Friday, February 04, 2011

โรงไฟฟ้าถ่านหิน... ไม่เอาค่ะ


ช่วงนี้มีข่าวคราวต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของคนในอำเภอท่าศาลา ตามข่าวจาก Facebook เรื่อยๆก็เห็นว่ามีการนัดชุมนุมกันที่หน้าอำเภอ วันที่ 22 และ 24 กุมภาพันธ์ เวลาขับรถจะเห็นหลายบ้านเขียนป้ายไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ติดอยู่หน้าบ้าน เขียนแบบง่ายๆไม่เน้นสวย แต่มีจำนวนมากใช้ได้ เห็นตั้งแต่แถบกลายไปถึงสระบัว คิดว่าชาวบ้านตื่นตัวกันมากใช้ได้ทีเดียว

ในม.วลัยลักษณ์ก็มีเวทีที่มีนักศึกษาเข้าร่วมเมื่อสองสามวันก่อน ไม่ได้เข้าร่วม แต่เห็นด้วยว่าไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแถวนี้

เนื่องจากแค่เห็นด้วยเฉยๆคงไม่พอก็เลยหาข้อมูลเพิ่มเติมจะได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ :)

1. ข้อมูลจากเว็บของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เขาก็ยอมรับมามีปัญหาและระบุวิธีแก้ไข แต่ปัญหามันก็คือปัญหาละนะ และมันก็อันตรายต่อคนทั่วไป
"ปัญหามลภาวะอากาศโรงไฟฟ้าแม่เมาะปี 2535

ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจองชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม เกิดความกดอากาศสูลจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย และสภาพอากาศปิด (inversion) ด้วย

การดำเนินการแก้ไขปัญหา

  • กำหนดจำนวนโรงไฟฟ้าที่พีงจะพัฒนาได้ในบริเวณลุ่มแม่เมาะ
  • กำหนดความสูงของปล่อง
  • กำหนดประสิทธิภาพและเทคโนโลยีของเครื่องดักฝุ่น
  • กำหนดให้ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเซอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 12 และ 13 (ชนิด wet Scrubber ประสิทธิภาพ 92%)
  • กำหนดเลือกใช้เตาเผาชนิด Low Nox Burner

นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครือข่ายสถานีอุตุนิยมวิทยา และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบริเวณลุ่มแม่เมาะ ปัจจุบันมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศชนิดต่อเนื่องตลอดเวลา 12 สถานี"


http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=2


ปัญหามลภาวะอากาศโรงไฟฟ้าแม่เมาะปี 2535

ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจองชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม เกิดความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย และสภาพอากาศปิด (inversion) ด้วย

การดำเนินการแก้ไขปัญหา
การดำเนินการแก้ปัญหา กฟผ. ได้กำหนดมาตรฐานการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ระยะ คือ

1. มาตรการระยะยาว
ในการดำเนินการแก้ปัญหาในระยะยาว ครม. ได้มีมติให้ กฟผ. ติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่่ 8-11 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง และโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 12-13 ซึ่งดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมกับตัวโรงไฟฟ้า ส่วนโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-3 เป็นเครื่องเก่าไม่เหมาะสมที่จะติดตั้ง จะเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศโปร่ง

2. มาตรการระยะสั้น
เนื่องจากการดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-11 ซึ่งแล้วเสร็จในต้นปี 2541 ดังนั้นในระหว่างช่วงฤดูหนาวปี 2536 - 2540 กฟผ. ได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาปัญหามิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน ดังนี้

  1. ลดกำลังผลิตในช่วงสภาวะอากาศไม่อำนวย (ระหว่าง 01:00-12:00 น.ในปี 2536-2537 และระหว่าง 06:00-13:00 น. ในปี 2537-2540) ลงเหลือประมาณ 700-1,000 MW
  2. กำหนดการหยุดซ่อมแซมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ตรงกับช่วงฤดูหนาว
  3. สำรองใช้ถ่านลิกไนต์เปอร์เซนต์ซัลเฟอร์ต่ำ (น้อยกว่า 2 เปอร์เซ๊นต์ซัลเฟอร์) ใช้ในช่วงสภาะอากาศไม่อำนวยในฤดูหนาวปี 2536-2540 และหาถ่านลิกไนต์ เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (1 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์) จากแหล่งภายนอก (บริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด, บริษัท บ้านปู จำกัด, บริษัท เหมืองเชียงม่วน จำกัด และ บริษัท ชัยธารินทร์ จำกัด) มาเสริมสำหรับฤดูหนาวปี 2537-2541
  4. ใช้น้ำมันดีเซลเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (0.5-0.6 เป็นเซ็นต์ซัลเฟอร์) เสริมในช่วงวิกฤติกรณที่พบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ณ สถานีใดสถานีหนึ่งกำลังสูงขึ้น
  5. ปรับปรุงกระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ Real time Air Qality Monitoring และเชื่อมดยงผลการตรวจวัด ให้สามารถอ่านค่าได้ที่ห้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (จำนวน 8 สถานี ก่อนพฤศจิกายน 2537 และเพิ่มเป็น 12 สถานี หล้ังพฤศจิกายน 2537)
  6. ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาคอมพิวเตอร์ ในขณะนี้มีสถานะตรวจวัดคุณภาพอากาศชนิดต่อเนื่อง 12 สภานี ส่วนระบบ Air Quality Warning System กำลังขอให้ AUSAID ดำเนินการ

ปัญหาและอุปสรรค

  1. การลดกำลังผลิตที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งในช่วง 06:00-13:00 น. ในฤดูหนาวปี 2537-2538 ลงต่ำถึง 700 เมกกะวัตต์ เพื่อรักษาระดับคุณภาพอากาศไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน มีผลกระทบต่อระบบการผลิดเพราะจำเป็นต้องผลิดไฟฟ้าจากแหล่งผลิดไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ๆ ในระบบ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้เพียงพอ
  2. มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศสำหรับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนเกิดเหตการณ์มลภาวะอากาศแม่เมาะปี 2535 ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานช่วงสั้น ๆ คือค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีแต่ค่าเฉลี่ย 1 วัน(300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และค่าเฉลี่ย 1 ปี (100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ต่อมากรมควบคุมมลพิษได้ให้ใช้ค่าเบื้องต้นเฉลี่ยน 1 ชั่วโมง 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สำหรับพืิ้นที่อำเภอแม่เมาะ ส่วนการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยกรมอนามัย (เริ่มทำการศึกษาวิจัยเดือนตุลาคม 2537) จะเป็นส่วนประกอบการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานในอนาคต
  3. ปริมาณถ่านคุณภาพดี ที่มีเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์เจือปนต่ำ ในบ่อเหมืองลิกไนต์แม่เมาะมีปริมาณน้อยและยากต่อการจัดการเพื่อนำมาใช้ในช่วงฤดูหนาว ขณะนี้ กฟผ. ได้ทำการแก้ไขโดยซื้อถ่านจากเหมืองเอกชนมาเสริมในฤดูหนาวปี 2537-2541 เป็นจำนวน 1,039,000 ตัน แต่มีขึดจำกัดที่การขนส่งโดยรถบรรทุกและถ่านจากเหมืองเอกชนมีค่าความแข็งสูง อาจจะมีปัญหากับเครื่องโม่และเครื่องบดได้
  4. ราษฏรที่ได้รับผลกระทบไม่เชื่อข้อมูลของทางราชการ เกี่ยวกับผลการพิสูจน์ความเสียหายเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่อพืชและสัตว์ ตลอดจนการวินิจฉัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยเนื่องมาจากสาเหตุของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชาวบ้านชุมนุมร้องเรียนในเดือนตุลาคม 2537 เพื่อให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เสร็จโดยเร็ว และให้ กฟผ. รักษาพยาบาลฟรีแก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโรคต่อเนื่องรวมทั้งจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายต่อพืชและสัตว์ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหารัฐบาลได้ตั้งคณะอนุกรรมการชดใช้ค่าเสียหายแ่ก่ราษฏรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีรองผู้ว่างราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยตัวแทนหน่วยราชการ ตัวแทนชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวิฒิ และ กฟผ. มีหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายแก่ราษฏรที่ได้รัีบผลกระทบ

การประสานงานและการดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ
กรมควบคุมมลพิษ กับ กฟผ.

