Saturday, April 18, 2015

เมนูอาหารผู้สูงอายุ

ช่วงนี้ต้องปรับเมนูอาหารของคุณพ่อใหม่ทั้งหมด เพราะไปตรวจเช็คพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ได้ทำการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหรือบายพาส คือคุณพ่อก็ไม่อยากทำการผ่าตัดด้วย ก็เลยรักษาด้วยการกินยาควบคุม และ ปรับอาหารแทนค่ะ คุณพ่อปีนี้ก็อายุเก้าสิบปี  แต่ปกติแข็งแรง ออกกำลังกาย เดิน ไปทำสวน ขับรถได้ ไม่มีอาการหลงลืม ยังดูแลตัวเองดี

เดิมคุณพ่อก็ดูแลสุขภาพในเรื่องอาหารอยู่แล้ว ถึงจะกินอาหารปกติพวกแกงเผ็ด  แกงส้ม ผักก็กินผักกาดขาว เผือก ฟักทอง  แต่ก็ไม่กินอาหารมากเกินไป ข้าวจะกินแบบหุงข้าวเปียก ต้องเป็นข้าวนุ่ม  ที่กินอยู่จะเป็นข้าวตราหงษ์ทอง ข้าวใหม่ นุ่มดีค่ะ  ที่ดูจะมีนำตาลมากคืออาหารเช้าเพราะจะต้องมีขนมครกห้าคู่ ขนมอื่นแล้วแต่จะซื้อมาเช่น ขนมเปียกปูน ข้าวต้มมัด ขนมถั่วแปบ กินกับชานมที่เป็นซองสำเร็จรูป









ตั้งแต่กลับมาจากโรงพยาบาล ก็เปลี่ยนอาหารเป็นอาหารรสอ่อน ข้าวจะเป็นข้าวต้มแต่กินเหมือนข้าวเปียกคือไม่ได้มีน้ำมากเหมือนข้าวต้มปกติ แล้วจะมีแกงจืดถ้วยหนึ่งจะใส่่ผักอะไรก็ได้แต่ต้องใส่ใบกระเพราแดงเข้าไปเพราะจะให้กลิ่นและรสที่ดี ปรุงรสด้วยเกลือกับซอสปรุงรส พยายามใช้ซอสที่มีวัตถุปรุงแต่งให้น้อยที่สุด เนื้อสัตว์เป็นหมูสับ กุ้ง หรือไก่ก็ได้ ปกติคุณพ่อไม่ได้กินเนื้อมานานแล้วเพราะเคี้ยวยาก
ขนมหวานงดทั้งหมด  ผลไม้เตรียมพวกส้มติดบ้าน แต่ก็จะกินแตงโมด้วย ก็จัดให้ค่ะ ไม่ได้ถึงกับต้องนับแคลอรี่เวลากินอาหาร

เมนูที่ทำก็มีตามนี้ค่ะ

1. แกงจืดผักกาดขาว หรือ บวบ ใส่หมูสับ ใบกระเพรา





2. ปลานึ่ง เป็นปลาทู ปลากะพง ปลากุเลา ปลาสำลี ปลาอะไรก็ได้ค่ะ มีได้ทุกมื้อ
3. แกงเลียง จะได้ต่างจากกินแกงจืดธรรมดา เปลี่ยนรสชาติกันไป
4. แกงส้มปลาผักกาดเขียว จริงๆแกงส้มอะไรก็ได้ค่ะ  แต่เนื่องจากตอนนี้พยายามไม่ซื้ออาหารจากข้างนอก เราก็จะเลือกผักเลือกปลาและปรุงรสเองได้ มั่นใจว่าไม่มีผงชูรสและมีวัตถุปรุงแต่งน้อย
5. ผัดแตงกวา อันนี้จะกินง่าย หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นผัดบวบเหลี่ยม บวบหอม เพื่อไม่ให้อาหารซ้ำกันมากเกินไป





เมนูที่จะทำให้แต่ยังไม่ได้ทำ
ผัดเผือก  ปกติคุณพ่อชอบกินเผือก ตั้งแต่กลับจากโรงพยาบาลยังไม่ได้กิน
ต้มยำ อาจจะทำรสชาติให้อ่อนลง  แต่จะได้มีรสชาติขึ้นมานิดนึง





การตอบคำถามบนเฟซบุ๊กของ Mark Zuckerberg

เมื่อวันที่  15 เมษายน 2558 Mark Zuckerberg เปิดโพสต์ถามตอบ ให้คนมาถามได้เป็นรายการสดบนเฟซบุ๊ก ดีเหมือนกันนะคะ ู้ใช้ได้ถามจากคนที่ตอบได้ทุกเรื่องจริงแบบนี้  เจ้าของมาตอบเองนี่นา  ตามลิงก์นี้ไปเลยค่ะ  น่าสนใจดี  https://www.facebook.com/zuck/posts/10102028100357421?pnref=story

