Friday, July 27, 2007

สาละลังกา เขาว่าไม่เกี่ยวกับพุทธประวัติเลย จริงไหมนะ?

ตั้งแต่เด็กๆ จำได้จากหนังสือที่อ่านในชั้นเรียนว่าพระพุทธเจ้าประสูติใต้ต้นสาละ ที่สวนลุมพินี ไม่เพียงแค่นั้น ยังทรงก้าวเดินได้เองถึง 7 ก้าว และเมื่อถึงวาระที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานก็ได้เสด็จอยู่ใต้ต้นสาละคู่ที่พระราชอุทยานต้นสาละ ในเมืองกุสินารา เรียนแล้วก็แล้วกัน ไม่เคยเห็นกับเขาหรอกต้นสาละ อีกนานเลย จนเริ่มเข้าเรียนปีหนึ่งที่คณะวิทยาศาสตร์ ที่คณะมีต้นไม้ต้นหนึ่งหน้าตาประหลาดมาก ต้นใหญ่ใบเยอะ สูง ลำต้นตรงและแตกเป็นรอย แต่บริเวณกลางลำต้นจะมีกิ่งย้อยลง และมีดอกไม้หน้าตาประหลาด จะว่าสวยก็ได้ แปลกก็ได้ เป็นดอกสีชมพูใหญ่กลีบหนา เกสรกลางดอกดูคล้ายๆต้นกาบหอยแครงคือมีขนๆสีอมเหลือง บางกิ่งจะมีลูกห้อยมาด้วย ยิ่งแปลกหนักเพราะหน้าตาเหมือนลูกปืนใหญ่เป็นสีน้ำตาล พี่ๆที่มหาวิทยาลัยบอกว่าต้นนี้ชื่อ cannon ball แปลว่าลูกปืนใหญ่ (สมชื่อมาก) และอีกชื่อหนึ่งคือชื่อ "สาละลังกา" และพี่ๆก็สอนมาอีกว่า "อย่าไปเด็ดดอกไม้เลยเชียวนะน้อง ถ้าเด็ดดอกนี่สอบติด F แถมถ้าน้องเด็ดเจ้าลูกบอลนี่ถึงขั้นรีไทร์เลย" ทีแรกสาละต้นนี้ก็อยู่ที่หน้าดรงอาหารเก่า ( union ) หน้าตึกชมรมวิชาการ อยู่ใกล้ๆตึกแถบ ( สมัยนั้นตึกแถบเพิ่งสร้างเสร็จ) แต่หลายปีมานี้เขาย้ายต้นสาละต้นนั้นไปอยู่ที่ข้างตึก Photo (เทคโนโลยีการถ่ายภาพ) ตรงข้ามตึกจุลฯที่เป็นโรงอาหารในปัจจุบัน(ต้องเสริมอีกว่าสมัยที่เรียนตึกจุลฯเพิ่งถูกปรับปรุงเหมือนกัน ตอนเรียนปี 1 ยังทันได้เข้าชมรมทั้งหมายซึ่งไปสิงสถิตย์กันอยู่ที่ตึกจุลฯเป็นห้องๆ

สงสัยเหมือนกันว่าคนย้ายต้นสาละจะรีไทร์จากมหาวิทยาลัยรึเปล่า

หลังจากที่ได้เห็นต้นสาละลังกา ก็เชื่อมาโดยตลอดว่าต้นที่เห็นคือต้นสาละที่อ้างถึงในพุทธประวัติ เพราะไปตามวัดที่ไหนก็เจอ ต้นที่ประทับใจที่สุดคือที่สิงห์บุรี ไม่แน่ใจว่าที่วัดพระนอนจักรสีห์หรือเปล่า แต่ต้นสาละลังกาที่นั่นต้นใหญ่มาก แถมมีรูปปูนปั้นแสดงตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ทรงเดินและมีดอกบัวบานรองรับพระบาท 7 ดอก ครั้งนั้นเราไปเที่ยวกันเป็นครอบครัว คุณพ่อซื้อต้นเล็กๆที่เขาเพาะพันธ์ขายมา 2 ต้น รู้สึกจะไปปลูกที่วัดตโพทารามที่ระนอง

แต่พักหลังๆเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้น มีข้อมูลว่าต้นสาละลังกา กับสาละเฉยๆนี่เป็นคนละต้นกัน และต้นสาละในพุทธประวัติคือต้นสาละเฉยๆไม่ใช่สาละลังกา อืมม์ ก็เริ่มงงๆ แล้วจะเชื่อที่ไหนดี ในหนังสือก็ฟังดูมีเหตุผล แต่ในวัดต่างๆมีต้นสาละลังกามากมายหลายวัดจนไม่แน่ใจว่าแล้วคนเก่าคนแก่ พระท่านที่มีความรู้จะไม่ทราบหรือว่าต้นสาละลังกามันไม่ใช่

ไปอ่านวารสารราชบัณฑิตฉบับหนึ่งมีคำอธิบายเรื่องต้นสาละเฉยๆ สาละลังกา และต้นรัง มีภาพประกอบอธิบาย อ่านดูก็น่าเชื่อถือเพราะเป็นหนังสือของทางราชบัณฑิต

ด้านข้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช มีต้นสาละใหญ่ต้นหนึ่ง มีป้ายเขียนบอกว่าคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นำมาปลูก หน้าตามันไม่ใช่สาละลังกาจริงๆด้วย

แต่คนที่ไม่เชื่อก็มี บังเอิญเป็นคุณพ่อ ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดี แต่ต้องเชื่อข้อมูลละค่ะ มันเชิงประจักษ์นะคะ สาละลังกาไม่ใช่ต้นไม้ในพุทธประวัติค่ะ

Wednesday, May 23, 2007

รับน้อง..ประเพณีของปัญญาชนที่ไม่ยอมใช้ปัญญาที่มี

ที่นี่ก็มีการรับน้อง ปีนี้คิดว่าจะดำเนินไปด้วยปี กลับกลายเป็นว่ามีเหตุที่ไม่น่าจะเกิดเอาดื้อๆ เสียดายกับสิ่งที่ต้องเสียไปในเหตุการณ์นี้จริงๆ

21 พฤษภาคม ตอน 8 โมงเช้า ที่ที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ควรอยู่คือ ศาสนสถานตามศาสนาของตนเองซึ่งรุ่นพี่ได้เตรียมการไว้ไห้ไปทำศาสนกิจ ซึ่งจะเป็นสถานที่ในเมือง จะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองมาแสดงความยินดีกับนักศึกษาปีนี้ มีของจัดเตรียมไว้ให้ รถที่รอรับก็เตรียมพร้อม แต่นักศึกษายังรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณหน้าหอพัก!!!

เกิดอะไรขึ้น ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมหายไปไหน? อยากจะถามคำถามนี้เสียจริงๆ แต่ก็รู้ว่าจะไม่ได้คำตอบที่แสดงให้เห็นว่ามีสำนึกต่อความเสียหายที่ก่อไว้ แต่จะเป็นคำตัดพ้อต่อการกีดกั้นเสรีภาพในการรับน้อง

ทำไมปัญญาชนถึงไม่ยอมใช้ปัญญา หรือที่เราคิดว่าเขาเป็นปัญญาชนมันไม่ใช่?

ได้รับโทรศัพท์จากนักศึกษาคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคณะทำงานจัดกิจกรรมรับน้อง โทรมาถามว่ารู้สถานการณ์ที่นักศึกษาปี 1 ไม่ได้ไปศาสนกิจหรือเปล่า ตอบว่าไม่รู้ เพิ่งตื่นตอนได้รับโทรศัพท์นี่เอง เขาบอกว่ากำลังมีการประชุมกันที่อาคารบริหาร ก็บอกเขาว่าจะตามไป

ตอนที่เข้าไปในที่ประชุม มีกรรมการองค์การนักศึกษา เข้าประชุมร่วมกับส่วนกิจการนักศึกษา มีที่ปรึกษากลุ่มสัมพันธ์เข้าประชุมด้วย เขาคุยกันมาพักใหญ่แล้ว ได้ฟังข้อมูลว่านักศึกษาปีสองได้มีการประชุมกลุ่มสัมพันธ์กันเนื่องจากเมื่อคืนมีเรื่องที่นักศึกษาปี 1 ของกลุ่ม 10 ลงมาจากหอเพื่อขอให้พี่ๆช่วยซ้อมเชียร์ให้ พี่ๆบอกว่าน้องลงมาเองไม่ได้บังคับให้ลงมา ในขณะที่ทางส่วนกิจการนักศึกษาก็บอกว่างั้นก็ต้องให้ปี 2 บอกให้น้องปี 1กลับหอไปเพราะขัดกับกติกาที่ตกลงเรื่องกิจกรรมรับน้องไว้เพียง 2 ทุ่ม นอกจากเรื่องนี้ทราบว่านักศึกษาปี 2 ได้ข่าวว่าจะมีการยุบกลุ่มบางกลุ่ม (ซึ่งไม่เป็นจริงตามนั้น) และคงมีเรื่องอื่นๆประกอบอีก แต่ข้อสรุปคือนักศึกษาปี 2 ขอยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ข้อที่ 1 คือขยายเวลาการรับน้องจาก 2 ทุ่มเป็น 4 ทุ่ม ข้อที่ 2 คือการขอยกเลิกการใช้บัตรเหลืองและบัตรสีฟ้าที่จัดให้สำหรับนักศึกษาที่นำนันทนาการและดูแลกิจกรรมรับน้อง นักศึกษาขอให้อนุญาตให้นักศึกษารุ่นพี่คนอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยไม่มีข้อจำกัด และข้อที่ 3 ขอให้กิจกรรม Walk Rally สามารถดำเนินกิจกรรมได้เหมือนการรับน้องครั้งก่อนๆโดยไม่ต้องถูกจำกัดว่าจะดุหรือบังคับน้องไม่ได้เลยเหมือนที่กำลังถูกจำกัดในกติกาปีนี้

อธิการบดีไม่ได้เข้าประชุมเพราะติดภารกิจที่อื่น แต่รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (ผ.ศ. ดร. มารวย) ได้นำข้อตัดสินจากอธิการบดีมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ไม่ตกลงทุกข้อเสนอที่เรียกร้องมา และกิจกรรมรับน้องโดยเฉพาะวันนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมนำนักศึกษาไปร่วมศาสนกิจ ให้ประกาศแก่นักศึกษาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทุกคนให้ขึ้นรถภายใน 10 นาฬิกา ถ้าไม่ให้ความร่วมมือก็ถือว่าไม่ยุติกิจกรรม

หลังการประชุม ฉันไปที่บ้านกลุ่มสัมพันธ์ และพบว่านักศึกษาไปอยู่กันที่หน้าหอ 5 แบ่งกันเป็นบ้านๆเป็นระเบียบ นักศึกษาปี 1 อยู่ในชุดนักศึกษาเรียบร้อย ฉันลองถามดูว่าจะไปร่วมกิจกรรมหรือไม่ นักศึกษาปี 1ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่ไป" ฉันถามต่อว่าทราบเหตุผลหรือเปล่าว่าทำไมเราถึงควรจะไม่ไป นักศึกษาตอบว่า "ไม่ทราบ ไม่ไปเพราะพี่ไม่ให้ไป" คำพูดเหล่านี้เป็นคำที่ฉันได้ยินเองกับหู แล้วจะไม่ให้เสียใจกับการตัดสินใจที่ไม่ใช้ปัญญาแบบนี้ได้อย่างไร

นักศึกษาปี 2 เข้าใจหรือไม่ว่ากิจกรรมรับน้องจัดขึ้นเพื่ออะไร การที่ดำเนินกิจกรรมไปโดยไม่เคารพกติกาและไม่นึกถึงผลที่จะตามมา ถามว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้งชั้นปีไม่มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมศาสนกิจในปีนี้ เป็นปี 1 รุ่นแรกที่ขาดโอกาส โดยที่ตัวเองไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร

ค่าใช้จ่ายในการติดต่อรถเข้าเมือง 35 คัน แสน-สองแสนบาท ละลายไปเฉยๆโดยไม่มีอะไรกลับมา เสียเวลาคนขับรถแถมยังอาจจะโดนดูถูกซ้ำว่าวางแผนกันเป็นแค่นี้นะหรือ เช่ารถมารอเฉยๆ ไม่มีใครได้ใช้ประโยชน์ เงินภาษีของใครที่จ่ายไป

กิจกรรมลงชุมชนของวันรุ่งขึ้นต้องถูกระงับโดยปริยายเพราะไม่มีใครแน่ใจว่าพรุ่งนี้จะดำเนินการอย่างไร กิจกรรมดีอย่างนี้ ปี 1 ไม่มีโอกาสได้สัมผัสอีกแล้ว

ที่เสียหายมากที่สุดคือภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ที่ต้องไปขอโทษผู้ใหญ่ในเมืองทั้งภาคราชการที่เตรียมการเพื่อต้อนรับนักศึกษาปี 1 เข้าเมือง ท่านเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุที่ได้ขออนุญาตนำนักศึกษาไปแห่ผ้าขึ้นธาตุในวัด ทั้งๆที่ช่วงนี้ทางวัดเนืองแน่นไปด้วยคนจากทุกสารทิศเข้ามาจัดพิธีบวงสรวงจตุคามรามเทพ การที่นักศึกษาเข้าไปดำเนินศาสนกิจที่นั่น ทำให้วัดยิ่งแออัดเข้าไปใหญ่ แต่ทุกฝ่ายก็ยอม เพื่อให้กิจกรรมสำหรับปี 1 ได้มีความทรงจำที่งดงาม ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เสียหายไปจากความต้องการรับน้องแบบเก่าๆ ที่เคยเห็นมาโดยไม่คำนึงถึงว่าวิธีรับน้องที่ดีควรเป็นอย่างไร

มหาวิทยาลัยอื่นเปลี่ยนรูปแบบกันไปนานแล้ว ที่นี่ยังรับน้องแบบโบราณ แล้วยังคิดว่าตัวเองรับน้องในแบบสำหรับคนรุ่นใหม่ ฉันคุยในกลุ่มสัมพันธ์ว่าการรับน้องแบบที่เขาอยากทำมันเป็นสิ่งที่ผิดไปจากติกาที่เขาตกลงกันไว้ นักศึกษาถามกลับมาว่า ไม่คิดว่านักศึกษาปัจจุบันมีความแตกต่างจากสมัยก่อนหรือครับ อนาถใจจนพูดไม่ออก บอกเขาว่าการรับน้องมันก็ไม่ผิดแผกแตกต่างกันมากหรอกตั้งแต่สมัยก่อนมาถึงสมัยนี้ ในแก่นแท้มันไม่ต่าง พูดได้แค่นั่นเพราะเหนื่อยใจเกินจะอธิบายต่อว่า สิ่งที่ต่างคือกิจกรรมที่จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร มีความคิดมากก็มีกิจกรรมที่มีความหมาย งดงาม ความคิดน้อยๆก็มีแต่กิจกรรมใช้แรง มีแค่สันทนาการ แล้วบอกว่าเคยรับน้องกันมาอย่างนี้ พี่น้องรักกันดี กิจกรรมที่เขาทำอยู่ตอนนี้เป็นกิจกรรมที่เคยเห็นมาตั้งแต่ 10ปีก่อนที่ตัวฉันเองจะอยู่ปี 1 มาถึงรุ่นฉัน กิจกรรมเริ่มเปลี่ยนให้รุนแรงน้อยลง ใช้ความใส่ใจของพี่ๆน้องเข้ามา พี่น้องก็รักกันดีเหมือนกัน

ปีนี้มหาวิทยาลัยต่างๆมีกิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์มากมาย ม.ทักษิณได้รับรางวัลในการเสนอวิธีการรับน้องที่สร้างสรรค์โดยการนำน้องเข้าชุมชน ซึ่งของเราก็ทำ แต่รูปแบบอาจจะนำเสนอไม่ชัดเจนเท่า บางมหาวิทยาลัยจัดนักศึกษาไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ฯลฯ ที่นี่เป็นอะไร.... เสนอขอให้รับน้องจัดกิจกรรมสันทนาการนานขึ้น? มีอะไรที่แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อสังคมหรือชุมชนบ้างไหม?

กิจกรรมต่อจากนั้น ให้สำนักวิชาเข้ามาดูแลในช่วงบ่าย ทางสำนักวิชาต้องย้ายกิจกรรมที่เคยกำหนดไว้วันอื่นมาเป็นวันนี้ ก็เรียกตัวกันในทันที มาพบกับนักศึกษาปี 1

บ่ายสามโมงครึ่งวันเดียวกัน มีการประชุมที่ห้องประชุมศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาแนวทางจัดกิจกรรมรับน้องต่อ โดยจะให้ทางสำนักวิชาเข้ามารับดำเนินกิจกรรม มีแผรงานออกมาเรียบร้อย แต่มีแนวคิดเสนอมาว่าน่าจะให้โอกาสนักศึกษาปี 2 ให้แก้ตัวเพื่อปี 1 ทำกิจกรรมที่ดีเพื่อน้อง ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ทุกคน แต่ทุกคนก็บอกว่า จะลองก็ได้ ขอสรุปจึงให้ที่ปรึกษากลุ่มทุกกลุ่มเข้าไปคุยในกลุ่ม แล้วให้มารวมกลุ่มตอน 6 โมงครึ่งเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรต่อ

6โมงครึ่ง กลับไปประชุม กลุ่มที่ฉันไปคุยยังอยากจะรับน้อง แต่ทั้งนี้ก็คุยกันแล้วว่าการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ทุกกลุ่มต้องเห็นร่วมกัน กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไม่ทำ ทั้งหมดก็จะไม่ทำ ในการประชุมรวมที่อาคารกิจกรรม เราคุยกันหลายความคิด เพราะบางกลุ่มก็ไม่ตัดสินใจ ในที่สุดสรุปว่าให้นำประธานกลุ่มของทุกกลุ่มไปคุยกันที่สำนักงานส่วนกิจการนักศึกษา เพราะช่วงนั้นน้กศึกษาปี 1 จะต้องเข้าหอประชุมใหญ่เพื่อฟังคำชี้แจงเรื่องทุน (ประธานกลุ่มบางคนยังทำท่ารีรอว่าจะไม่ไปคุย เห็นได้ชัดว่าไม่ไว้ใจส่วนกิจการ ซึ่งก็เป็นลักษระเดยวกัยกับอีกฝ่าย) ในที่ประชุม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาได้ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วให้คุยแสดงความคิดเห็นกัน จนสุดท้ายยอมกันที่เวลา ให้ใช้เวลารับน้องจาก 3โมงครึ่งจนถึง 3 ทุ่ม แต่ข้ออื่นๆไม่ตกลง ในเวลาเดียวกันที่กำลังมีการประชุม ได้ข่าวว่านักศึกษาปี 1 (ยกเว้นนักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ซึ่งเป็นรุ่นแรกไม่มีรุ่นพี่ ยังคอยกันในห้องประชุม ซึ่งฉันถือว่าเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล และกล้าหาญ) ถูกพี่ๆเรียกตัวให้ลงจากห้องประชุมไปที่หน้าอาคาร ฉันไม่เห็นภาพนี้เพราะยังคงอยู่ในที่ประชุม
ในที่ประชุมมีอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นศิษย์เก่าจากที่นี่ด้วย ได้ให้ความเห็นสั้นๆแต่ได้รับความชื่นชมมากว่า ตัวอาจารย์ยึดถือเรื่องกติกามาตลอด ในการทำเรื่องใดๆ เราต้องเล่นตามกติกา ในเมื่อกติกานี้มาจากการตกลงร่วมกันแล้วทำไมจึงไม่นับถือกติกานั้น สิ่งที่ควรทำคือการบริหารจัดการให้ได้ตากติกานั้นต่างหาก (จุดนี้มีนักศึกษาแสดงความเห็นเช่นกันว่า กติกาควรมีความยืดหยุ่นถ้ามันทำให้การดำเนินการทำไม่ได้ดี เช่น ได้ใช้เวลาจนถึง 2 ทุ่มมาแล้ว รู้ว่าไม่พอจึงอยากขอเป็น 4 ทุ่ม)

หลังจากนั้นพี่ๆน้องๆก็เข้าบ้าน มีการรับขวัญกันพอควร อย่างเช่นในกลุ่มที่ฉันไปดูอยู่มีการทำขนมโคเลี้ยงน้อง และต้มข้าวต้มเลียงน้อง ซึ่งเกินเวลาแน่นอน นักศึกษาก็มาปรึกษา ก็เลยบอกว่าทำไปเถอะแต่พยายามควบคุมเวลา แล้วเราไปแจ้งส่วนกิจการนักศึกษาไว้ให้ทราบว่านักศึกาได้มาขออนุญาตไม่ได้ทำอะไรพละการเกินข้อตกลง

วันรุ่งขึ้นยกเว้นช่วงกิจกรรมลงชุมชน นอกนั้นก็เป็นไปตามกิจกรรมเดิมที่กำหนด แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัวคงต้องบอกว่าผิดหวังมากกับการจัดกิจกรรมรับน้องในปีนี้





Friday, May 18, 2007

การแปรอักษร

เดือนมกราคมปีหน้าจะมีการจัดกีฬา

อียิปต์....ดินแดนมหัศจรรย์

อาทิตย์ที่แล้วได้ทำตามความฝันอีกเรื่องคือ ได้ไปดูปิรามิดที่อียิปต์ เป็นความหวังมานานที่ไม่คิดว่าจะมีโอกาสเพราะหาโอกาสไปก็ยาก หาคนไปด้วยก็ยาก การไปอียิปต์ครั้งนี้ถือเป็นความสุขใจมากๆอย่างหนึ่งในชีวิต

ทริปนี้อยู่ในช่วงวันที่ 10- 14 พฤษภาคม 2550 ได้ค้างที่อียิปต์ 3 คืน แต่ได้เที่ยว 5 วัน เพราะใช้เวลาเดินทางช่วงกลางคืนเสีย 2 คืน

ได้เขียนโปสการ์ดให้แม่ทุกวันเหมือนเคย เดี๋ยวเอาข้อความในโปสการ์ดมาโพสต์จะดีกว่า เพราะเขียนสดๆช่วงเวลานั้น เดี๋ยวค่อยมา update นะ


ยังไม่ได้ update เรื่อง แต่ส่งรูปมาแปะไว้ก่อนดีกว่า



หน้าตาปิรามิดทั้ง 3 แห่งเมืองกิซ่า มุมที่ถ่ายรูปนี้เป็นจุดที่เขาจัดขึ้นสำหรับถ่ายรูปโดยเฉพาะ ต้องนั่งรถเข้าไปในทะเลทรายให้ห่างปิรามิดพอควร เพื่อจะได้เก็บภาพของหมู่ปิรามิดได้ครบถ้วน สวยงาม มีคนมาเที่ยวชมมากทีเดียว จุดนี้จะมีแผงแบกะดิน ขายของที่ระลึกด้วย



ปิรามิดขั้นบันไดที่ฟาโรห์โซเชอร์เป็นผู้สร้าง เป็นปิรามิดยุคแรกก่อนจะปรับเปลี่ยนเป็นปิรามิดทรงเรียบที่คุ้นกัน ปิรามิดนี้อยู่ที่เมืองซัคคารา ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์


ต้นกกที่เห็นนี้คือ ปาปิรัส ที่เลื่องชื่อของอียิปต์ (ได้ยินคนอียิปต์ออกเสียงว่า "ปาไป๊หรุส") เราไปที่ National Papyrus Institute เขาสาธิตวิธีทำกระดาษให้ดูดูแล้วก็ไม่เห็นจะยาก ต้นกกนี่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของอียิปต์ล่างด้วย ถ้าตัดก้านกกในแนวขวางขะเห็นเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด



ตอนเช้าตื่นนอนขึ้นมาริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มองไปที่ปราสาทเก่าฝั่งตรงข้ามซึ่งกลายสภาพเป็นโรงแรมคาสิโนและเป็นร้านอาหารหรูที่เราไปกินมื่อเย็นกันมาด้วย อิ อิ ขนาดเล็กนี๊ดเดียวจริงๆ



รูปนี้ถ่ายระหว่างทางจากอเล็กซานเดรียตอนกลับไปไคไร คนขับรถขึ้นไปจอดกล้าหาญมาก นับถือจริงๆ

Tuesday, May 01, 2007

Reith Lectures ผลงานของ BBC ที่แสนจะมีประโยชน์กับคนทั้งโลก

วันหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้ลองค้นเว็บไซต์ของ BBC4 ตั้งใจจะหาไฟล์เสียงมาฝึกฟังภาษาอังกฤษ ตามลิงก์ไปเรื่อยๆอย่างเพลิดเพลินเจริญใจแล้วก็มาเจอเว็บนี้ค่ะ http://www.bbc.co.uk/radio4/reith/reith_history.shtml ซึ่งเป็นรายการของ BBC ที่จัดการบรรยายออกอากาศ โดยเชิญบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความคิด มีชื่อเสียง ให้มาบรรยายในสถานที่ต่างๆ 5 ครั้งใน 1 ปี (ไฮโซมาก เช่น บรรยายครั้งแรกในอังกฤษ บรรยายครั้งที่สองในจีน ครั้งต่อไปไปที่อเมริกา เป็นต้น) เมื่อบรรยายเสร็จแต่ละครั้งก็จะมีคนถามคำถาม ซึ่งคนถามบางคนก็ระดับเทพ

ทีแรกลองเลือกเนื้อหาการบรรยายของปี 2006 พบว่าน่าสนใจมากเพราะเป็นการบรรยายชนิดที่มีบทพูดอยู่ในเว็บด้วย เราสามารถฟังการบรรยายพร้อมๆกับอ่านเนื้อหาที่เขาพูดได้ทัน รู้สึกว่าชีวิตไม่รันทดจนเกินไป ก็เลยลองค้นดูประวัติของรายการนี้ ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีก


ข้อมูล: ขอยืมแปะไว้ก่อน เดี๋ยวจะมาเรียบเรียงค่ะ

The History of the Reith Lectures The Reith Lectures were inaugurated in 1948 by the BBC to mark the historic contribution made to public service broadcasting by Sir John (later Lord) Reith, the corporation's first director-general.


John Reith maintained that broadcasting should be a public service which enriches the intellectual and cultural life of the nation. It is in this spirit that the BBC each year invites a leading figure to deliver a series of lectures on radio. The aim is to advance public understanding and debate about significant issues of contemporary interest.
The very first Reith lecturer was the philosopher, Bertrand Russell who spoke on "Authority and the Individual". Among his successors were Arnold Toynbee (The World and the West, 1952), Robert Oppenheimer (Science and the Common Understanding, 1953) and J.K. Galbraith (The New Industrial State, 1966). More recently, the Reith lectures have been delivered by the Chief Rabbi, Dr Jonathan Sacks (The Persistence of Faith, 1990) and Dr Steve Jones (The Language of the Genes, 1991).
Other lecturers were Jean Aitchison (The Language Web, 1996), Patricia J. Williams (Race and Race Relations, 1997) John Keegan (War and Our World, 1998) Anthony Giddens (Runaway World, 1999). In 2000, five lecturers, Chris Patten, Tom Lovejoy, John Browne, Gro Harlem Brundtland and Vandana Shiva, spoke on Respect for the Earth, and then took part in a seminar hosted by the Prince of Wales. Tom Kirkwood examined The End Of Age in 2001 and Onora O'Neill lectured on A Question of Trust in 2002. Last Year, the neuroscientist V.S. Ramachandran dealt with The Emerging Mind.
Chronological List of Reith Lecturers

1948 Bertrand Russell Authority And The Individual
1949 Robert Birley Britain in Europe
1950 John Zachary Young Doubt and Certainty in Science
1951 Lord Radcliffe Power and The State
1952 Arnold Toynbee The World and The West
1953 Robert Oppenheimer Science and The Common Understanding
1954 Sir Oliver Franks Britain and Tide of World Affairs
1955 Nikolaus Pevsner The Englishness of English Art
1956 Sir Edward Appleton Science and The Nation
1957 George Kennan Russia, The Atom and The West
1958 Bernard Lovell The Individual and The Universe
1958 Peter Medawar The Future of Man
1960 Edgar Wind Art and Anarchy
1961 Margery Perham The Colonial Reckoning
1962 Prof. George Carstairs This Island Now
1963 Dr Albert Sloman A University in The Making
1964 Sir Leon Bagrit The Age of Automation
1965 Robert Gardiner A World of Peoples
1966 J K Galbraith The New Industrial State
1967 Edmund Leach A Runaway World
1968 Lester Pearson Peace In The Family of Man
1969 Dr Frank Frazer Darling Wilderness and Plenty
1970 Dr Donald Schon Change and Industrial Society
1971 Richard Hoggart Only Connect
1972Andrew Schonfield Europe: Journey To An Unknown Destination
1973Prof. Alistair Buchan Change Without War
1974Prof. Ralf Dahrendorf The New Liberty
1975Dr Daniel Boorstin America and The World Experience
1976Dr Colin Blakemore Mechanics of the Mind
1977Prof. A H Halsey Change In British Society
1978Rev. Dr E. Norman Christianity and the World
1979Prof. Ali Mazrui The African Condition
1980Ian Kennedy Unmasking Medicine
1981Prof. Laurence Martin The Two Edged Sword
1982Prof. Denis Donoghue The Arts Without Mystery
1983Sir Douglas Wass Government and the Governed
1984Prof. John Searle Minds, Brains and Science
1985David Henderson Innocence and Design
1986Lord McCluskey Law, Justice and Democracy
1987Prof. Alexander Goehr The Survival of The Symphony
1988Prof. Geoffrey Hosking The Rediscovery of Politics
1989Jacques Darras Beyond The Tunnel of History
1990Rabbi Dr Jonathan Sacks The Persistence of Faith
1991Dr Steve Jones The Language of the Genes
1992None None
1993Edward Said Representation of the Intellectual
1994Marina Warner Managing Monsters
1995Sir Richard Rogers Sustainable City
1996Jean Aitchison The Language Web
1997 Patricia Williams The Genealogy of Race
1998 John Keegan War In Our World
1999 Anthony Giddens Runaway World
2000Chris Patten, Sir John Brown, Thomas Lovejoy, Gro Harlem Brundtland, Vandana Shiva, HRH Prince of Wales Respect For The Earth
2001 Prof Tom Kirkwood The End Of Age
2002 Prof Onora O'Neill A Question of Trust
2003 V.S. Ramachandran The Emerging Mind
2004 Wole Soyinka Climate of Fear
2005 Lord Broers The Triumph of Technology
2006 Daniel Barenboim In the Beginning Was Sound

Sunday, April 29, 2007

"The Phantom of the opera" in Singapore

ต้องแอบสารภาพว่าแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้อยากร่วมทริปไปสิงคโปร์กับทีม PBL คือได้ข่าวว่าจะมีละครมาเล่นที่สิงคโปร์ ตัวเองไม่เคยได้มีโอกาสดูละครเลยทั้งๆที่เคยโฉบไปลอนดอน เคยไปเดินโต๋เต๋แถวบรอดเวย์ ฟังเพลงของ Sarah Brightman และ Highlights จากละครเรื่องนี้จนแทบจะร้องเพลงได้หมด เพราะฉะนั้นเที่ยวนี้ ไม่มาไม่ได้แล้ว

ละครเพลงเรื่องนี้มาเล่นที่สิงคโปร์ช่วงวันที่ 23 มี.ค. - 20 พ.ค. 2007 มีรอบบ่าย 2 และรอบ 2 ทุ่ม เล่นที่ The Esplanade เราได้ตั๋วรอบ 2 ทุ่มคืนวันที่ 18 เมษายน จำเป็นต้องเป็นรอบนี้เพราะเราไปดูกัน 6 คน มี 3 คนที่ต้องกลับตามกำหนดการปกติ เราได้ตั๋วราคา 95 เหรียญสิงคโปร์ (คูณด้วย 23.25 บาท) ที่นั่งเป็น Circle 3 ซึ่งอยู่ชั้นบนมากๆ สูงชนิดถ้าตกลงมาจากที่นั่งมีสิทธิคอหักตายเอาง่ายๆ เห็นคนแสดงตัวนิดเดียว มิน่าเขาถึงต้องใช้ binacular เวลาดูการแสดง แต่ของเรามีพี่เขาเอา binoc ขนิดส่องนกไปด้วย เห็นหน้าตัวละครชัดมาก


การแสดงนี้อลังการงานสร้างจริงๆ ต้องยอมรับว่าไม่เคยได้ดูอะไรประทับใจขนาดนี้ การจัดฉาก เต็มสิบ เครื่องแต่งกายเต็มสิบ การร้องเพลงเต็มสิบ สรุปว่ารวมทุกอย่าง Perfect Ten!

หน้าโรงมีการขายของที่ระลึกเช่น CD เสื้อ หนังสือ (หนังสือเล่มละ 25 เหรียญ แต่เนื่องจากเคยซื้อเล่มเก่ามาได้ในราคาแค่ 4 เหรียญAustralia ก็เลยตัดใจซื้อไม่ลง) ของทุกอย่างแพงสำหรับคนไทย ก็เลยไม่ได้อะไรกลับมาเลย

เรื่องมันยาว ไว้ค่อยกลับมา update บรรยากาศการเข้าชมอีกทีดีกว่านะ

ข้อมูล:
The Phantom of the Opera

ละครเพลงเรื่องนี้เริ่มเปิดการแสดงที่ Her Majesty's Theatre เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมปี1986โดยมีผู้แสดงนำคือ Michael Crawford และ Sarah Brightman

ประมาณกันว่ามีคนมากกว่า 80 ล้านคนได้เคยชมการแสดงและมียอดขายบัตรเกือบจะถึง 32 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการแสดงที่ได้รับรางวัล Laurence Olivier and Evening Standard Award for Best Musical และอีก 7 รางวัล Tony Awards.

ละครเรื่องนี้เปิดการแสดงหลายแห่งนอกเหนือจากที่ West End ในประเทศอังกฤษ ก็มีการแสดงที่ New York, Sao Paulo, Essen, Tokyo และ Budapest และในเดือนมิถุนายนปีนี้ จะมีการเตรียมการแสดงมูลค่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐที่ Venetian, Las Vegas

The Phantom of the Opera ฉบับภาพยนต์กำกับโดย Joel Schumacher นำออกฉายปลายปี 2004 โดยมี Gerard Butler แสดงเป็น The Phantom, Emmy Rossum แสดงเป็น Christine, Patrick Wilson แสดงเป็น Raoul และ Minnie Driver แสดงเป็น Carlotta


The Phantom ได้เปิดการแสดงมากกว่า 65,000 รอบใน 20 ประเทศ ใน 11 เมืองรอบโลก ให้แก่คนมากกว่า 80 ล้านคน

ได้มีการฉลองการแสดงรอบที่ 7000 ที่ The Majestic Theatre ในเมือง New York เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2004 และฉลองการแสดงครบรอบ 20 ปีที่ the West End


It has won over 50 major theatre awards including 3 Olivier Awards, the most recent being the 2002 Oliver Audience Award for Most Popular Show, an Evening Standard Award, 7 Tony Awards including Best Musical, 7 Drama Desk Awards and 3 Outer Critic Circle Awards.
The original cast recording was the first in British musical history to enter the charts at number one. Since then it has gone gold and platinum in the UK and US, selling over 40 million copies worldwide. It is the biggest selling cast album of all time.
The New York production became the longest running show ever on Broadway when it overtook CATS with its 7,486th performance on January 6th 2006.
The dazzling replica of the Paris Opera House chandelier is made up of 6,000 beads consisting of 35 beads to each string. It is 3 metres wide and weighs one ton. The touring version falls at 2.5 metres per second. The original version was built by 5 people in 4 weeks.
The Phantom's make-up takes 2 hours to put on and 30 minutes to take off. The face is moisturized, closely shaved and the prosthetics are fitted, setting immediately, before 2 wigs, 2 radio mics and 2 contact lenses (one white and one clouded) are placed.
2,230 metres of fabric are used for the drapes, 900 of them specially dyed. The tasselled fringes measure 226 metres. They are made up of 250 kilos of dyed wool interwoven with 5,000 wooden beads imported from India. Each one is handmade and combed through with an Afro comb.
There are 130 cast, crew and orchestra members directly involved in each performance.
Each performance has 230 costumes, 14 dressers, 120 automated cues, 22 scene changes, 281 candles and uses 250 kg of dry ice and 10 fog and smoke machines.
The touring production takes 27 articulated lorries to transfer the set between theatres

Wednesday, April 25, 2007

ดูงาน PBL ที่สิงคโปร์

ที่มหาวิทยาลัยมีการจัดไปดูงานที่สิงคโปร์ช่วงวันที่ 18-20 เมษายน 2550 สำหรับทีมทำงานและตัวแทนจากสำนักวิชา ทีแรกก็เฉยๆเพราะไปสิงคโปร์ก็ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นอีกแล้ว แต่พอคิดว่าถ้าสำนักจะทำ PBL ยังไงก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเป็นคนทำด้วยคนหนึ่ง แล้วก็ได้ฟังรายชื่อผู้ร่วมทริป แถมได้ข่าวว่ามีละคร The Phantom of the opera มาเล่นที่สิงคโปร์ รู้สึกว่าน่าสนใจขึ้นมาทันที

ในที่สุดก็หาทีมได้รวมทั้งหมด 4 คน ที่จะร่วมชะตากรรมกันต่อว่าเมื่อเสร็จสิ้นการดูงานเราจะอยู่ต่ออีก 2 วัน เสาร์ อาทิตย์ เพื่อจะเที่ยว Jurong Bird Park กับ Botanic Garden และเราก็หาสมาชิกที่ไปดู The Phantom ด้วยกันได้ทั้งหมด 6 คน รอบ 2ทุ่ม วันที่ 18 เมษายน

แพลนกันเสร็จสรรพล่วงหน้าเพื่อจะพบว่า passport หมดอายุ ก็ต้องรีบไปทำใหม่ในทันที ไปทำ passport วันที่ 2 เมษายน โชคดีมากที่เขาเพิ่งเปิดที่ทำหนังสือเดินทางจุดใหม่ที่ศาลาประชาคมสุราษฎร์ ออกจากนครตั้งแต่เช้า ถึงสุราษฎร์ 7 โมงกว่า เข้าไปรอเป็นคิวที่ 2 พอเขาเปิดให้ทำปุ๊บก็ได้ทำเลย เดี๋ยวนี้ทำง่ายมากต้องการแค่บัตรประจำตัวประชาชนอย่างเดียว และก็นิ้วมือด้วยเพราะเขาใช้สแกนลายนิ้วมือเอา ใช้เวลาทำแค่ 15 นาทีก็ออกมาได้ ให้เขาส่ง passport ไปที่ทำงาน จะใช้เวลาประมาณ 7 วัน จริงๆด้วย เพราะได้รับวันที่ 9 เมษายน พอดี ต้องโน้ตไว้ด้วยว่าน้องๆที่ให้บริการส่วนใหญ่เป็นหญิงสาวรุ่นใหม่ น่ารัก พูดเพราะ มนุษย์สัมพันธ์ดีมาก ดีใจที่หน่วยงานราชการมีพนักงานดีๆแบบนี้

ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยด้วยรถตู้ตั้งแต่ 4โมงครึ่ง ไปถึงสนามบินหาดใหญ่ ประมาณ 2 ทุ่ม เราเดินทางกับ Tiger airline เที่ยวบิน TR139 ไปถึงสิงคโปร์ประมาณ เที่ยงคืน(เวลาที่สิงคโปร์เร็วกว่าเมืองไทย 1 ชั่วโมง) เข้าพักที่โรงแรม RELC International Hotel


สมาชิกที่ดูงานทั้งหมด 29 คน เขาจัดให้ไป 4 ที่ วันแรก(วันที่18) ไปที่ NUS(National University of Singapore) ไป Medical school ของเขามีการใช้ PBLในการเรียนประมาณ 20% ตอนบ่ายไปที่ Republic Polytechnic แต่ไปพบกับทีมงานของ Republic of Singapore Air force วันที่ 2 ไปชม Temasek Polytechnic ที่นี่จัดสถานที่สวยมาก สวยกว่าทุกแห่งที่ได้ไป การต้อนรับก็เยี่ยมมาก เป็นมืออาชีพทุกคน ตอนบ่ายเขาปล่อยให้ว่าง ก็ได้ไปเที่ยวแทน วันที่ 3 ไป Republic polytechnic ที่นี่ประทับใจกับห้องสมุดที่ใช้แนวคิดว่า ห้องสมุดจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องเงียบ แต่เป็น "living room with the book shelves" เห็นแล้วอึ้งไปเลย ได้เข้าไปดูการเรียนการสอนในห้องจริงๆด้วย ถึงได้รู้ว่าเขาทำได้จริง มีประสิทธิภาพเสียด้วย

ข้อที่น่าสังเกตจากการไปดูงานคือว่า PBL เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้จริงและมีการใช้งานอยู่อย่างมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน น่าที่จะนำมาใช้ให้มากขึ้น แต่ก็เห็นได้ชัดว่าการนำมาใช้ต้องมีสิ่งสนับสนุนมาก สิงคโปร์เหมือนลูกคนรวย ทำอะไรเงินไม่เป็นปัญหา เด็กทุกคนใช้ notebook เด็กไทยจะมีกันขนาดนั้นหรือเปล่า อีกอย่างคือความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ ประทับใจความเป็น teamwork ของแต่ละคนที่ทำงาน ในที่ประชุม เขาสามารถส่งลูกกันไปมาได้โดยแต่ละคนรับลูกกันได้ แสดงว่าเขาทำจริง และรู้จริง ออกจะอิจฉานิดๆ

เขาให้จับกลุ่มทำรายงานสำหรับแต่ละแห่ง เนื่องจากวันที่เขาประชุมเตรียมงาน ไม่ได้ไปเข้าประชุม ชื่อก็เลยปรากฏหราว่าเขาสั่งมาให้เป็น chair ของกลุ่มที่ทำรายงานของ Temasek Polytechnic ดีว่าสมาชิกกลุ่มเป็นประเภทมือโปรกันทั้งนั้น ....:-)

คืนวันที่ 20 ประชาชนร่วมทริปก็กลับเมืองไทยกันตามกำหนดการ เหลืออยู่ 4 หน่อที่อยากเที่ยวต่อ....เรื่องราวเอาไว้เป็นอีกหัวข้อนึงก็แล้วกันนะ

Monday, March 19, 2007

รูปเหรียญจตุคามบนรูป


เมื่อวานนี้ตอนสี่ทุ่มเศษ พี่ๆชาวเบญจมที่มาช่วยในงานศพแม่ถ่ายรูปกัน ข่าวว่ามีพี่คนหนึ่งอธิษฐานจิตเวลาถ่ายรูป หลังจากถ่ายรูปมา ปรากฎว่าเห็นรูปเหรียญบนรูปถ่ายกันถ้วนทั่ว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่ออีกแล้ว.....
ถ่ายรูปวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2550 เวลา 22:23 น. ในเขตวัดหน้าพระบรมธาตุ (ในงานศพแม่)

แล้วก็ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายรูป และเห็นรูปแบบนี้ที่เขาถ่ายได้ในต่างประเทศอีกหลายรูป ต่างประเทศคงไม่มีจตุคาม ^_^  สรุปว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่เกิดจากสภาพในการถ่ายภาพนั่นเองค่ะ


Wednesday, February 21, 2007

งานศพขุนพันธ์

ตั้งแต่ขุนพันธ์ถึงแก่กรรมไปเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หลังจากจัดงานศพแล้ว ร่างท่านถูกเก็บไว้ที่ชั้นสอง ของศาลาร้อยปีในบริเวณวัดมหาธาตุฯ งานเผาศพขุนพันธ์จะเป็นพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯจะเสด็จมาด้วยพระองค์เองในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 คาดว่าจะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากอีกงานของนครศรีธรรมราช มีทั้งผู้เคารพนับถือท่านในฐานะตำรวจคนตรงผู้เก่งกล้า และในฐานะอาจารย์ผู้ชำนาญเวทย์ ข่าวบอกมาว่าจะมีการแจกเหรียญพระในงานศพจำนวน 50,000 เหรียญ ตั้งแต่ท่านสิ้น เหรียญในพิธีใดๆที่มีท่านเกี่ยวข้องดูจะขยับมีราคาขึ้นมาทันที คนคงจะมางานกันมืดฟ้ามัวดิน ช่วงนี้ที่ลานหน้าศาลาร้อยปีจึงมีการจัดเมรุอย่างยิ่งใหญ่ เห็นเริ่มจัดมาหลายวันแล้ว แต่คืนนี้เพิ่งมีการเปิดไฟที่เมรุ ดูจากข้างนอกสวยงามมาก


มีคนมากราบศพกันมากมาย และคงมากันต่อเนื่อง เพราะตอนที่เข้าไปในบริเวณเป็นเวลาสามทุ่มเศษแล้ว ก็ยังมีคนอยู่กันมากพอควร ทีมจัดดอกไม้กำลังลงมือจัดดอกไม้สด เป็นหรีดใบไม้กับดอกไม้สีขาว บริเวณฐานเมรุเป็นภาพวาดในเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ ดูสวยและอลังการสมศักดิ์ศรีขุนพันธ์


การบำเพ็ญกุศลจะมีทั้งหมด 3 วันมีกำหนดการติดไว้ที่หน้าประตูศาลาร้อยปี

ในบริเวณลานพิธีมีวงปี่พาทย์มาแสดงในงาน


บนชั้นสองของศาลาร้อยปีมีคนไปไหว้ศพและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันมากเช่นกัน




พวงหรีดพระราชทานจากเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ถูกจัดไว้เคียงกับโลงศพขุนพันธ์


มองลงมาจากศาลาร้อยปี บริเวณลานพิธีช่วงสามทุ่มเศษ จะมีสภาพแบบนี้ มีตำรวจมาประจำเต็มไปหมดทั้งในบริเวณและนอกวัด



คืนนี้ได้ไปดูความคืบหน้าของงานเพียงเท่านี้ จำเป็นต้องไปก่อนเพราะคาดว่าในวันจริงคงไม่มีปัญญาฝ่าคลื่นมหาชนที่มาในงานของขุนพันธ์ คงจะได้ทำบุญให้ท่านในโอกาสต่อๆไป


คืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ออกจากบ้านราวๆ 4 ทุ่มครึ่ง กะว่ารอให้คนซาลงซักนิดจะได้ไปไหว้ศพได้ ไปถึงแยกประตูชัยก็ถูกกั้นให้ไปทางถนนหลังพระธาตุ คนยังมากอยู่ถึงแม้จะเห็นคนทยอยกลับกันหนาตา ไปทำธุระกลับมาอีกครั้งประมาณ 5 ทุ่มครึ่ง ขับรถมาจากทางศาลากลาง ถูกกั้นรถให้หลบไปทางซอยพานยม คนยังแน่นและมีคนรุมตำรวจกันพอควร ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น ก็เลยกลับบ้าน มาดูข่าวทีหลังปรากฏว่าคนที่ไปยังคอยกันเพราะยังไม่ได้รับแจกเหรียญที่ระลึก มีคนไม่พอใจกันมากเพราะต่างคนก็หวังกันว่าจะได้เหรียญกลับไป ได้ข่าวว่ามีการแจกเหรียญกันตอนตีสี่ และเหรียญหมดไปแล้ว


Monday, February 19, 2007

วัดท้าวโคตร.....ในความทรงจำของพ่อ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิตรกรรมบนแผ่นไม้คอสอง
http://kaekae.oas.psu.ac.th/rlej/include/getdoc.php?id=1106&article=384&mode=pdf

วัดท้าวโคตรเป็นวัดที่อยู่คู่นครศรีธรรมราชมานาน สมัยที่ฉันเริ่มมาอยู่ที่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้เห็นความพิเศษใดๆนอกจากเป็นวัดเก่าแห่งหนึ่ง มีตลาดตอนบ่ายที่มีของขายเยอะ มีขนมแบบเดิมๆให้เลือกซื้อหา ฉันมาสนใจวัดท้าวโคตรเพราะพ่อบอกว่าสมัยพ่อเด็กๆต้องมาเรียนหนังสือที่นครและได้พักที่วัดท้าวโคตรนี่เอง ความทรงจำของพ่อจึงเป็นภาพของวัดท้าวโคตรเมื่อ 70 ปีก่อน ตอนนั้นพ่อเข้ามาเรียนชั้น ม.1 - ม.3(แบบเก่า) ที่โรงเรียนวัดบูรณและโรงเรียนประจำจังหวัดชาย
พ่อบอกว่าโบสถ์หลังเก่าเป็นโบสถ์ทีพ่อคุ้นเคย ปัจจุบันข้างในมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ซึ่งเป็นของมีมาแต่เดิม มีตู้เก็บของวางอยู่ทางซ้ายขององค์พระซึ่งพ่อบอกว่าแต่เดิมเป็นตู้หนังสือพระ ตัวโบสถ์ยังเหมือนเดิม แต่หลังคาคงบูรณะใหม่ ของเดิมเป็นหลังคาสีดำๆ ฉันพยายามถามว่าเมื่อก่อนจะเดินขึ้นโบสถ์อย่างไรเพราะจะเห็นว่าโบสถ์ตั้งอยู่บนเนิน พ่อบอกว่าจำไม่ได้ แต่ไม่รู้สึกว่าต้องขึ้นบันไดเหมือนปัจจุบัน อาจจะเป็นเนินลาดขึ้นเฉยๆ ในความทรงจำของพ่อโบสถ์อยู่ไกลจากถนนมาก เทียบกับปัจจุบันที่อยู่ชิดถนน ก็ต้องเดาว่าเดิมถนนมีขนาดเล็ก และตัวถนนอาจจะอยู่ชิดไปอีกด้านหนึ่งไม่ได้ชิดด้านวัดขนาดนี้




ภายในโบสถ์หลังเก่า พระพุทธรูปปูนปั้น หลังชิดขอบผนัง มีค้างคาวมาอยู่บนเพดานเต็มไปหมด
กุฏิหลังที่พ่อเคยอยู่ ตอนนี้เป็นกุฏิเจ้าอาวาสที่ก่อสร้างใหม่แล้ว ของเดิมจะเป็นคล้ายกับกุฏิข้างๆคือเป็นไม้ มีบันไดปูน หลังที่ยังเหลืออยู่สภาพทรุดโทรมมากแล้ว พ่อบอกว่าหอฉันยังอยู่ที่เดิม

กุฏิเจ้าอาวาสปัจจุบัน



กุฏิเดิมที่ยังไม่เปลี่ยนสภาพ แต่ทรุดโทรมมากแล้ว



ต้นมะขามข้างโบสถ์ยังเป็นต้นเก่าแต่เดิม สมัยพ่ออยู่ก็ต้นใหญ่อย่างนี้อยู่แล้ว พ่อยังมีแผลเป็นที่บนคิ้วขวาเป็นรอยที่เคยเล่นโยนขวดแก้วเล็กๆกับเพื่อแล้วหล่นมาโดนคิ้วแตก


โบสถ์หลังใหม่ อยู่ด้านหลังโบสถ์เดิม ต้นมะขามที่คุณพ่อเคยมาเล่นก็ยังอยู่ดี

บริเวณที่ปัจจุบันเป็นโรงเรียนชุบธรรม เดิมเคยมีต้นบุนนาคใหญ่ ตอนนี้ไม่มีร่อยรอย แต่ต้นมะพร้าวแถวนั้นยังเป็นของเดิม พ่อบอกว่าหน้าวัดกับข้างวัดมีต้นมะพร้าวและมีรั้วลวดหนามล้อมอาณาเขตวัด พ่อจำได้ถึงขนาดว่าสมัยก่อนเคยมีคนที่อยู่ข้างวัดที่รุกที่วัดเสียเฉยๆ

ตลาดท้าวโคตรที่คึกคักในปัจจุบัน แต่เดิมก็ไม่มี แถบนี้จะเป็นกุฏิ เป็นฐานพระ ส่วนวัดชายนา แต่เดิมถือเป็นวัดเดียวกันกับวัดท้าวโคตร เหมือนกับเป็นการแยกส่วนวัดที่เป็นที่ทำกิจกรรมกับส่วนที่มีการวิปัสสนา ที่วัดชายนาเดิมเรียกว่า วัดส่วนปัน

เมื่อต้นเดือนมกราคม ฉันพาแม่มาทำสังฆทานที่นี่ เพิ่งเห็นว่าที่วัดมีวัตถุมงคลด้วย ฉลองวัดท้าวโคตร 750 ปี เก่าแก่มากทีเดียว เป็นพระผงอัดเป็นแว่น รูปหลวงพ่อดำซึ่งพ่อบอกว่าเป็นอาจารย์ของพ่อเอง ก็แปลกดีพ่อเคารพอาจารย์แต่ก็ไม่ได้เช่าเหรียญมาบูชา อาจารย์ของพ่อในความทรงจำคงชัดเจนกว่าที่เหรียญจะให้ภาพได้ พี่สาวฉันเพิ่งได้ที่วัดสัปดาห์ก่อน เช่าเหรียญมาแล้วเรียบร้อย เพราะสำหรับเรา นี่เป็นเหรียญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพ่อของเรามากกว่าจะถือความขลังของเหรียญ ( เพิ่ม: ช่วงปลายเดือนเมษายนได้ไปเช่าหลวงพ่อดำมาเพิ่ม ทางวัดบอกว่ากำลังจะจัดทำจตุคามเหมือนกัน เรียกว่าตามกระแสกันทัน)
พ่อเล่าให้ฟังว่ากิจกรรมของเด็กที่มาเรียนหนังสือสมัยก่อนก็ต้องช่วยทำงานในวัดเช่นกัน ในวัดจะมีทั้งเด็กวัดชนิดอยู่วัดจริงๆและเด็กที่อยู่วัดเพื่อมาเรียนหนังสือตามโรงเรียนต่างๆ ตอนเช้าต้องตื่นแต่เช้า เอาชั้นไปวางตามบ้านที่เขาจะทำอาหารไว้ใส่ชั้นตักบาตร ไปวางบ้านละชั้นแล้วตามเก็บจนครบ เอากลับมาที่วัด จัดให้พระ รอกินข้าวแล้วตัวเองก็ไปโรงเรียน สมัยนั้นวัดท้าวโคตรก็ต้องถือว่าไกลโรงเรียนพอควร พ่อมีจักรยานคันหนึ่งไว้ถีบไปโรงเรียน เมืองนครยุคนั้นห่างไกลกันมากกับสมัยนี้
ครั้งล่าสุดที่ขับรถผ่านวัดกับพ่อ พ่อยังชี้ให้ดูบ้าน 2 หลังหน้าวัดที่เคยมาวางชั้นปิ่นโต ยังคงสภาพอยู่เหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนเป็นร้านค้า ถ้าเจ้าของเขาใจเป็นกุศล ตักบาตรทุกวันมาตั้งแต่สมัยโน้น ลูกหลานเขาคงได้ส่วนบุญกันถ้วนหน้า

Monday, February 05, 2007

สำรับความรู้...จัดความรู้มาเป็นสำรับ...ประดับสมอง

ช่วงนี้มีกิจกรรมใหม่ให้ทำคือการเป็นผู้จัดรายการวิทยุของวิทยุชุมชน ตั้งชื่อรายการว่า สำรับความรู้ จริงๆจะให้ชื่อว่า หมรับความรู้ แต่เกรงใจตัวเองว่าจะออกเสียงผิดๆถูกๆ ไม่ชับอย่างของแท้ ก็เลยต้องเปลี่ยนชื่อ.... :-)

รายการออกอากาศวันแรก วันที่ 14 ธันวาคม 2549 ประเดิมรายการด้วยเนื้อหาเรื่อง "ความรู้และกระบวนการเรียนรู้" จากนั้นก็ออกอากาศเรื่อยมาทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18:00 - 18:30 น.ทาง FM 100.75 MHz . ในฐานะคนจัดรายการใหม่ก็รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสทำอะไรใหม่ๆ ได้ความรู้มาก เพราะต้องค้นข้อมูลมากเหลือเกิน ตอนนี้ความรู้อัดแน่นจนตัวจะแตกอยู่แล้ว

จนถึงวันนี้เพิ่งทำรายการได้ 8 ครั้ง มีแขกมาร่วมคุยในรายการหลายคน อาศัย น้องๆใกล้ตัว เล่นง่ายมาก อยู่ๆจะมาจัดรายการก็คงไม่ใช่ จากที่ได้มีส่วนร่วมมา การตั้งวิทยุชุมชนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับชุมชน และจะได้ประโยชน์มากถ้าชุมชนมีส่วนร่วม ของที่นี่ชุมชนรายรอบให้ความร่วมมือดีมาก ทำให้สถานีดำเนินการไปได้ โดยที่ไม่มีรายได้เพราะเราไม่มีการโฆษณา แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ก็ไม่แน่ใจในการดำเนินการต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่เท่าที่ทำอยู่จะรู้สึกดีว่าเป็นการจัดรายการเพื่อคนฟังโดยไม่คิดหาผลประโยชน์ใดๆ ก่อนจะจัดรายการมีการประชุมกันหลายครั้ง ทั้งประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่ซึ่งฉันยังไม่มีส่วนร่วมในขณะนั้น แล้วมีการฝึกอบรมการจัดรายการโดยอาจารย์นิเทศศาสตร์ของเรา น้องเพชร อาจารย์วรรณรัตน์ และได้รับการอบรมด้านการใช้อุปกรณ์จากบริษัทที่เราซื้อเครื่องเขามา มีประชุมจัดทำผังรายการ ประชุมเตรียมการเปิดสถานี ของเราเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 12 ธันวาคม 2549

ฉันแอบดีใจเล็กๆที่ได้เป็นเสียงแรกของการเปิดสถานีเพราะเป็นผู้ดำเนินรายการรายการแรกที่คุยกับคณะทำงานถึงความเป็นมาของสถานี ก่อนจะตัดเข้าสู่รายการถ่ายทอดสดพิธีเปิด มีคนมาร่วมงานกันมากพอควร ของที่ระลึกคือกระเป๋าใส่มือถือชนิดคล้องคอ ผลิตภัณฑ์คีรีวง

วันแรกของการจัดการรายการ ขนาดเป็นคนที่คุ้นกับอุปกรณ์และการพูดก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะพูดออกมาเป็นยังไง เลยต้องใช้วิธีเขียนสคริปต์แบบละเอียด ชนิดมีคำลงท้าย มีคำอุทานใส่ไว้เสร็จสรรพ และก็อ่านเอา แต่ต้องมีฝีมือหรือจริงๆคือฝีปากในการอ่านให้เหมือนพูด เพราะคนที่ฟังเขาบอกว่าเนียนดีมากทั้งๆที่อ่านจากกระดาษตลอดเวลา (โอ้ว... เบื้องหลังการถ่ายทำ) เพลงที่ใช้ก็ต้องเลือกให้เข้ากับเนื้อหาที่นำมาพูด เรื่องนี้ค่อนข้างถนัดและชอบเพราะชอบฟังเพลงอยู่แล้ว การเลือกเพลงให้เข้ากับเรื่องเป็นสิ่งสนุกสนานอย่างหนึ่ง ข้อเสียมีอยู่ที่ว่า รายการนี้เป็นรายการประจำทุกสัปดาห์ จะโดดหรือจะหายไปเฉยๆไม่ได้ เป็นภาระอยู่พอควร ที่แรกคิดว่าจะทำรายการเทป ปัญหาคือไม่สามารถเตรียมเรื่องได้ทันเพื่อมาอัดเทป และถ้าจะอัดเทปซึ่งต้องเป็นช่วงเช้าเท่านั้นเพราะรายการทางสถานีจะเริ่มเวลาเที่ยง เราจะต้องทำการปิดการออกอากาศเพื่อใช้ห้องอัด ฉันเคยไปอัดเทปครั้งหนึ่ง ก็ต้องประกาศกับผู้ฟังว่าทางสถานีจะทำการปรับสัญญาณ นักศึกษาที่คุมเครื่องบอกว่าเราปรับกันบ่อย ปรับทุกทีที่มีการอัดเทป... เท่าที่ทำมาได้อัดเสียงการจัดรายการไว้ทุกครั้ง จะได้เก็บเป็นข้อมูลของตัวเอง มีความสุขไปอีกแบบ จะทำได้ยาวนานแค่ไหนก็เป็นเรื่องที่ต้องรอดูกันไป

Blue Jay สร้างรัง

เปล่า ไม่ได้หมายถึงนก Blue Jay หรอกค่ะ จริงๆแล้วจะบอกว่าฉันกำลังจะสร้างบ้านหลังแรกในชีวิต เพิ่งลงเสาเอกเมื่อเช้านี้เอง รู้สึกดีอย่างไม่น่าเชื่อ

คนเราจะสร้างบ้านก็ต้องวุ่นวายพอควร ฉันเตรียมจะสร้างบ้านมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ก็ไม่สะดวก ต้องรอโน่นรอนี่ จนปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ทั้งๆที่แบบบ้านตัวเองเสร็จแล้วและยื่นเรื่องกับ อบต.แล้ว ก็ยังไม่ได้สร้างเพราะไปเห็นบ้านในโครงการหน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งน่าสนใจในแง่ที่มีสาธารณูปโภคครบถ้วน ไม่ต้องมาอยู่โดดเดี่ยว ทีแรกไปดูไว้หมู่บ้านหนึ่ง นัดเขาว่าจะไปเซ็นสัญญาวันที่ 4 มกราคม เพราะคาดว่าปิดปีใหม่แล้วค่อยมาจัดการ ปรากฏว่าวันที่ 3 รู้ข่าวว่ามีอีกโครงการหนึ่งขึ้น ซึ่งบ้านดูดีมีสไตล์กว่า วัสดุดีกว่า(แน่นอนแพงกว่า... แต่ถ้าคิดว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของบ้านอีกโครงการหนึ่ง ที่รู้สึกว่าจะเรื่องมากกว่า ก็คิดว่าคุ้มแล้ว) ก็เลยไปคุยกับน้องอีกคนที่ได้ชื่อว่าเนี๊ยบสุดยอด เขาก็กำลังสนใจโครงการนี้อยู่ แล้วก็ไปคุยกับเจ้าของโครงการ ตกลงว่าเอาโครงการนี้แหละ ไปคุยในรายละเอียดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เช่น เพิ่ม bay windows ห้องรับแขก เพิ่งทางรถเข็นหน้าบ้าน เพิ่มประตูเล็กที่รั้ว และอื่นๆอีกเล็กน้อย

หลังจากนั้นก็รอดูอยู่ให้เขาขึ้นสาธารณูปโภค ปลายเดือนคุยอีกครั้ง ให้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปให้เขาเตรียมเอกสาร วันที่ 3 ก.พ. โทรไปคุยว่าน่าจะทำสัญญาได้แล้ว เขาก็บอกว่าให้หาฤกษ์ลงเสาเอก ฉันก็ไม่คิดอะไรมาก อาศัยวิชาเก่า นับวันดีเอาเฉยๆ วันที่ 5 ก.พ. เป็นวันจันทร์ 3 ค่ำ ถือว่าเป็นวันดี ก็เลยบอกว่าเอาวันที่ 5 แล้วกัน พี่เขาก็เก่งบอกปุ๊บ เขาก็สามารถเตรียมได้ปั๊บ กำหนดว่าเป็นวันที่ 5 เวลา 11:09 น. ฤกษ์สะดวกดี

วันนี้ตอนเช้าฉันชวนพี่กระต้ายไปช่วยดู ไปเซ็นสัญญาตอน 10 โมง แล้วไปลงเสาเอกตามเวลา เขาเตรียมหลุมและเสาไว้เรียบร้อยแล้ว บนเสามีมะพร้าวน้ำหอม รวงข้าว และน้ำมนต์(ใส่ขวด M 150 มาเลย เท่สุดๆ ) พอได้เวลาเขาก็ส่งปูนให้ฉันเท 3 ถัง เสร็จแล้วโยนเหรียญบาท 9 เหรียญ แลดูเป็นพิธีที่เรียบง่ายดีจัง




ลงเสาเอกเสร็จฉันกับพี่กระต้ายก็ไปกินข้าวที่ร้านหน้าซอย แล้วซื้อ Pizza ไปขอบคุณคนงานที่มาช่วยลงเสาเอก และถือโอกาสขออุปกรณ์ในพิธีมาเก็บ ต้นมะพร้าว กับข้าว กะว่าจะเอามาปลูก

สรุปว่ารู้สึกดีที่ได้สร้างบ้าน เหมือนนกมีรังจริงๆเลย