  • กรมควบคุมมลพิษ ขอความช่วยเหลือทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมา US Environment Protection Agency (USEPA) และ US Department of Energy (USDOE) มาตรวจสอบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2535 โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก US Agency for International Developemnt (USAID) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สรุปว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะอากาศปิด ทำให้ควันจากปล่องไม่สามารถระบายสู่บรรยากาศชั้นบนได้ (Fumigation) พร้อมทั้งเห็นควรให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายไทยในเรื่องการตรวจสอบ audit เครื่องมือตรวจวัดการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศ และให้เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษและ กฟผ. ไปอบบรมที่ USEPA
  • การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่แม่เมาะ กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. ร่วมกับ USEPA และ Nation Oceanic Atmosheric Administration (NOAA) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก USAID และ กฟผ. ดำเนินการปรับปรุงและทดสอบแบบจำลองที่เหมาะสมกับพื้นที่แม่เมาะ โดยพิจารณากรณีการเกิด Fumigation ร่วมอยู่ในแบบจำลอง การศึกษาขึ้นต้นแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2537 และในปี 2538 กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. จะดำเนินการต่อเนื่องจาก USEPA/NOAA ในการ Validate แบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยมีงบประมาณสำรหับการดำเนินการจากกรมควลคุมมลพิษ 35 ล้านบาท และจาก กฟผ. อีกจำนวนหนึ่ง
  • การพิจารณาแนวทางเลือก ในการควบคุมการะบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-7 จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ "Development of System Wide Emission Control Strategies Application to Mae Moh Power Plants" โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2537
กรมอนามัย กับ กฟผ. และกรมควบคุมมลพิษ
  • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยความช่วยเหลือของ USEPA และวิทยาลัยสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือของ กฟผ. และกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำแผนและรายละเอียดผลกระทบของมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะต่อสุขภาพอนามัย โครงการมีระยะเวลา 5 ปี เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2537 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 31 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเงินสนับสนุนจาก กฟผ. 14.5 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก ส่วน 3 ปีหลัง กรมอนามัยจะตั้งงบประมาณดำเนินการเอง
กรมวิชาการเกษตร กับ กฟผ.
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีผลต่อพืชและสภาพดินและน้ำ และการใช้ประโยชน์ของยิปซัมและขึ้เถ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเพื่อการเกษตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2537 เป็นระยะเวลา 3 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 3.335 ล้านบาท โดยใน 2 ปีแกร กฟผ. สนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นเงิน 2.57 ล้านบาท ส่วนในปีสุดท้าย จะใช้งบของกรมวิชาการเกษตร

http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=3


ปัญหามลภาวะอากาศโรงไฟฟ้าแม่เมาะปี 2541

เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2541 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะทางอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีสาเหตุจากการที่เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขัดข้อง ต้องหยุดซ่อมฉุกเฉิน และประกอบกับเป็นช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนทำให้เกิดผลกระทบขึ้น กฟผ. ได้ดำเนินการดังนี้

  1. การตรวจสอบความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือ
    กฟผ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ อำเภอแม่เมาะ โรงพยาบาลแม่เมาะ สาธารณสุขอำเภอ เกษตรอำเภอ ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปช่วยเหลือราษฎรที่เจ็บป่วยจัดพาหนะ รับ-ส่ง ราษฎรที่เจ็บป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่เมาะรวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรของราษฎรเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
  2. การชดเชยค่าเสียหาย
    ได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างอำเภอแม่เมาะ ตัวแทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบและ กฟผ. เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย ให้แก่ราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบ จำนวน 1,225 ราย จาก 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ของอำเภอแม่เมาะ โดยจ่ายเป็นค่าชดเชยให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย จำนวน 868 ราย เป็นเงิน 2,683,921 บาท จ่ายเป็น ค่าชดเชยแก่ราษฎรที่พืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบจำนวน 1,211 ราย เป็นเงิน 28,886,247.50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,570,168.50 บาท
  3. การดำเนินการแก้ไขปัญหา
    คณะรัฐมนตรี และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญญา และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ ได้มีมติให้มีมาตรการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้
    1. ให้ กฟผ. ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณ ต้นปี 2543 นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-13 ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำเข้าใช้งานแล้ว ส่วนโรงไฟฟ้า เครื่องที่ 1-3 เป็นเครื่องเก่าไม่เหมาะสมที่จะติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ให้เดินเครื่องน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้เพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้าให้กับ 5 จังหวัด ภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน และลำปาง ให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-7 ซึ่งยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ผลิตไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตที่มีอยู่ 825 เมกะวัตต์ รวมทั้งควบคุมปริมาณการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-13 รวมกันแล้วไม่เกิน 15 ตันต่อชั่วโมง
    2. ให้มีถ่านลิกไนต์กำมะถันต่ำสำรองไว้ใช้ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะตลอดเวลา โดยใช้ถ่านซึ่งจัดซื้อจากเอกชน มีส่วนผสมของซัลเฟอร์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ และถ่านคุณภาพดีของเหมือง แม่เมาะซึ่งมีส่วนผสมของซัลเฟอร์น้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์
    3. ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีอยู่ให้เป็นระบบ REAL TIME AIR QUALITY MONITORING และเชื่อมโยงผลการตรวจวัดให้สามารถอ่านค่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ห้องศูนย์ควบคุมการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และโรงพยาบาลแม่เมาะ
    4. กรมควบคุมมลพิษจะสรุปค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่จุดวัดต่างๆ ส่งให้ราษฎรทราบโดยผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=4

การติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา เพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการฯ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ในปี 2533 กฟผ. ได้วางแผนให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 12-13 มีระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization System) แบบเปียก (Wet Limestone Process) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงประมาณ 92% โดยดำเนินการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ไปพร้อมกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2538 ขณะเดียวกันได้ศึกษาความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องอื่น ๆ ที่ได้เดินเครื่องจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว

ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดมลภาวะทางอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ สาเหตุเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิมและสภาพอากาศปิด (Inversion) ในช่วงฤดูหนาว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง กฟผ. ได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดผลกระทบของก๊าซซัลเฟอร์ฯ โดยลดกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าลงเมื่อตรวจพบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ เกินค่ามาตรฐานในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8-11 โดยเลือกระบบแบบเปียก (Wet Limestone Process) มี ประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สูงประมาณ 95% มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2539

นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ว่าจ้างบริษัท KBN Engineering and Applied Sclences, Inc. แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการศึกษาควบคุมสิ่งแวดล้อมทางอากาศในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และในขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษร่วมกับ กฟผ. โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก United States Agency for International Development (USAID) ได้ว่าจ้างบริษัท Sargent & Lundy Engineers จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ "Development of System Wide Emission Control Strategies Application to Mae Moh Power Plant" ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ค่ามาตรฐานของปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ ในคาบเฉลี่ย 1 ชั่วโมงที่เหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คือ 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และควรติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ แบบเปียก (Wet Limestone Process) สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7

ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ระบบแบบเปียกนี้จะใช้หินปูนเป็นวัตถุดิบ เพื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซซัลเฟอร์ฯ โดยใช้หินปูนจากบริเวณตอนใต้ของดอยผาตูบ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ ใกล้กับบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 มีความต้องการใช้หินปูนประมาณ 34 ตันต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ย 0.24 ล้านตันต่อปี รวมปริมาณความต้องการใช้หินปูนสำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-13 ประมาณ 127 ตันต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ย 0.89 ล้านตันต่อปี

งานติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ นี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,230 ล้านบาท หรือ 127 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เวลาในการดำเนินงานหลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐบาลประมาณ 40 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถเดินเครื่องระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 6-7 ได้ในเดือนมิถุนายน 2542 และสำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-5 ได้ในเดือนสิงหาคม 2542

ในกรณีที่ใช้ถ่านลิกไนต์ที่มีปริมาณกำมะถันเฉลี่ย 2.8% ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับ โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 สามารถกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ได้ประมาณปีละ 140,000 ตัน หรือ 2,268,000 ตัน ตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า ซึ่งช่วยบรรเทาและแก้ไขการเกิดมลภาวะทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ โดยสามารถควบคุมปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ ให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้


2. ข้อมูลจากเว็บของ Green Peace

"Hazardous emissions from Thai coal-fired power plants: Toxic and potentially toxic elements in fly ashes collected from the Mae Moh and Thai Petrochemical Industry coal-fired power plants in Thailand, 2002"

http://www.greenpeace.to/publications/Thai%20fly%20ash%20report%20FINAL.pdf


CONCLUSIONS
The production of power through the combustion of coal at the Mae Moh and TPI coal power plants in Thailand produces fly ash contaminated with a range of toxic and potentially toxic elements. Due to the very large quantities of coal burned and fly ash produced, each plant liberates many tonnes of these elements each year (see Table 5).

Particles emitted to the environment either directly with the flue gases, or as a result of inadequate fly ash storage, pose a threat to human and animal health. For the finest particles, the health impacts due to their very small size are combined with the tendency for these particles to contain the highest concentrations of toxic and potentially toxic elements.

Despite the use of efficient end-of-pipe pollution control devices such as electrostatic precipitators (ESPs) and ionizing wet scrubbers, appreciable quantities of potentially toxic
elements bound to fly ash particles and in gaseous form will be released to the atmosphere along with flue gases. The release of certain gaseous forms of arsenic and mercury tends to
be lower where ionizing wet scrubbers are employed. These reductions in atmospheric emissions are, however, reflected in higher concentrations in other wastestreams, including
fly ash and scrubber wastes. The elements contained in the fly ashes have the ability to leach from them, and thus enter
the environment where they can accumulate in sediments and soils. In addition, many of these elements have the potential to bioaccumulate.

The use of fly ash in cement production will not prevent the release of significant quantities of heavy metals and other toxic elements into the environment due to weathering and erosion over time. Mechanical operations on cement that has been produced using coal fly15 ash as a raw material may produce dusts containing respirable contaminated particles, as well as hastening elemental leaching through weathering processes.

Treatment processes to reduce the quantities of hazardous elements in the fly ashes will simply result in the production of additional contaminated wastestreams.

Ongoing use of coal combustion for power production will result in future releases of toxic and potentially toxic elements to the environment. This can only be avoided through the
cessation of coal combustion and the implementation of sustainable production technologies such as solar- and wind-power generation