Tuesday, April 15, 2014

A tetrad of lunar eclipses


http://www.space.com/25250-a-tetrad-of-lunar-eclipses-starts-in-april-video.html

วันนี้จะมาแจ้งว่าเป็นวันที่มีจันทรุปราคาเต็มดวงค่ะ แต่ไม่เห็นในเมืองไทยเพราะจะเกิดขึ้นช่วงกลางวันประมาณเที่ยงๆ

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นแบบ Tetrad คำว่า Tetrad หมายถึงการที่เกิดจันทรุปราคาแบบเต็มดวงสี่ครั้งซ้อน ต่อเนื่อง โดยครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก อีกสามครั้งจะเกิดขึ้นภายในสองปีนี้โดยไม่มีจันทรุปราคาแบบบางส่วน หรือแบบเงามัวมาคั่น เพราะปกติเรามีโอกาสเห็นดวงจันทร์โดนบังแค่บางส่วน โดยไม่โดนบังทั้งหมด แต่นี่เป็นดวงจันทร์ที่ถูกเต็มดวงติดต่อกันสี่ครั้ง ถึงใช้คำนี้ค่ะ

ปีนี้ทั้งปีจะเกิดอุปราคา 4 ครั้ง

1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)
2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)
3. จันทรุปราคาเต็มดวง 8 ตุลาคม 2557 (เห็นได้ในเมืองไทย แต่จะเป็นเวลาประมาณ 18.00 น.ช่วงที่ดวงจันทร์เริ่มขึ้นในเมืองไทย ต้องตั้งใจดูกันนิดนึงค่ะ  )
4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)

รายละเอียดอ่านในลิงก์นี้นะคะhttp://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2014eclipses.html

ถ้าจะตามดู Webcast ถ่ายทอดสดก็ดูที่ลิงก์นี้ค่ะ http://www.space.com/19195-night-sky-planets-asteroids-webcasts.html

ส่วนลิงก์นี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า Tetrad แนวตริสตศาสนา เพิ่งรู้เหมือนกันhttp://pattamarot.blogspot.com/2014/04/tetrad.html

และถ้าอยากรู้เรื่องแบบมีรายละเอียดจริงๆต้องไปลิงก์นี้ค่ะhttp://eclipse.gsfc.nasa.gov/OH/OH2014.html
===================================
จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557

อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในเวลากลางวันของวันอังคารที่ 15 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย จันทร์เพ็ญอยู่ด้านกลางคืนของโลก เราจึงไม่สามารถสังเกตได้ พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้คืออเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก บางส่วนทางด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่น ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว และจะเห็นดาวอังคารสุกสว่างอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 10 องศา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 15 เมษายน 2557

ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 11:53:37
เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 12:58:19
เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:06:46
กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 14:45:39
สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:24:35
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 16:33:03
ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 17:37:36
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 56 ใน 74 ครั้ง ของซารอสที่ 122 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1022-2338 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 9 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1707 นาน 1 ชั่วโมง 40.1 นาที

No comments: