดับเหตุการณ์ เริ่มจาก
1. มีเหตุการณ์วางระเบิดที่สนามบิน Gran Canaria Airport อันเป็นสนามบินที่เครื่องบินทั้งสองลำนี้จะต้องไปลงจอด สนามบินต้องปิดทำให้เครื่องบินสองลำนี้และอีกมากต้องไปลงจอดที่สนามบิน Los Rodeos Airport (Tenerife North Airport) ซึ่งเป็นสนามบินเล็ก มี runway เดียว เครื่องบินจำนวนมากต้องลงจอดเรียงกัน แล้วรอจนกว่าสนามบินที่ Gran Canaria Airport เปิดจึงจะบินไปที่จุดหมายได้



2. หมอกเริ่มก่อตัว ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี และหมอกจัดขึ้นเรื่อยๆ  

3. เมื่อสนามบิน Gran Canaria Airport เปิดขึ้นอีกครั้ง KLM Flight 4805 และ Pan Am Flight 1736 ได้รับอนุญาตให้เตรียมบิน  KLM เคลื่อนไปบนรันเวย์ก่อน โดย PAN AM เคลื่อนที่ตามบนรันเวย์เดียวกัน ตามคำแนะนำของหอควบคุมการบิน เครื่อง KLM เมื่อไปจนสุดรันเวย์จะต้องหมุนกลับหลังหันเพื่อรอการ take off ในขณะที่ PAN AM จะต้องออกจากรันเวย์นั้นโดยขับหลบออกไปที่ทางแยกที่ 3 เพื่อไปวิ่งบนทางขนาน โดยได้รับคำแนะนำว่า "The third one, sir; one, two, three; third, third one"  จากสภาพอากาศที่หมอกลงจัด เครื่องบินทั้งสองลำมองไม่เห็นกัน หอควบคุมการบินมองไม่เห็นเครื่องบินทั้งสอง สนามบินไม่มีเรดาร์ที่จะทำให้หอควบคุมการบินมองเห็นตำแหน่งของเครื่องบิน  การติดต่อทางวิทยุจึงเป็นการติดต่อเดียวที่ทำได้



4. สภาพรันเวย์จริง ทางแยกที่ 4 (C4) เป็นทางออกเดียวที่มีเส้นทางเฉียงออกประมาณ 45 องศา ในขณะที่ทางแยกที่ 1 เป็นทางตรงหักออก 90 องศา และทางแยกที่ 2 และ 3 เป็นทางเฉียงออกสำหรับเครื่องที่หันหัวจากอีกฝั่งเลี้ยวออกซึ่งจะเป็นทางเฉียงออกจากฝั่งตรงข้ามแต่เป็นประมาณ 148 องศาจากทิศทางที่ PAN AM กำลังขับไปจึงไม่สามารถขับเข้าไปได้จนกว่าจะถึงทางออกที่ 4   เครื่องบิน PAN AM ไม่สามารถมองเห็นเส้นทางบนรันเวย์ได้ เพราะหมอกลงจัด และจากการติดต่อกับหอควบคุมการบิน ได้คำแนะนำว่าให้ออกที่ทางออกที่ 3 (Third taxiway) 

5. เครื่องบิน KLM ไปสุดรันเวย์ กลับลำ เตรียมพร้อม take off และได้ติดต่อหอควบคุมการบินเพื่อให้ clear runway  เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร กัปตันของ KLM นำเครื่อง Take off  เพราะเข้าใจว่ารันเวย์เคลียร์แล้ว ในขณะที่เครื่อง PAN AM ยังไม่ได้เลี้ยวออกจากรันเวย์ เครื่อง KLM พยายามบินขึ้นแต่ไม่พ้นจึงชนเข้ากับเครื่อง PAN AM บริเวณใกล้ทางแยกที่ 4





6. ผู้โดยสาร 234 คน กัปตันและลูกเรืออีก 14 คนของ KLM เสียชัวิตทั้งหมด ผู้โดยสาร 326 คน(จาก 380 คน) ลูกเรืออีก 9 คน(จาก 16 คน)ของ Pan Am เสียชีวิต รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 583 คน มีผู้รอดชีวิตจากเครื่อง PAN AM  61คน รวมถึงกัปตันและวิศวกรประจำเครื่อง

สาเหตุจาการสอบสวนระบุว่าเกิดจาก  "misinterpretations and false assumptions"
"Captain Veldhuyzen van Zanten นำเครื่อง takeoff โดยไม่ได้รับ takeoff clearance ซึ่งเหตุผลน่าจะเป็นเพราะต้องการจะบินขึ้นให้เร็วที่สุดเพื่อจะให้ทำตามกฏของ KLM's duty-time regulations และก่อนที่สภาพอากาศจะแย่ลงไปกว่านี้
ปัจจัยอื่นๆได้แก่
  • หมอกลงจัดทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี หอควบคุมและเครื่องบินทั้งสองลำมองไม่เห็นซึ่งกันและกัน
  • การรับส่งวิทยุเกิดสัญญาณรบกวน ไม่ได้ยินข้อความที่ติดต่อกันครบถ้วน
ปัจจัยอื่นที่นำมาพิจารณาแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก ได้แก่ 
  • การใช้คำที่กำกวมไม่เป็นมาตรฐานโดย ผู้ช่วยนักบิน  KLM  ("We're at take off") และการตอบจาก Tenerife control tower ("OK").
  • เครื่อง Pan Am aircraft ไม่ได้ออกที่ทางแยกที่ 3 ( C-3)
  • สนามบินถูกบีบให้รองรับเครื่องบินจำนวนมาก ทำให้เกิด  disruption จากการใช้งานปกติของ taxiways.[36]"

แปลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Tenerife_airport_disaster 

ดูเรื่องนี้จบก็ได้ดูต่ออีกหลายกรณีเลยค่ะ  หลายเคสเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อทีเดียว บันทึกเรื่องที่ชอบทั้งวิธีแก้ปัญหาและวิธีการในการตรวจสอบอุบัติเหตุไว้ข้างล่างนี้นะคะ

==========================================================
June 12, 1972 American Airlines Flight 96 บินจากสนามบินดีทรอยท์ไปที่บัฟฟาโล เกิดประตูช่องเก็บสินค้าหลุดเนื่องจากการออกแบบไม่ดี ประตูสามารถปิดได้โดยที่ไม่ได้ล็อคจริง จึงทำให้เกิดช่องโหว่บริเวณท้ายเครื่อง ข้าวของถูกดูดออกไปทางช่องโหว่ กัปตันสามารถนำเครื่องลงที่ดีทรอยท์ได้อย่างปลอดภัย   https://www.youtube.com/watch?v=6ZU9OHKK2Og 
==============================================================
29 ธันวาคม 1972, Eastern Air Lines Flight 401 บินจาก NY ไปที่ Miami International Airport เครื่องบินตกลงในอุทยาน Everglades ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ สาเหตุเกิดจากการที่ไฟสัญญาณบอกสถานะการล็อคล้อเครื่องบินเพื่อการลงจอดไม่ขึ้น ในระหว่างที่แก้ปัญหา ระบบ Autopilot ที่เซ็ตความสูงไว้ที่ 2000 ฟิต ถูกปิดลงโดยไม่ตั้งใจ ทำให้เครื่องบินลดระดับลงโดยไม่มีใครสังเกตและตกลงในที่สุด มีผู้เสียชีวิต 101 คน และรอดชีวิต 75 คน  หลังจากนั้นมีข่าวผู้เห็นผู้ตายจากเหตุการณ์มาปรากฎตัวและเป็นที่สนใจจนมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา  

======================================================================


3 March 1974  Turkish Airlines Flight 981  บินจาก Istanbul Yesilköy Airport ไป London Heathrow Airport โดยแวะที่  Orly Airport ปารีส เกิดปัญหาลักษณะเดียวกับ American Airlines Flight 96 คือประตูช่องเก็บสินค้าไม่ล็อคตามที่ควร เป็นปัญหาของ McDonnell Douglas DC-10 ที่ไม่ได้แก้ไข เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า Ermenonville air disaster ตามชื่อป่าที่เครื่องบินตก ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิต จำนวน 346 คน

=======================================================================

23 กรกฎาคม 1983 "Gimli Glider" อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นเที่ยวบินของ Air Canada Flight 143 บินจาก Montreal ไป Edmonton เกิดน้ำมันหมดระหว่างทางที่ความสูง 41,000 feet (12,000 m) สาเหตุเนื่องจากการคำนวณปริมาณน้ำมันผิดพลาดเพราะความสับสนในการใช้หน่วยปริมาณน้ำมันเป็น metric แทนหน่วย imperial ทำให้มีน้ำมันน้อยกว่าที่ควรไปครึ่งหนึ่ง  แต่เนื่องจากนักบินมีความชำนาญในการเล่นเครื่องร่อน จึงได้อาศัยเทคนิคการร่อนลงจอดที่ Gimli Industrial Park Airport ที่ Gimli, Manitoba  เที่ยวบินนี้จึงได้ชื่อเล่นว่า Gimli Glider
  http://www.youtube.com/watch?v=8w5LqlTwbhs

==========================================================

21 ธันวาคม 1988  "Lockerbie Disaster" Pan Am flight 103 บินจาก London ไป New York และถูกวางระเบิด เครื่องตกลงที่ Lockerbie มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 270 คน (รวม 11 คนที่เป็นอยู่ในหมู่บ้าน)

==========================================================
3 September 1989  Varig Flight 254 was a Boeing 737-241 เครื่องบินถูกตั้งทิศทางผิดเพราะตั้งองศาการบินเป็น 270 องศาทั้งๆที่ทิศทางจริงคือ 27 องศา 
https://www.youtube.com/watch?v=zOnafLpIPyk

=========================================================
10 June 1990  British Airways Flight 5390 อุบัติเหตุครั้งนี้ประหลาดมากๆ เพราะเป็นกรณีที่หน้าต่างในคอคพิทหลุดปลิวออกไปและตัวกัปตันถูกดึงออกไปติดอยู่ด้านข้างเครื่องบิน ดีที่มี belt รัดไว้และมีลูกเรือมาช่วยดึงตัวไว้ co-pilot เป็นผู้นำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเซาธ์แฮมตันโดยไม่มีผู้เสียชีวิต แต่การขับเครื่องบินในสภาพที่หน้าต่างหลุด กระจกมัว ลมตีเข้ามาด้วยความเร็วสูงที่ความสูง 17,400 ฟิตเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา    เครื่องบินบินจาก Birmingham Airport ประเทศอังกฤษไปที่สนามบิน Málaga Airport ในสเปน สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ กัปตัน Tim Lancaster ไปอยู่นอกเครื่องบินที่มีกระแสลม 345 mph wind ที่อุณหภูมิ -17 C / 1.4 F แต่เมื่อได้รับการช่วยเหลือ ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ และได้กลับมาบินอีกครั้งในห้าเดือนถัดมา

https://www.youtube.com/watch?v=BXEKM4C3beg

================================================
23 มีนาคม 1994, Aeroflot Flight 593 "kid in the cockpit"กัปตันให้ลูกสาวและลูกชายเข้าไปลองคอนโทรลเครื่อง เด็กผู้ชายทำให้เครื่องออโต้ไพล็อตหยุดทำงาน โดยมีตัวเตือนเพียงแต่สัญญาณไฟที่ไม่ได้มีใครสนใจ เพราะชิยกับระบบเสียงเตือนเหมือนเครื่องบินรุ่นเก่าที่คุ้นเคย  เคสนี้ส่วนตัวถือว่ากัปตันจาดความรับผิดชอบที่สุด เคสนี้เครื่องตกที่ไซบีเรีย มีผู้เสียชีวิต 75 คน http://www.youtube.com/watch?v=U1vrQgodVDU

==========================================================

2 กรกฎาคม 1994  USAirs  1016 บินระหว่าง  Columbia, South Carolina, and Charlotte, North Carolina เครื่องบินพบว่ามีกลุ่มฝนก่อนถึงสนามบิน แต่จากการติดต่อ ATC ไม่ได้รับคำเตือนว่าเป็นฝนตกหนักจึงได้รับคำแนะนำให้บินเลี่ยงกลุ่มเมฆ แล้วค่อยขับเอียงเข้ามาที่เส้นทางรันเวย์เมื่อใกล้ถึงจุด landing แต่เมื่อขับมาถึงจริงปรากฏว่าฝนตกหนักต้องใช้ที่ปัดน้ำฝน  นักบินจึงยกเลิกการ landing แล้วจะเชิดหัวเพื่อบินขึ้น  แต่เวลานั้นเกิดไมโครเบิร์สที่สนามบิน  ตามหลักต้องเร่งเครื่องให้สุดและยกหัวขึ้น ซึ่งนักบินเองก็ได้คุยกันตั้งแต่ก่อน landing แล้ว  แต่เมื่อถึงเวลาจริงนักบินกลับกดหัวเครื่องบินลง จนในที่สุดเครื่องก็ตกลงบริเวณห่างรัยเวย์ไป 800 เมตร ใกล้บ้านคน NTSB ได้มาตรวจและในที่สุดพบว่า การบอกสภาพอากาศจาก จนท.ผู้ดูแลสภาพอากาศไปยัง ATC มีช่วงเวลา 2 นาที ซึ่ง 2 นาทีนั้นเป็นช่วงที่เครื่องบินบินลงพอดีจึงไม่ทราบสถานการณ์ฝนตกว่ารุนแรงมาก และเมื่อยกเลิกการบินนักบินเกิดอาการหลงสภาพการบิน (spatial disorientation) จึงทำการกดหัวเครื่องบินลง ทั้งๆที่ควรยกหัวขึ้น โดยเมื่อได้ซักถามในภายหลังทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินไม่สามารถจดจำได้ว่าในช่วงนั้นทำอะไรลงไป  สรุปว่ามี 4 ปัจจัยคือ 1. นักบินตัดสินใจจะ landing ในสภาพอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไมโครเบิร์ส 2. มีการแจ้งเตือน wind shear ที่ล่าช้าทำให้นักบินขาดการตระหนักรู้ในสถานการณ์ 3. นักบินใช้ท่าทางบินที่ไม่เหมาะสมในขณะที่บินในกระแสลมกดลง และ 4. ข่าวอากาศที่ล่าช้าทำให้ จนท ATC ที่สนามบินไม่ได้แจ้งสภาพอากาศรุนแรงที่สนามบิน  ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการปรับปรุงวิธีการส่งข้อมูลสภาพอากาศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เรดาร์สมัยใหม่แจ้งเตือนสภาพอากาศให้เห็นชัดเจนจากหน้าจอ ATC สามารถคำนวณไมโครเบิร์สและ Wind shear ได้แม่นยำ
เที่ยวบินนี้มีคนบนเครื่อง 57 คน เป็นลูกเรือ 5 คน  มีผู้เสียชีวิต 37 คน รอดชีวิต 20 คน รวมถึงนักบินทั้ง 2 คน เนื่องจากเครื่องบินส่วนหัวแยกชิ้นส่วนออกไปตอนที่เครื่องตก

==========================================================

 23 พฤศจิกายน  1996, Ethiopian Airlines Flight 961 กรณีนี้เป็น "Ocean Landing" บินจาก Addis Ababa to Nairobi on a Bombay–Addis Ababa–Nairobi–Brazzaville–Lagos–Abidjan และถูกไฮแจ็คจากผู้โดยสารสามคนที่ต้องการให้บินไปที่ออสเตรเลีย แต่เนื่องจากเครื่องบินไม่ได้เติมน้ำมันสำหรับเส้นทางที่ไกลกว่าเส้นทางปกติ เครื่องบินจึงตกลงกลางมหาสมุทรอินเดียใกล้ๆเกาะ Comoros มีผู้เสียชีวิต 125 คน รอดชีวิต 50 คน  http://www.youtube.com/watch?v=JmKI1wj353E

==========================================================
10 มกราคม 2000, Crossair flight 498 บินจากซูริคไปเดรสเดน มีผู้โดยสาร 7 คน พนักงาน 3 คน เครื่องบินตกลงกระแทกพื้นอบ่างแรงจนไฟลุกท่วมหลังจากบินได้ไม่ถึงสองนาที

ครั้งนี้พบว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดในการแปล ตั้งแต่อาจแปลผลหน้าจอตรงข้ามสิ่งที่เป็น เพราะนักบินเป็นชาวรัสเซีย ระบบการฝึกจะใช้หน้าจอ artificial horizon ที่ background อยู่นิ่งๆแต่กราฟิกการบังคับคันบังคับระดับเป็นตัวเลื่อนซ้ายขวา ในขณะที่หน้าจออเมริกัน จะเห็นว่า background เป็นตัวเปลี่ยนทิศทาง แต่คันบังคับจะอยู่นิ่งๆ  ในการอ่านหน้าจอเมื่อต้องการสั่งให้เลี้ยวซ้าย สำหรับนักบินรัสเซีย(ที่อาจจะใช้ยาระงับประสาทที่พบในกระเป๋าเดินทาง) อาจทำการเลี้ยวขวา แล้วเมื่อมองหน้าจอ(เครื่องบินอเมริกัน)เห็นในลักษณะคล้ายกันกับหน้าจอเลี้ยวซ้าย(เครื่องบินรัสเซีย)ได้  จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองทำการเลี้ยวซ้ายตามคำแนะนำของหอบังคับการบิน  แต่จริงๆแล้วขณะนั้นเครื่องบินกลับเลี้ยวขวาอย่างมากจนเสียการบังคับและตกลงมา

