Monday, March 24, 2014

เรื่องน่ารู้จากรหัสลับหลังคาโลก

ในหนังสือเล่มนี้มีการพูดถึงอะไรหลายๆอย่างที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  เสียดายที่ไม่คิดจะบันทึกตั้งแต่ตอนอ่านเล่มแรก มารู้ตัวเอาแถวๆเล่ม 10 และหนังสือมีทั้งหมด 11 เล่ม  ^_^


เล่ม 10 หน้า 261 แก้วหลิวหลี ในเรื่องเป็นตอนที่จัวมู่เฉียงปากับโมคินเดินลอดอุโมงค์ใต้น้ำ ผนังอุโมงค์เป็นแก้วใส โมคินอธิบายว่านี่เป็นแก้วหลิวหลี เป็นศิลปะเครื่องแก้วชั้นสูงของจีนโบราณตั้งแต่หนึ่งพันปีก่อนคริสตกาล ถือเป็นของมีค่าระดับเดียวกับ มรกต หยกและไข่มุก ได้รับการกล่าวขานในบันทึกโบราณ แล้วสูญหายไป

ลองไปค้นกูเกิลดูทีแรกพบว่ามีพวกอาจารย์ดูดวงบางคนมาหลอกลวงว่าแก้วหลิวหลีเป็นอัญมญีธรรมชาติเป็นหินภูเขาไฟ  แล้วก็มีปรมาจารย์อีกคนมาแฉว่าจริงๆมันเป็นแก้วที่หลอมจากเตาไฟนี่แหละ เพียงแต่เป็นงานศิลป์โบราณ

ปัจจุบันมีบริษัทไต้หวันได้ผลิตแก้วหลิวหลีคุณภาพออกจำหน่ายทั่วโลก สวยมากจริงๆ



ภาพจาก http://www.liuli.com/en-us/new_artifact.aspx?guid=MjYzMzUz&cid=MTU3 เป็นตัวอย่างแก้วหลิวหลีที่สวยมากทีเดียว
Embodiment of Beauty - Lush Peach Blossom
Accommodate
An open heart,
Conditions shift according to your mood,
Making everything even more fulfilling.

จาก วิกิพีเดีย

"Liuli" means ancient Chinese glass/crystal. It has a lineage stretching back thousands of years, first making its appearance in the 11th century BC. The art of Liuli left an indelible trail throughout Chinese history until the 19th century when China opened its door to imported goods, and effectively stifled traditional artisan skills.
The discovery in 1968 of the tomb of Liu Shun, a nobleman from Man-Chung County in Hopei Province, unearthed the earliest recorded example of pate-de-verre. A glass ear cup was found behind the renowned "jade suit with gold thread." Archaeologists confirmed the glass material was of Chinese origin, indicating the pate-de-verre technique was indeed indigenous to China. This revelation was astounding and engendered in the group of artists a profound sense of mission to revive the artistry embedded in their own ancestry.

Liuli Gongfang or Liuligongfang (琉璃工房) is Taiwan's only contemporary glass studio devoted to artistic Chinese glassware. Since its establishment in 1987 Liuligongfang has become known in Asia and abroad for its outstanding artistic endeavours and its high standard of craftsmanship.[1]

ส่วนในเว็บนี้ให้ข้อมูลว่า "อำเภอโป๋ซาน มณฑลซานตง ทางภาคกลางของจีน เป็นแหล่งผลิต"หลิวหลี-คริสตัลเทียม"สำคัญของจีน มีการผลิตตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ซึ่งห่างจากปัจจุบันประมาณ 1,400 ปี และผลิตเป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่ในต้นราชวงศ์หมิง ในงานประดิษฐ์ทั้งหลายเหล่านี้นั้น ลูกแก้วหลิวหลีมีมากที่สุด ลูกแก้วเล็กๆ ที่เด็กชอบเล่นก็เป็นลูกหลิวหลีด้วย ยังมีภาชนะบรรจุลายหลากสี สวยงามประณีต โดยเฉพาะแจกัน เครื่องเขียน"

หน้า 23 เล่ม 11 พูดถึง ความกลัวสามเท่า มนุษย์จะกลัวสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเองสามเท่า เช่น เด็กช่วงอายุสี่ขวบจะกลัวผู้ใหญ่เพราะมีความสูงประมาณสามเท่าของตัวเอง

หน้า 81 เล่ม 11 พูดถึงตัวเลขเก้าช่องของราชวงศ์ถัง ในหนังสือนำมาเป็นกลไกหมากรุกปิดประตูห้อง

หน้า 101 เล่ม 11 พูดถึงแก้วโมราส ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคพิเศษที่ทำให้มองเห็นลวดลายของแก้วแตกต่างกันเมือมีแสงมากน้อยต่างกัน

หน้า 134 เล่ม 11 พูดถึงจิ่วกงเปี้ยน คล้ายๆรุบิค เป็นแนคิดเหมือนเอาลูกปิงปองหลายลูกอัดไว้เต็มอ่างที่มีน้ำ ลูกปิงปองจะพยายามลอยตัวขึ้น  แต่เมื่อเพิ่มลูงปิงปองเข้าไปอีกจะทำให้ลูกปิงปองเคลื่อนที่ไปแบบสุ่ม ห้องลับในวิหารศักดิ์สิทธิ์ถูกสร้างด้วยแนวคิดนั้น

หน้า 143 เล่ม 11 พูดถึงวิชาจุดโคมของกรีกโบราณ เมื่อโคมห้องหนึ่งถูกจุด ห้องข้างๆสี่ห้องจะสว่างด้วย เมื่อดับโคมห้องข้างๆทั้งสี่ก็จะดับ ในห้องที่เรียงเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสจะต้องจุดโคมกี่ดวงทุกห้องจึงจะสว่างทั้งหมด วิชานี้คล้ายๆวิชาหมุนล้อของไอยคุปต์และวิชาตอกอิฐของจีนโบราณ


ไว้ถ้ามีเวลาค่อยบันทึกเพิ่ม มีเกร็ดเล็กเกร็น้อยมากมาย ค้นทีเดียวไม่ไหว ^_^

11 ตุลาคม 2560

หลังจากอ่านหนังสือชุดนี้อีกรอบครบ 11 เล่ม ก็บันทึกเพิ่เติมถึงสิ่งน่ารู้จากหนังสือแต่ละเล่มค่ะ
รหัสลับหลังคาโลก

เล่มที่ 1
  1. หน้า 270-271 มีการพูดถึงว่า ในปีค.ศ.1844 นักสำรวจชาวอังกฤษ ฟูมา มีเนเดอร์   เป็นผู้พูดถึงวิหารพาปาลา  ทีเนเดอร์เป็นแรงบันดาลใจของนักผจญภัยอีกหลายคน เช่น ไฮน์ริค ชไลมันท์ผู้พบเมืองทรอย  หรือ โรเบิร์ต อี แพร์ลีผู้สำรวจขั้วโลกเหนือ  

เล่มที่ 4
  1. หน้า 48 พูดถึงภูเขากังติซู หรือภูเขาสวัสดิกะเก้าชั้น ชื่อที่รู้จักกันคือเขาไกรลาศ ในพุทธศาสนาถือว่าเป็นศูนย์กลางชองจักรวาล ในศาสนาเชนถือเป็นดินแดนแห่งความหลุดพ้น ทางตะวันออกเฉียงใต้จะมีเจ้าแห่งทะเลสาปศักดิ์สิทธิ์ชื่อ มานาซาร์โรวาร์ (ทะเสลาปเทวา)ภูเขาและทะเลสาปคู่นี่ถูกเปรียบเปรยประหนึ่งสามีภรรยา ในบทบันทึกดินแดนตะวันตกแห่งราชวงศ์ถังของหลวงจีนเสวียจังหรือพระถังซำจั๋งได้เรียกทะเลสาปนี้ว่าบ่อทิพย์แห่งชมพูทวีป  ถัดไปจากทะเลสาปนี้มีทะเลสาปลักนาโช(ทะเสลาปผี) บางคนกล่าวว่าลักนาโซเหมือนตะวันเสี้ยวในขณะที่มานาซาร์โรวาร์ เป็นเหมือนดวงอาทิตย์กลมเกลี้ยง  เดิมทะเลสาปทั้งสองเชื่อมกันอยู่ ต่อมาแยกกันเพราะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก น้ำในทะเลสาปเทวามีรสชาติใสหวานชื่นใจ แต่น้ำในทะเสาปผีมีขมฝาดรสแย่

ลองค้นกูเกิลแมปดู พื้นที่แถวนั้นน่าประทับใจจริงๆ

ไกรฃาส1.PNG
ไกรลาส2.PNG
ไกรลาส3.PNG

ไกรลาส4.PNG


  1. หน้า 350 Genetic Memory ความทรงจำทางพันธุกรรม

เล่ม  5
  1. หน้า 30 ความยากของการปีนหน้าาระดับสูงสุดคือ 5.12

เล่ม 6
หน้า  312 พูดถึง เซี่ยจื้อ สัตว์วิเศษในเทพนิยายจีนชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายสิงโต มีเขาหนึ่งเขาบนหัว สามารถแยกแยะได้ว่าใครพูดจริงหรือเท็จ เป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ ยุติธรรม

เล่ม 10
หน้า  260  พูดถึงแก้วหลิวหลี
หน้า 265 พูดถึง ห้าสีเร้นลับ  เครื่องเคลือบสีลับ(secret colour porcelain) เครื่องเคลือบหยูแก่งราชวงศ์ซ่ง
หน้า 295 พูดถึงกำแพงข่งหมิง กุญแจหลู่ปัน

หน้า 33 บันไดลอยฟ้าของหลูปัน

1 comment:

victor phichaisrisawad said...

นับถือ นับถือ