Wednesday, April 30, 2014

ไปเที่ยววังน้ำเขียวกันเถอะ

ไม่กี่ปีมานี้ วังน้ำเขียวกลายเป็นแหล่งที่พักผ่อนสุดฮิตไปอย่างไม่น่าเชื่อ  และไม่น่าเชื่อกว่านั้นที่ไม่เคยได้ไปเลย เป็นไปได้ยังไง

สัปดาห์ที่แล้วมีการดูงานที่กนุงเทพและที่โคราช ถือโอกาสค้างคืนที่เดอบัววัลเลย์ วังน้ำเขียว ที่พักสงบสบายสมกับที่ฮิตกัน

เช้าขึ้นมาได้ไปเที่ยวผาชมตะวัน ผาเก็บตะวัน วังน้ำเขียวฟาร์ม นี่ถ้ามีเวลามากกว่านี้คงได้เที่ยวมากกว่านี้ แอบเสียดาย











Saturday, April 19, 2014

บทเรียนของธนาคารออมสิน

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 ได้เกิดปรากฏการณ์ประชาชนทั่วประเทศทุกจังหวัดแห่กันไปถอนเงินจากธนาคารออมสิน โดยมียอดถอนเงินประมาณ 30,000 ล้านบาทในขณะที่มียอดเงินฝากประมาณ 10,000 ล้านบาท 
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 ยังคงมีการถอนเงินอย่างต่อเนื่องโดยในวันที่สองมียอดถอนเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 การถอนเงินยังดำเนินการต่อเป็นวันที่ 3

สาเหตุของเหตุการณ์นี้มาจากการที่ธนาคารออมสินได้อนุมัติเงินกู้ระหว่างธนาคารรัฐ (อินเตอร์แบงก์) ให้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และมีข่าวว่า ธ.ก.ส.จะนำไปใช้จ่ายชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว จำนวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ ธ.ก.ส.จะนำไปให้ชาวนากู้เงิน แต่การที่ธนาคารออมสินให้เงินธ.ก.ส. เหมือนกันเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลจ่ายเงินให้ชาวนาโดยวิธีการนำเงินของธนาคารไปให้ชาวนากู้แทนที่จะไปขายข้าวเพื่อนำเงินมาให้ชาวนาอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งธนาคารไม่ควรเข้าไปโอบอุ้มรัฐบาลที่โกงเงินจำนำข้าวของชาวนาในลักษณะนี้

การที่ธนาคารออมสินให้เงินกู้ไป มีสิทธิ์ที่จะไม่ได้เงินกลับมา ผู้ฝากเงินกับธนาคารส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นความเสี่ยงที่ธนาคารบริหารเงินผิดพลาด จึงรีบมาถอนเงิน ในขณะที่มีผู้ฝากจำนวนมากที่ไม่ได้มีเหตุผลเรื่องความเสี่ยงในการสูญหายของเงิน แต่มีความเห็นว่าธนาคารดูถูกลูกค้าโดยการบริหารงานในรูปแบบที่ประชาชนรับไม่ได้

หลังจากการถอนเงินจำนวนมหาศาลในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการธนาคารออมสินประชุมร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารออมสิน ได้ข้อสรุป 3 ข้อ คือ 

1.คณะกรรมการให้ยกเลิกการเปิดวงเงินกู้(เครดิตไลน์) ในการกู้ระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) จำนวน 2 หมื่นล้านบาทให้แก่ ธ.ก.ส. 
2. ธนาคารออมสินขอเรียกเงินกู้ที่ได้อนุมัติไปแล้วจำนวน5,000 ล้านบาท คืนจาก ธ.ก.ส. โดยเร็วที่สุด คาดว่า จะมีหนังสือถึง ธ.ก.ส. ในวันพรุ่งนี้ (19 ก.พ.) 
3. ธนาคารออมสิน ขอให้ ธ.ก.ส. ชี้แจงว่า การขอกู้ผ่านอินเตอร์แบงก์ในครั้งนี้ เป็นการกู้เสริมสภาพคล่องหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นเนื่องจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 57 ธ.ก.ส.ได้ทำหนังสือถึงธนาคารออมสินเพื่อขอกู้เงินเสริมสภาพคล่อง ซึ่งธนาคารมีหนังสือฉบับนั้นเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งมีการบันทึกการหารือทางโทรศัพท์ไว้ด้วย

ในวันที่ 18 ก.พ. หลังจากการชี้แจงคณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคาร วุฒิสภา นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เดินทางกลับไปยังธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่เรียกประชุมบอร์ดและพนักงานธนาคาร ทั้งนี้ แม้นายวรวิทย์จะชี้แจงถึงการปล่อยกู้แก่พนักงานแล้ว แต่พนักงานธนาคารออมสินต่างไม่ยอมรับเหตุผลและยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารและบอร์ด ในเมื่อสร้างความเสียหายให้แก่ธนาคาร ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ และไม่อยากให้คนภายนอกมองว่าเป็นธนาคารออมสินเป็นธนาคารเสื้อแดง




http://bit.ly/1ckLQAs
 http://bit.ly/1jzXadG

Friday, April 18, 2014

เดินป่า

กำลังพยายามทบทวนว่าตัวเองได้เคยเดินป่ากับเขาจริงๆสักกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีประสบการณ์อย่างไร
ุ่
ย้อยหลังไปไกลสุด ตอนเด็กๆ ช่วง ม.ต้น โรงเรียนพาไปเข้าค่ายเนตรนารีที่โรงเรียนบ้านพรรั้ง กลางคืนมีการออกไปเดินรอบค่ายมีด่านต่างๆ เช่นเดินข้ามน้ำ เดินบนสะพานเชือก กว่าจะกลับมาค่ายก็เหนื่อย แต่เข้าใจว่าไม่ได้อันตรายอะไร เขาคงเซฟไว้ประมาณหนึ่ง พอวันรุ่งขึ้นเป็นวันเดินทางไกลขึ้นเขาด้านหลังโรงเรียน เดินไปจามทางขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ตอนนั้นคงเหนื่อยน่าดู แต่กลับมาดูพื้นที่ทีหลังก็รู้สึกว่าไม่ได้หนักหนาอะไร จำได้ว่าข้าวเที่ยงเป็นข้าวกับปลากระป๋องและไข่ต้ม นั่งดูวิวจากบนเขา พื้นที่นั่งเป็นหินบริเวณกว้าง เป็นทริปที่ชอบทริปหนึ่ง


ทริปเดินป่าถัดไปเป็นทริปขึ้นภูกระดึงตอน ม.ุ6ไปกับเพื่อนๆโรงเรียนช่วงเดือนตุลาคม มีอาจารย์ผู้ชายที่สอนกีฬาพาไป  เรานั่งระไปลงที่ผานกเค้าแล้วเริ่มเดินขึ้นเขา  จุดแรกที่พักคือซำแฮ่ก  แฮ่กจริงๆ กว่าจะเดินขึ้นถึงหลังแปที่เป็นบริเวณพื้นราบบนเขาก็ตกบ่าย เราได้พักที่บ้านพักหยาดน้ำค้างรึอะไรซักอย่างชื่อแบบนี้  อากาศหนาวมาก ข้างบนมีร้านค้า มีเต้นท์นอนเรียงเป็นแถว มีความรู้สึกว่าคนมาก แต่ถ้าเทียบกับสมัยนี้คงถือว่าน้อย  จำได้ว่าเดินเกาะกลุ่มกันเวลาไปดูดวงอาทิตย์ตกที่ผาหมากดูก  ตอนเช้าก็ไปดูดวงอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น  บนภูกระดึงมีขุดชมวิวที่ทุกคนต้องไปถ่ายรูปกับชะง่อนผาและต้นสน รูปออกมาจะสวยมาก  แต่ตอนเดินไปถ่ายรูปก็เสียวเหมือนกัน  ทริปนั้นเป็นทริปที่ได้เพื่อนใหม่มาด้วยชื่อ พี่เป็ด

ทริปต่อมาเป็นทริปเขาหลวง เดือนเมษายน 2000 เหตุที่ไปเพราะมาอยู่ที่นครศรีธรรมราชก็สมควรไปขึ้นเขาที่สูงที่สุดของภาคใต้ โชคดีที่มีทีมจะขึ้นไปก็ขอตามเขาไปด้วย ทริปนี้มีประมาณสิบกว่าคนรวมสมาชิกวลันลักษณ์กับโรงพยาบาลท่าศาลา มีหนุ่ยธีรพันธ์นำทีมไป  เพื่อนๆที่ไปด้วยมี อ. โอ๊บ พี่ต่าย หลานพี่ต่าย พี่เอ จิตติมา น้อง อภิรยา ฉิมศูนย์บรรณ เป็นต้น ขาขึ้นเริ่มตอนเย็น ไปแวะกินข้าวที่ศาลาแถวน้ำตกวังไม้ปัก  แล้วเดินขึ้นเขาไปค้างที่ขนำสุดท้าย ออกเดินทางประมาณหนึ่งทุ่ม ประมาณสองทุ่มเศษก็ได้พักนอน ตอนเช้า ลุกขึ้น กินอาหารเช้าเสร็จก็เดินขึ้นเขา  กว่าจะถึงยอดเขาก็เย็นๆ กลางคืนนอนเต๊นท์คิดว่าจะหนาวมาก แต่ก็ไม่หนาว  ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ถ้าจะดูวิวต้องปีนต้นไม้ขึ้นไปดู ขากลับน่ากลัวกว่าขาขึ้น เพราะทางชัน เดินจนขาแพลง โชคดีว่ามีน้องอภิรยาเป็นอาจารย์พยาบาลก็ช่วยพันหัวเข่าให้ ต้องใช้ไม้เท้าเดิน ยิ่งช่วงผ่านน้ำตกยิ่งน่ากลัว ตอนจาขึ้นมามองไม่เห็นทาง เดินตามเขาเรื่อยๆ แต่ขาลงมองเห็นว่าทางน่ากลัว ถ้าพลาดมีเจ็บ ก็เลยต้องระวังมาก ช่วงสองกิโลสุดท้าย รถมอเตอร์ไซต์ขึ้นไปรับได้ ไม่งั้นคงอาการปนักกว่านี้  ลงมาแล้วเมื่อยตัวไปอีกอาทิตย์นึง


ทริปน้ำตกกรุงชิง จำไม่ได้ว่าไปช่วงปีไหน แต่น่าจะประมาณ 2541-2544 เป็นความพยายามที่จะไปให้ถึงน้ำตกหนานแสนห่าที่อยู่ในแบงค์พัน รถจะเข้าไปได้ถึงที่ทำการอุทยาน จากนั้นจะมีเทรลทางเดินซิเมนต์ไปสองกิโล ถัดจากนั้นอีกสองกิโลจะเป็นทางดิน ไปถึงบริเวณน้ำตก ตัวน้ำตกจะอยู่ด้านล่าง ต้องปีนลงไปอีก มีลวดสลิงให้เหนี่ยวตัวเดินลงไป  น้ำตกสวยสมที่ตั้งใจที่มา  ได้เล่นน้ำตกพอหายเหนื่อยแล้วก็กลับมาเหนื่อยต่ออีกชั่วโมงกว่าเพื่อเดินกลับ ที่กรุงชิงจะเป็นเส้นทางเดินป่าที่มาเดินบ่อยที่สุด มีไม้ใบไม่ดอก ให้ดูระหว่างทาง เช่นเคยไปเดินดูกล้วยไม้กินซาก  ดูกล้วยไม้วิลาสินี ดูดอกเอื้องพร้าว ดอกกระทือ ดอกปุด ฯลฯ  เป็นป่าที่สมบูรณ์ดี  แต่เหตุผลหลักที่ไปมักจะเป็นการไปดูนก มีนกดีๆมากทีเดียว เช่น นกปากกบพันธ์ชวา นกปากกว้างเล็ก นกเขียวปากงุ้ม นกเขนน้ำคิ้วขาว ฯลฯ

ทริปทุ่งใหญ่นเรศวร

ทริปดอยอินทนนท์ เดินแอ่งแม่กา แล้วไปเดิน กิ่วแม่ปาน

ทริปเขานัน

ทริปเขารามโรม

ทริปแก่งกระจาน เข้าบ้านกร่าง

ทริปเขานอจู้จี้ เทรล C, D สระมรกต

เยอะเนอะ ว่างๆค่อยมาใส่ข้อมูลเพิ่ม ทีละนิดๆ


สมุดบันทึกการดูนก

สองสามวันก่อนเจอสมุดบันทึกการดูนกของตัวเองที่เริ่มเขียนตั้งแต่ปลายปีปี 2545 มาหยุดบันทึกประมาณปี 2551 เพราะไม่ได้มีทริปเดินป่าดูนกเป็นประจำเหมือนเมื่อก่อนแล้ว


ในบันทึกระบุว่ามีนกที่ได้ดู 235 ชนิด (ไม่รวมนกที่ดูในออสเตรเลียอีก 62 ชนิดที่มีสมุดบันทึกต่างหาก) แหล่งดูนกที่ไปมีตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร แก่งกระจาน  ดอยอินทนนท์ เขานอจู้จี้กระบี่ ทะเลน้อยพัทลุง ศูนย์วิจัยป่าชายเลนระนอง วัดเฉลิมพระเกียรติ กทม. แต่เนื่องจากอยู่ในพื้นที่นครศรีธรรมราช แหล่งดูนกประจำจะอยู่ที่กรุงชิง เขานัน

นกทั้งหลายที่ดู ต้องตามคนที่เขา iden เก่งๆ เพราะส่วนตัวบางครั้งไม่สามารถ iden ได้ทันที และนกจะขยับตัวบินอยู่บ่อยๆ ดูยาก นอกจากนกที่คุ้นๆ นอกนั้นต้องอาศัยคนชั้ชวนให้ดู  :)

Bird Guild  ที่ใช้ก็เป็นเล่มของ Craig Ronson " A field guide to the Bird of Thailand" เพราะช่วงที่ซื้อหนังสือ (Nov 2002) หนังสือของหมอบุญส่งไม่มีวางขาย และมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์จึงไม่มีการพิมพ์ซ้ำ  จากนั้นก็ได้ซื้อเล่มของหมอบุญส่ง และหลังจากนั้นต่อมาอีกระยะหนึ่ง หนังสือของหมอบุญส่งจึงมีวางขายทั่วไปอีกครั้ง





เวลาดูนกก็จะวงในหนังสือเอาไว้แบบนี้ ถ้าดูได้จนหมดหน้าหนึ่งก็เรียกว่าได้ปิดเพจไป :)

Selfie on Earth Day, April 22

22 เมษายน 2557 นี้ ใครชอบถ่ายรูป Selfie มาถ่ายรูปเล่นกันเถอะ! ภายใต้โครงการ "Earth Right Now"

นาซาเชิญชวนทุกคนมาฉลองวันคุ้มครองโลก(Earth Day)วันที่ 22 เมษายน โดยการออกไปถ่ายภาพจากแถวๆบ้านเรา จะเป็นวิวภูเขา แม่น้ำ ทะเล อะไรก็ได้ค่ะ แล้วบอกว่าเราอยู่ที่ไหน โดยจะเขียนบนทราย วางเรียงก้อนหิน หรือแม้แต่จะเขียนบนกระดาษ นาซาก็มี template ที่พิมพ์ออกมาถ่ายรูปประกอบฉากได้





ถ่ายรูปแล้วส่งเข้า Social Media ที่ใดที่หนึ่งในห้าแห่งนี้ Twitter, Instagram, Facebook, Google+ และ Flickr โดยใส่แฮชแท็กว่า "#GlobalSelfie"

นาซาจะตามดูรูปเหล่านี้แล้วนำไปประกอบเป็นภาพปะต่อจะกลายเป็น unique mosaic of the Blue Marble และวิดิโอในเดือนพฤษภาคมค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในลิงก์ http://www.nasa.gov/content/goddard/globalselfie/#.U09WllWSw41
ปกตินาซาถ่ายรูปโลกจากอวกาศ แต่คราวนี้จะสร้างภาพของโลกจากภาพถ่ายที่ถ่ายบนโลกค่ะ

This satellite data helps NASA scientists piece together a clear picture of our planet from a scientific viewpoint.
On this Earth Day, we wanted to create a different picture of our planet -- a crowd-sourced collection of snapshots of the people of Earth that we could use to create one unique mosaic of the Blue Marble.
So, come April 22, take a second to step outside and join us in celebrating our home planet.

ว่าจะไปถ่ายรูปริมทะเลสาบหน้ามอ ให้เห็นวิวเขาหลวงเป็นแบคกราวด์ ใครจะไปกันบ้างเอ่ย ขา Selfie ทั้งหลายไม่ควรพลาดนะคะ

Tuesday, April 15, 2014

A tetrad of lunar eclipses


http://www.space.com/25250-a-tetrad-of-lunar-eclipses-starts-in-april-video.html

วันนี้จะมาแจ้งว่าเป็นวันที่มีจันทรุปราคาเต็มดวงค่ะ แต่ไม่เห็นในเมืองไทยเพราะจะเกิดขึ้นช่วงกลางวันประมาณเที่ยงๆ

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นแบบ Tetrad คำว่า Tetrad หมายถึงการที่เกิดจันทรุปราคาแบบเต็มดวงสี่ครั้งซ้อน ต่อเนื่อง โดยครั้งนี้จะเป็นครั้งแรก อีกสามครั้งจะเกิดขึ้นภายในสองปีนี้โดยไม่มีจันทรุปราคาแบบบางส่วน หรือแบบเงามัวมาคั่น เพราะปกติเรามีโอกาสเห็นดวงจันทร์โดนบังแค่บางส่วน โดยไม่โดนบังทั้งหมด แต่นี่เป็นดวงจันทร์ที่ถูกเต็มดวงติดต่อกันสี่ครั้ง ถึงใช้คำนี้ค่ะ

ปีนี้ทั้งปีจะเกิดอุปราคา 4 ครั้ง

1. จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)
2. สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)
3. จันทรุปราคาเต็มดวง 8 ตุลาคม 2557 (เห็นได้ในเมืองไทย แต่จะเป็นเวลาประมาณ 18.00 น.ช่วงที่ดวงจันทร์เริ่มขึ้นในเมืองไทย ต้องตั้งใจดูกันนิดนึงค่ะ  )
4. สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557 (ไม่เห็นในเมืองไทย)

รายละเอียดอ่านในลิงก์นี้นะคะhttp://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2014eclipses.html

ถ้าจะตามดู Webcast ถ่ายทอดสดก็ดูที่ลิงก์นี้ค่ะ http://www.space.com/19195-night-sky-planets-asteroids-webcasts.html

ส่วนลิงก์นี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า Tetrad แนวตริสตศาสนา เพิ่งรู้เหมือนกันhttp://pattamarot.blogspot.com/2014/04/tetrad.html

และถ้าอยากรู้เรื่องแบบมีรายละเอียดจริงๆต้องไปลิงก์นี้ค่ะhttp://eclipse.gsfc.nasa.gov/OH/OH2014.html
===================================
จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557

อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในเวลากลางวันของวันอังคารที่ 15 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย จันทร์เพ็ญอยู่ด้านกลางคืนของโลก เราจึงไม่สามารถสังเกตได้ พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้คืออเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก บางส่วนทางด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่น ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว และจะเห็นดาวอังคารสุกสว่างอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 10 องศา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 15 เมษายน 2557

ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 11:53:37
เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 12:58:19
เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:06:46
กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 14:45:39
สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:24:35
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 16:33:03
ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 17:37:36
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 56 ใน 74 ครั้ง ของซารอสที่ 122 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1022-2338 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 9 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1707 นาน 1 ชั่วโมง 40.1 นาที

Thursday, April 10, 2014

Crash of the Century

ช่วงนี้ติดตามข่าว MH 370 อยู่เป็นเดือน  น่าประหลาดใจมากที่อยู่ๆเครื่องบินทั้งลำหายไปโดยไม่มีร่องรอยได้  แถมในเมืองไทยมีเรื่องนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกกระโดร่มแล้วร่มไม่กาง เสียชีวิตไปสองคนในการฝึกบินครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคม ช่วงนี้ก็จะสนใจเรื่องอุบัติเหตุของเครื่องบิน เข้าไปค้น Youtube ดูเรื่อง 9/11 แล้วลิงก์ก็ต่อๆไปจนได้ดูเรื่องนี้ค่ะ "Crash of the Century"  http://www.youtube.com/watch?v=Na_ciq5h4nQ เป็นเหตุการณ์เครื่องบิน KLM และ PAN AM ชนกันกลางรันเวย์ของสนามบิน Tenerife airport ที่หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม  ค.ศ. 1977



ที่เรียกว่า Crash of the Century เป็นเพราะมีคนเสียชีวิตมากถึง 583 คน เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน ตามไปดู list ได้ที่นี่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_aircraft_accidents_and_incidents_resulting_in_at_least_50_fatalities

มีคำถามว่าการชนกันครั้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร  เครื่องบินสองลำชนกันบนรันเวย์เดียวกันในขณะที่กำลังจะ take off ทำไมเครื่องที่จะบินขึ้นไม่รอให้รันเวย์ว่าง  ทำไมเครื่องที่ค้างบนรันเวย์ไม่หลบออกไป? คำตอบของเหตุการณ์นี้ไิด้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจากสามประเทศที่เกี่ยวข้องคือ เนเธอร์แลนด์ อเมริกา และสเปน รวมถึงผู้เชียวชาญจากสองสายการบินนั้นด้วย พบว่าเกิดจากหลายๆเหตุการณ์ที่ประจวบเหมาะเกิดขึ้นพร้อมกัน

ลำดับเหตุการณ์ เริ่มจาก
1. มีเหตุการณ์วางระเบิดที่สนามบิน Gran Canaria Airport อันเป็นสนามบินที่เครื่องบินทั้งสองลำนี้จะต้องไปลงจอด สนามบินต้องปิดทำให้เครื่องบินสองลำนี้และอีกมากต้องไปลงจอดที่สนามบิน Los Rodeos Airport (Tenerife North Airport) ซึ่งเป็นสนามบินเล็ก มี runway เดียว เครื่องบินจำนวนมากต้องลงจอดเรียงกัน แล้วรอจนกว่าสนามบินที่ Gran Canaria Airport เปิดจึงจะบินไปที่จุดหมายได้



2. หมอกเริ่มก่อตัว ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี และหมอกจัดขึ้นเรื่อยๆ  

3. เมื่อสนามบิน Gran Canaria Airport เปิดขึ้นอีกครั้ง KLM Flight 4805 และ Pan Am Flight 1736 ได้รับอนุญาตให้เตรียมบิน  KLM เคลื่อนไปบนรันเวย์ก่อน โดย PAN AM เคลื่อนที่ตามบนรันเวย์เดียวกัน ตามคำแนะนำของหอควบคุมการบิน เครื่อง KLM เมื่อไปจนสุดรันเวย์จะต้องหมุนกลับหลังหันเพื่อรอการ take off ในขณะที่ PAN AM จะต้องออกจากรันเวย์นั้นโดยขับหลบออกไปที่ทางแยกที่ 3 เพื่อไปวิ่งบนทางขนาน โดยได้รับคำแนะนำว่า "The third one, sir; one, two, three; third, third one"  จากสภาพอากาศที่หมอกลงจัด เครื่องบินทั้งสองลำมองไม่เห็นกัน หอควบคุมการบินมองไม่เห็นเครื่องบินทั้งสอง สนามบินไม่มีเรดาร์ที่จะทำให้หอควบคุมการบินมองเห็นตำแหน่งของเครื่องบิน  การติดต่อทางวิทยุจึงเป็นการติดต่อเดียวที่ทำได้



4. สภาพรันเวย์จริง ทางแยกที่ 4 (C4) เป็นทางออกเดียวที่มีเส้นทางเฉียงออกประมาณ 45 องศา ในขณะที่ทางแยกที่ 1 เป็นทางตรงหักออก 90 องศา และทางแยกที่ 2 และ 3 เป็นทางเฉียงออกสำหรับเครื่องที่หันหัวจากอีกฝั่งเลี้ยวออกซึ่งจะเป็นทางเฉียงออกจากฝั่งตรงข้ามแต่เป็นประมาณ 148 องศาจากทิศทางที่ PAN AM กำลังขับไปจึงไม่สามารถขับเข้าไปได้จนกว่าจะถึงทางออกที่ 4   เครื่องบิน PAN AM ไม่สามารถมองเห็นเส้นทางบนรันเวย์ได้ เพราะหมอกลงจัด และจากการติดต่อกับหอควบคุมการบิน ได้คำแนะนำว่าให้ออกที่ทางออกที่ 3 (Third taxiway) 

5. เครื่องบิน KLM ไปสุดรันเวย์ กลับลำ เตรียมพร้อม take off และได้ติดต่อหอควบคุมการบินเพื่อให้ clear runway  เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร กัปตันของ KLM นำเครื่อง Take off  เพราะเข้าใจว่ารันเวย์เคลียร์แล้ว ในขณะที่เครื่อง PAN AM ยังไม่ได้เลี้ยวออกจากรันเวย์ เครื่อง KLM พยายามบินขึ้นแต่ไม่พ้นจึงชนเข้ากับเครื่อง PAN AM บริเวณใกล้ทางแยกที่ 4





6. ผู้โดยสาร 234 คน กัปตันและลูกเรืออีก 14 คนของ KLM เสียชัวิตทั้งหมด ผู้โดยสาร 326 คน(จาก 380 คน) ลูกเรืออีก 9 คน(จาก 16 คน)ของ Pan Am เสียชีวิต รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด 583 คน มีผู้รอดชีวิตจากเครื่อง PAN AM  61คน รวมถึงกัปตันและวิศวกรประจำเครื่อง

สาเหตุจาการสอบสวนระบุว่าเกิดจาก  "misinterpretations and false assumptions"
"Captain Veldhuyzen van Zanten นำเครื่อง takeoff โดยไม่ได้รับ takeoff clearance ซึ่งเหตุผลน่าจะเป็นเพราะต้องการจะบินขึ้นให้เร็วที่สุดเพื่อจะให้ทำตามกฏของ KLM's duty-time regulations และก่อนที่สภาพอากาศจะแย่ลงไปกว่านี้
ปัจจัยอื่นๆได้แก่
  • หมอกลงจัดทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี หอควบคุมและเครื่องบินทั้งสองลำมองไม่เห็นซึ่งกันและกัน
  • การรับส่งวิทยุเกิดสัญญาณรบกวน ไม่ได้ยินข้อความที่ติดต่อกันครบถ้วน
ปัจจัยอื่นที่นำมาพิจารณาแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก ได้แก่ 
  • การใช้คำที่กำกวมไม่เป็นมาตรฐานโดย ผู้ช่วยนักบิน  KLM  ("We're at take off") และการตอบจาก Tenerife control tower ("OK").
  • เครื่อง Pan Am aircraft ไม่ได้ออกที่ทางแยกที่ 3 ( C-3)
  • สนามบินถูกบีบให้รองรับเครื่องบินจำนวนมาก ทำให้เกิด  disruption จากการใช้งานปกติของ taxiways.[36]"

แปลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Tenerife_airport_disaster 

ดูเรื่องนี้จบก็ได้ดูต่ออีกหลายกรณีเลยค่ะ  หลายเคสเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อทีเดียว บันทึกเรื่องที่ชอบทั้งวิธีแก้ปัญหาและวิธีการในการตรวจสอบอุบัติเหตุไว้ข้างล่างนี้นะคะ

==========================================================
June 12, 1972 American Airlines Flight 96 บินจากสนามบินดีทรอยท์ไปที่บัฟฟาโล เกิดประตูช่องเก็บสินค้าหลุดเนื่องจากการออกแบบไม่ดี ประตูสามารถปิดได้โดยที่ไม่ได้ล็อคจริง จึงทำให้เกิดช่องโหว่บริเวณท้ายเครื่อง ข้าวของถูกดูดออกไปทางช่องโหว่ กัปตันสามารถนำเครื่องลงที่ดีทรอยท์ได้อย่างปลอดภัย   https://www.youtube.com/watch?v=6ZU9OHKK2Og 
==============================================================
29 ธันวาคม 1972, Eastern Air Lines Flight 401 บินจาก NY ไปที่ Miami International Airport เครื่องบินตกลงในอุทยาน Everglades ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ สาเหตุเกิดจากการที่ไฟสัญญาณบอกสถานะการล็อคล้อเครื่องบินเพื่อการลงจอดไม่ขึ้น ในระหว่างที่แก้ปัญหา ระบบ Autopilot ที่เซ็ตความสูงไว้ที่ 2000 ฟิต ถูกปิดลงโดยไม่ตั้งใจ ทำให้เครื่องบินลดระดับลงโดยไม่มีใครสังเกตและตกลงในที่สุด มีผู้เสียชีวิต 101 คน และรอดชีวิต 75 คน  หลังจากนั้นมีข่าวผู้เห็นผู้ตายจากเหตุการณ์มาปรากฎตัวและเป็นที่สนใจจนมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา  

======================================================================


3 March 1974  Turkish Airlines Flight 981  บินจาก Istanbul Yesilköy Airport ไป London Heathrow Airport โดยแวะที่  Orly Airport ปารีส เกิดปัญหาลักษณะเดียวกับ American Airlines Flight 96 คือประตูช่องเก็บสินค้าไม่ล็อคตามที่ควร เป็นปัญหาของ McDonnell Douglas DC-10 ที่ไม่ได้แก้ไข เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า Ermenonville air disaster ตามชื่อป่าที่เครื่องบินตก ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิต จำนวน 346 คน

=======================================================================

23 กรกฎาคม 1983 "Gimli Glider" อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นเที่ยวบินของ Air Canada Flight 143 บินจาก Montreal ไป Edmonton เกิดน้ำมันหมดระหว่างทางที่ความสูง 41,000 feet (12,000 m) สาเหตุเนื่องจากการคำนวณปริมาณน้ำมันผิดพลาดเพราะความสับสนในการใช้หน่วยปริมาณน้ำมันเป็น metric แทนหน่วย imperial ทำให้มีน้ำมันน้อยกว่าที่ควรไปครึ่งหนึ่ง  แต่เนื่องจากนักบินมีความชำนาญในการเล่นเครื่องร่อน จึงได้อาศัยเทคนิคการร่อนลงจอดที่ Gimli Industrial Park Airport ที่ Gimli, Manitoba  เที่ยวบินนี้จึงได้ชื่อเล่นว่า Gimli Glider
  http://www.youtube.com/watch?v=8w5LqlTwbhs

==========================================================

21 ธันวาคม 1988  "Lockerbie Disaster" Pan Am flight 103 บินจาก London ไป New York และถูกวางระเบิด เครื่องตกลงที่ Lockerbie มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 270 คน (รวม 11 คนที่เป็นอยู่ในหมู่บ้าน)

==========================================================
3 September 1989  Varig Flight 254 was a Boeing 737-241 เครื่องบินถูกตั้งทิศทางผิดเพราะตั้งองศาการบินเป็น 270 องศาทั้งๆที่ทิศทางจริงคือ 27 องศา 
https://www.youtube.com/watch?v=zOnafLpIPyk

=========================================================
10 June 1990  British Airways Flight 5390 อุบัติเหตุครั้งนี้ประหลาดมากๆ เพราะเป็นกรณีที่หน้าต่างในคอคพิทหลุดปลิวออกไปและตัวกัปตันถูกดึงออกไปติดอยู่ด้านข้างเครื่องบิน ดีที่มี belt รัดไว้และมีลูกเรือมาช่วยดึงตัวไว้ co-pilot เป็นผู้นำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเซาธ์แฮมตันโดยไม่มีผู้เสียชีวิต แต่การขับเครื่องบินในสภาพที่หน้าต่างหลุด กระจกมัว ลมตีเข้ามาด้วยความเร็วสูงที่ความสูง 17,400 ฟิตเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา    เครื่องบินบินจาก Birmingham Airport ประเทศอังกฤษไปที่สนามบิน Málaga Airport ในสเปน สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ กัปตัน Tim Lancaster ไปอยู่นอกเครื่องบินที่มีกระแสลม 345 mph wind ที่อุณหภูมิ -17 C / 1.4 F แต่เมื่อได้รับการช่วยเหลือ ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ และได้กลับมาบินอีกครั้งในห้าเดือนถัดมา

https://www.youtube.com/watch?v=BXEKM4C3beg

================================================
23 มีนาคม 1994, Aeroflot Flight 593 "kid in the cockpit"กัปตันให้ลูกสาวและลูกชายเข้าไปลองคอนโทรลเครื่อง เด็กผู้ชายทำให้เครื่องออโต้ไพล็อตหยุดทำงาน โดยมีตัวเตือนเพียงแต่สัญญาณไฟที่ไม่ได้มีใครสนใจ เพราะชิยกับระบบเสียงเตือนเหมือนเครื่องบินรุ่นเก่าที่คุ้นเคย  เคสนี้ส่วนตัวถือว่ากัปตันจาดความรับผิดชอบที่สุด เคสนี้เครื่องตกที่ไซบีเรีย มีผู้เสียชีวิต 75 คน http://www.youtube.com/watch?v=U1vrQgodVDU

==========================================================

2 กรกฎาคม 1994  USAirs  1016 บินระหว่าง  Columbia, South Carolina, and Charlotte, North Carolina เครื่องบินพบว่ามีกลุ่มฝนก่อนถึงสนามบิน แต่จากการติดต่อ ATC ไม่ได้รับคำเตือนว่าเป็นฝนตกหนักจึงได้รับคำแนะนำให้บินเลี่ยงกลุ่มเมฆ แล้วค่อยขับเอียงเข้ามาที่เส้นทางรันเวย์เมื่อใกล้ถึงจุด landing แต่เมื่อขับมาถึงจริงปรากฏว่าฝนตกหนักต้องใช้ที่ปัดน้ำฝน  นักบินจึงยกเลิกการ landing แล้วจะเชิดหัวเพื่อบินขึ้น  แต่เวลานั้นเกิดไมโครเบิร์สที่สนามบิน  ตามหลักต้องเร่งเครื่องให้สุดและยกหัวขึ้น ซึ่งนักบินเองก็ได้คุยกันตั้งแต่ก่อน landing แล้ว  แต่เมื่อถึงเวลาจริงนักบินกลับกดหัวเครื่องบินลง จนในที่สุดเครื่องก็ตกลงบริเวณห่างรัยเวย์ไป 800 เมตร ใกล้บ้านคน NTSB ได้มาตรวจและในที่สุดพบว่า การบอกสภาพอากาศจาก จนท.ผู้ดูแลสภาพอากาศไปยัง ATC มีช่วงเวลา 2 นาที ซึ่ง 2 นาทีนั้นเป็นช่วงที่เครื่องบินบินลงพอดีจึงไม่ทราบสถานการณ์ฝนตกว่ารุนแรงมาก และเมื่อยกเลิกการบินนักบินเกิดอาการหลงสภาพการบิน (spatial disorientation) จึงทำการกดหัวเครื่องบินลง ทั้งๆที่ควรยกหัวขึ้น โดยเมื่อได้ซักถามในภายหลังทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินไม่สามารถจดจำได้ว่าในช่วงนั้นทำอะไรลงไป  สรุปว่ามี 4 ปัจจัยคือ 1. นักบินตัดสินใจจะ landing ในสภาพอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไมโครเบิร์ส 2. มีการแจ้งเตือน wind shear ที่ล่าช้าทำให้นักบินขาดการตระหนักรู้ในสถานการณ์ 3. นักบินใช้ท่าทางบินที่ไม่เหมาะสมในขณะที่บินในกระแสลมกดลง และ 4. ข่าวอากาศที่ล่าช้าทำให้ จนท ATC ที่สนามบินไม่ได้แจ้งสภาพอากาศรุนแรงที่สนามบิน  ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการปรับปรุงวิธีการส่งข้อมูลสภาพอากาศให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เรดาร์สมัยใหม่แจ้งเตือนสภาพอากาศให้เห็นชัดเจนจากหน้าจอ ATC สามารถคำนวณไมโครเบิร์สและ Wind shear ได้แม่นยำ
เที่ยวบินนี้มีคนบนเครื่อง 57 คน เป็นลูกเรือ 5 คน  มีผู้เสียชีวิต 37 คน รอดชีวิต 20 คน รวมถึงนักบินทั้ง 2 คน เนื่องจากเครื่องบินส่วนหัวแยกชิ้นส่วนออกไปตอนที่เครื่องตก

==========================================================

 23 พฤศจิกายน  1996, Ethiopian Airlines Flight 961 กรณีนี้เป็น "Ocean Landing" บินจาก Addis Ababa to Nairobi on a Bombay–Addis Ababa–Nairobi–Brazzaville–Lagos–Abidjan และถูกไฮแจ็คจากผู้โดยสารสามคนที่ต้องการให้บินไปที่ออสเตรเลีย แต่เนื่องจากเครื่องบินไม่ได้เติมน้ำมันสำหรับเส้นทางที่ไกลกว่าเส้นทางปกติ เครื่องบินจึงตกลงกลางมหาสมุทรอินเดียใกล้ๆเกาะ Comoros มีผู้เสียชีวิต 125 คน รอดชีวิต 50 คน  http://www.youtube.com/watch?v=JmKI1wj353E

==========================================================
10 มกราคม 2000, Crossair flight 498 บินจากซูริคไปเดรสเดน มีผู้โดยสาร 7 คน พนักงาน 3 คน เครื่องบินตกลงกระแทกพื้นอบ่างแรงจนไฟลุกท่วมหลังจากบินได้ไม่ถึงสองนาที

ครั้งนี้พบว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดในการแปล ตั้งแต่อาจแปลผลหน้าจอตรงข้ามสิ่งที่เป็น เพราะนักบินเป็นชาวรัสเซีย ระบบการฝึกจะใช้หน้าจอ artificial horizon ที่ background อยู่นิ่งๆแต่กราฟิกการบังคับคันบังคับระดับเป็นตัวเลื่อนซ้ายขวา ในขณะที่หน้าจออเมริกัน จะเห็นว่า background เป็นตัวเปลี่ยนทิศทาง แต่คันบังคับจะอยู่นิ่งๆ  ในการอ่านหน้าจอเมื่อต้องการสั่งให้เลี้ยวซ้าย สำหรับนักบินรัสเซีย(ที่อาจจะใช้ยาระงับประสาทที่พบในกระเป๋าเดินทาง) อาจทำการเลี้ยวขวา แล้วเมื่อมองหน้าจอ(เครื่องบินอเมริกัน)เห็นในลักษณะคล้ายกันกับหน้าจอเลี้ยวซ้าย(เครื่องบินรัสเซีย)ได้  จึงเข้าใจผิดว่าตัวเองทำการเลี้ยวซ้ายตามคำแนะนำของหอบังคับการบิน  แต่จริงๆแล้วขณะนั้นเครื่องบินกลับเลี้ยวขวาอย่างมากจนเสียการบังคับและตกลงมา

http://www.youtube.com/watch?v=lyawGVCesA0

==========================================================
24 สิงหาคม 2001 เกิดกรณี Fly on Empty เครื่องบินบินโดยน้ำมันหมดถังเมื่ออยู่กลางอากาศและกลางมหาสมุทรแอตแลนติก กรณีนี้เกิดจากเกิดน้ำมันรั่วเนื่องจากมีการเช็คเครื่องบินเพื่อบำรุงรักษา 5 วันก่อนบินและได้ใส่อุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามแบบเข้าไปในเครื่อง ทำให้เกิดการรั่วของน้ำมัน เที่ยวบินนี้คือ Air Transat Flight 236 บินจากโตรอรโตไปลิสบอน เป็นเครื่อง Airbus A330-243  Captain Robert Piché, ซึ่งก็เป็นผู้มีประสบการณ์ในการร่อนเครื่องบิน ได้นำเครื่องลงที่สนามบินเกาะอะซอเรส คนบนเครื่องทั้งหมด 306 คน (ผู้โดยสาร 293 คนและลูกเรือ 13 คน)ปลอดภัย  กรณีนี้คล้ายกับ "Gimli Glider" เมื่อปี 1983 มาก

==========================================================
9 สิงหาคม 2007 Air Moorea Flight 1121 เครื่องตกระหว่างเดินทางไฟล์สั้นๆแค่ 7 นาทีจากสนามบิน Moorea ไปที่ Tahiti's Faa'a International Airport ผู้โดยสาร 19 คนและนักบิน 1 คน เสียชีวิตทั้งหมด ประทับใจกับการทำงานของทีมสอบสวนมากว่าเขาสามารถหาสาเหตุการตกของเครื่องบินได้อย่างไร โดยเฉพาะเคสนี้มีหลายอย่างประกอบกัน ทั้งลวดสลิงถูกเสียดสี ลวดสลิงเป็น stainless steel ซึ่งทนการกัดกร่อนแต่ไม่ทนต่อแรงเสียดสี(เครื่องลำอื่นใช้ลวดที่เป็นเหล็กคาร์บอน) แรงเป่าจากเครื่องบินจัมโบ้เจ็ตตอนที่เครื่องจอดที่สนามบินโดยไม่มี jet blast barrier จนเป็นเหตุให้ลวดที่ดึงแพนหางขาดตอนที่ขึ้นไปบนอากาศแล้ว  ส่งผลให้นักบินบังคับเครื่องไม่ได้ เครื่องจึงตกลงมาก

เที่ยวบินรูทนี้ก็น่าสนใจเพราะเป็นเที่ยวบินที่สั้นมากๆเพียงแค่ 7 นาทีต่อเที่ยวบิน วันหนึ่งมีประมาณ 40-50 เที่ยวบิน

==========================================================

15 มกราคม  2009 US Airways Flight 1549  กรณีนี้เรียกกันว่า Miracle on Hudson river  เพราะเครื่องบินบินจากสนามบินลากวาเดียในนิวยอร์ก เพิ่งบินขึ้นไปได้ไม่นาน เครื่องยนตร์เสียหายเนื่องจากชนกับนกนักบินต้องนำเครื่องลงฉุกเฉินในแม่น้ำฮัดสัน  เคสนี้ผู้โดยสารรอดชีวิตทุกคน 155 คน กัปตัน Capt. Chesley B. "Sully" Sullenberger ได้รับการยกย่องอย่างมาก  ในกรณีของ MH370 ก็เห็นเขาเชิญกัปตันคนนี้มาให้ความเห็นด้วย
==========================================================
1 มิถุนายน 2009  Air France  flight 447 บินจาก Rio De Janero จะไปที่ Paris มีปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด นักบินไม่สามารถอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อ่านความเร็วได้ จึงบังคับเครื่องบินโดยไม่มีข้อมูล เครื่องบินต่ำลงมากจนไม่สามารถควบคุมได้ และเครื่องตกลงในที่สุด เสียชีวิตทั้งหมด 228 คน
==========================================================
4 November 2010 Qantas Flight 32 เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของเครื่องแบบ A380 โดยเครื่องมีปัญหา uncontained engine failure และขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินชางงี ที่สิงคโปร์ ปัญหาเกิดจาก turbine disc ในเครื่องยนต์เกิด disintegrated เครื่องบินเกิดความเสียหายในส่วน nacelle, wing, fuel system, landing gear, flight controls, the controls for engine No.1 และ undetected fire in the left inner wing fuel tank t
http://www.youtube.com/watch?v=mlky6jT_V1Y 


==========================================================