มีเรื่องที่สนใจคือ  Oculus ก็นั่งอ่าน Q&A ของ  Mark Zuckerberg เขาตอบคำถามที่มีคนถามถึง Vision เกี่ยวกับ Oculus ของเขา เขาบอกว่างี้ค่ะ
Mark Zuckerberg Our mission to give people the power to experience anything. Even if you don't have the ability to travel somewhere, or to be with someone in person, or even if something is physically impossible to build in our analog world, the goal is to help build a medium that will give you the ability to do all of these things you might not otherwise be able to do. This will be incredibly powerful as a communication medium as well. Just like we capture photos and videos today and then share them on the internet to let others experience them too, we'll be able to capture whole 3D scenes and create new environments and then share those with people as well. It will be pretty wild.
ก็เลยไปดูประกาศของเฟซบุ๊กเมื่อเดือนที่แล้วเกี่ยวกับการที่เฟซบุ๊กจะนำ Oculus ซึ่งเป็น VR Technology มาใช้ ประมาณว่าจะเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่จะช่วยการติดต่อสื่อสารเสมือนจริงให้คนทั้งโลกติดต่อกันได้ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เอามาเล่นเกมส์ แต่ลองนึกถึงการท่องเที่ยวเสมือนจริง การเรียนในชั้นเรียน การปรึกษาแพทย์ การไปในที่ที่ปกติไม่สามารถไปได้ในชีวิตจริง ปัจจุบันนี้เราก็มีในระดับที่เป็นการประชุมทางไกลกันได้แล้ว หรืออย่าง Street view ของ Google แต่ถ้าเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงก็คงไปกันอีกระดับนะคะ โครงงานนักศึกษาไอทีปีต่อๆไปสนใจแอพแนวนี้ไหมคะ kiki emoticon
ตามไปอ่านลิงก์นี้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/zuck/posts/10101319050523971

เศรษฐกิจไทยช่วงหกเดือนที่่่านมา

เช้านี้ วัน้สาร์ นั่งฟังรายการนายกพบประชาชนที่มารีรัน หลังจากนายกพูดก็มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาพูดให้ฟังต่อ

ฟัง ม.ล. ปรีดิยาธร เทวกุลอธิบายสภาพเศรษฐกิจของไทยช่วงหกเดือนที่่านมา  ก็ดีนะคะ  ปกติได้แต่อ่านจากหนังสือพิมพ์  ได้ฟังการชี้แจงจากแหล่งข้อมูลต้นทางแบบนี้`ชัดเจนดี


โดยสรุป ทราบว่า อัตราขยายตัวของ  GDP `เดิมในปีที่่านมาประมาณ 0.6% ซึ่งถือว่าต่ำ รัฐบาลจึงใช้วิธีงเร่งใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ จ่ายเงินมากทำให้ขยายตัวสูงขึ้นมาถึง .55% เป็น  2.3% โดยมีการขยายตัวภาคเอกชน   และการท่องเที่ยว สามปัจจัยนี้ทำให้เศรษฐกิจโต

ไตรมาสที่สอง  ภาครัฐยังขยายตัวต่อไป  เอกชนก็ขยาย  และการส่งออกบริการหรือการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้น   แม้ว่าการส่งออกจะติดลบถึง 4% แต่เนื่องจากการลงทุนภาครัฐ  เอกชนและอื่นสูงขึ้น ก็จะไม่น่าเป็นห่วง

สรุป เศรษฐกิจของไทยถึงการส่งออกจะต่ำเพราะโลกชะลอตัวลง จีนซื้อสินค้าเราลดลง  ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซ๊ยนก็ลด มีแต่อเมริกาที่เพิ่มได้  แต่ในไตรมาสต่อไป โลกได้กระตุ้นเศรษฐกิจมาก  เชื่อว่าเราจะมียอดส่งออกที่ไม่ลดลงอีกต่อไป  เมื่อรวมกับการขยายตัวของการลงทุนและการท่องเที่ยว  เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสองและสามของปีนี้น่าจะดีขึ้น

หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ข้อมูลต่อ ซึ่งก็มีการขยายตัวดี มีประเด็นที่ชี้แจงเพิ่มคือกระบวนการในการอนุมัติโรงงาน  เหมืองแร่ก่อน คสช เข้ามาค่อนข้างช้า  หลังจาก คสช เข้ามาได้มีกำหนดเวลาการทำงาน การอนุมัติทำได้มากและเร็วไม่ล่าช้า  เป็นเหตุลทำให้หลังจาก   22  พฤษภาคม ปีที่แล้วโครงการได้รับอนุมัติมีจำนวนมาก

จุดอ่อนของเศรษฐกิจคือข้าว และยางพารา หกเดือนที่่านมาราคาต่ำกว่าปีก่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ชี้แจงการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรว่า เมื่อเข้ามามีปัญหาสต๊อกข้าวมาก  ราคายางเป็นปัจจัยจากราคาน้ำมันลดลง  ได้มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรหนึ่งพันบาทต่อไร่  และมีความช่วยเหลือทางอ้อม เช่น การจ้างงาน   การอบรม  การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง   แต่สิ่งที่เกิดมีลจากความแล้ง มาตรการหลักที่ดำเนินการอยู่คือ การช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก  ให้เกษตรกรคิดอ่านอาชีพของตนเอง  ปรับปรุงอาชีพ ปรับปรุงลิตภัณฑ์  จัดการแหล่งน้ำ แปรรูปลลิต ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  ฯลฯ
ยางพารามีปัญหาทางดครงสร้างมากกว่าเพราะไม่ใช่อาหาร แต่เป็นส่วนประกอบสร้างลิตภัณฑ์อื่น  มาตรการที่ช่วยเหลือคือการอัดฉีดเงินหนึ่งพันบาท ส่งเสริมสหกรณ์โดยให้เงินกู้หมุนเวียน วงเงินหมื่นล้านบาท  ให้สินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างระยะยาว ปรับเป็นเกษตรสมสาน  กู้ได้รายละไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ทั้งหมดเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ต่อไปคงต้องปรับโครงสร้างให้ดีขึ้น
ประมง  เดิมลดลงเพราะเกิดโรคตายด่วน  ปัจจุบันปรับขึ้นมากแล้ว  โรคตายด่วนมีเรื่องสิ่งแวดล้อมและแม่พันธ์ุ

สรุปอีกครั้งโดย ม.ล. ปรีดิยาธรว่า  ถึงแม้การส่งออกติดลบถึง 4% ปัจจัยอื่นน่าจะมาช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น