http://www.youtube.com/watch?v=lyawGVCesA0

==========================================================
24 สิงหาคม 2001 เกิดกรณี Fly on Empty เครื่องบินบินโดยน้ำมันหมดถังเมื่ออยู่กลางอากาศและกลางมหาสมุทรแอตแลนติก กรณีนี้เกิดจากเกิดน้ำมันรั่วเนื่องจากมีการเช็คเครื่องบินเพื่อบำรุงรักษา 5 วันก่อนบินและได้ใส่อุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามแบบเข้าไปในเครื่อง ทำให้เกิดการรั่วของน้ำมัน เที่ยวบินนี้คือ Air Transat Flight 236 บินจากโตรอรโตไปลิสบอน เป็นเครื่อง Airbus A330-243  Captain Robert Piché, ซึ่งก็เป็นผู้มีประสบการณ์ในการร่อนเครื่องบิน ได้นำเครื่องลงที่สนามบินเกาะอะซอเรส คนบนเครื่องทั้งหมด 306 คน (ผู้โดยสาร 293 คนและลูกเรือ 13 คน)ปลอดภัย  กรณีนี้คล้ายกับ "Gimli Glider" เมื่อปี 1983 มาก

==========================================================
9 สิงหาคม 2007 Air Moorea Flight 1121 เครื่องตกระหว่างเดินทางไฟล์สั้นๆแค่ 7 นาทีจากสนามบิน Moorea ไปที่ Tahiti's Faa'a International Airport ผู้โดยสาร 19 คนและนักบิน 1 คน เสียชีวิตทั้งหมด ประทับใจกับการทำงานของทีมสอบสวนมากว่าเขาสามารถหาสาเหตุการตกของเครื่องบินได้อย่างไร โดยเฉพาะเคสนี้มีหลายอย่างประกอบกัน ทั้งลวดสลิงถูกเสียดสี ลวดสลิงเป็น stainless steel ซึ่งทนการกัดกร่อนแต่ไม่ทนต่อแรงเสียดสี(เครื่องลำอื่นใช้ลวดที่เป็นเหล็กคาร์บอน) แรงเป่าจากเครื่องบินจัมโบ้เจ็ตตอนที่เครื่องจอดที่สนามบินโดยไม่มี jet blast barrier จนเป็นเหตุให้ลวดที่ดึงแพนหางขาดตอนที่ขึ้นไปบนอากาศแล้ว  ส่งผลให้นักบินบังคับเครื่องไม่ได้ เครื่องจึงตกลงมาก

เที่ยวบินรูทนี้ก็น่าสนใจเพราะเป็นเที่ยวบินที่สั้นมากๆเพียงแค่ 7 นาทีต่อเที่ยวบิน วันหนึ่งมีประมาณ 40-50 เที่ยวบิน

==========================================================

15 มกราคม  2009 US Airways Flight 1549  กรณีนี้เรียกกันว่า Miracle on Hudson river  เพราะเครื่องบินบินจากสนามบินลากวาเดียในนิวยอร์ก เพิ่งบินขึ้นไปได้ไม่นาน เครื่องยนตร์เสียหายเนื่องจากชนกับนกนักบินต้องนำเครื่องลงฉุกเฉินในแม่น้ำฮัดสัน  เคสนี้ผู้โดยสารรอดชีวิตทุกคน 155 คน กัปตัน Capt. Chesley B. "Sully" Sullenberger ได้รับการยกย่องอย่างมาก  ในกรณีของ MH370 ก็เห็นเขาเชิญกัปตันคนนี้มาให้ความเห็นด้วย
==========================================================
1 มิถุนายน 2009  Air France  flight 447 บินจาก Rio De Janero จะไปที่ Paris มีปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด นักบินไม่สามารถอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านความเร็วได้ จึงบังคับเครื่องบินโดยไม่มีข้อมูล เครื่องบินต่ำลงมากจนไม่สามารถควบคุมได้ และเครื่องตกลงในที่สุด เสียชีวิตทั้งหมด 228 คน
==========================================================
4 November 2010 Qantas Flight 32 เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของเครื่องแบบ A380 โดยเครื่องมีปัญหา uncontained engine failure และขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินชางงี ที่สิงคโปร์ ปัญหาเกิดจาก turbine disc ในเครื่องยนต์เกิด disintegrated เครื่องบินเกิดความเสียหายในส่วน nacelle, wing, fuel system, landing gear, flight controls, the controls for engine No.1 และ undetected fire in the left inner wing fuel tank t
http://www.youtube.com/watch?v=mlky6jT_V1Y 


==========================================================

No comments: