วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นวันเลือกตั้ง จะเป็นครั้งแรกที่ชีวิตตั้งแต่มีสิทธิ์ออกเสียงมา ที่จะไม่ไปเลือกตั้งโดยจงใจ
การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกต่อต้านจาก กปปส.และประชาชนอีกนับล้านที่ต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่นำพา ยังคงมีมติให้ดำเนินการเลือกตั้งต่อไป ทั้งๆที่สถานการณ์ชัดเจนว่าการเลือกตั้งจะต้องเป็นโมฆะเพราะมีจำนวนหน่วยเลือกตั้งในหลายจังหวัดที่จะไม่มีบัตรเลือกตั้ง ไม่มีเจ้าหน้าที่ กกต,ประจำหน่วย เพราะมีการสกัดบัตรเลือกตั้งที่สามไปรษณีย์ใหญ่ของภาคใต้คือที่ชุมพร ทุ่งสงและหาดใหญ่ มีกปปส.และประชาชนไปปิดล้อมไว้
ขณะนี้บ่ายโมงเศษ ก็เห็นได้ชัดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้เข้าไปเลือกตั้งได้น้อย บางที่เข้าไปไม่ได้เลย บางที่ไม่มีเจ้าหน้าที่จนต้องประกาศปิดหน่วย สามพันกว่าล้านที่นำมาจัดการเลือกตั้ง เอาไปให้ชาวนาค่าจำนำข้าวจะดีกว่าไหม
ประชาธิปไตยให้สิทธิ์กับเสียงข้
ช่วยตัดสินใจด้วยสมองและ......จ
ขอเป็นเสียงส่วนน้อยที่มั่นใจว่
==========================================================
ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา
http://www.isranews.org/isranews-news/item/27014-korkortor_27014.html
เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2557 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า สำหรับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2557 เฉพาะใน 66 จังหวัดที่ไม่มีปัญหาเรื่องการลงคะแนน ปรากฏว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด 39,375,057 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งหมด 20,051,337 คน คิดเป็นร้อยละ 50.92 โดยจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในอัตราส่วนมากที่สุด ได้แก่ จ.ลำพูน ที่มีผู้มาใช้สิทธิถึงร้อยละ 81.96 (จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 331,343 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 271,566 คน) ส่วนจำนวนที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในอัตราส่วนน้อยที่สุด ได้แก่ จ.สมุทรสาคร ได้แก่ จ.สมุทรสาคร ที่มีผู้มาใช้สิทธิเพียงร้อยละ 20.00 (จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 385,863 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 77,172 คน)
สำหรับจังหวัดอื่นๆ ที่น่าสนใจ มีอาทิ จ.เชียงใหม่ บ้านเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,254,863 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 876,113 คน คิดเป็นร้อยละ 69.82 จ.อุดรธานี จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,169,274 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 701,564 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 จ.สุพรรณบุรี บ้านเกิดนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 661,499 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง400.804 คน คิดเป็นร้อยละ 60.58 เป็นต้น
เมื่อแยกเป็นรายภาค ภาคกลาง 25 จังหวัด จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 12,443,324 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 5,273,199 (ร้อยละ 42.36) ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 9,097,707 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 4,915,774 คน (ร้อยละ 54.03) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 16,503,780 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 9,265,309 คน (ร้อยละ 56.14) และภาคใต้ เฉพาะ 4 จังหวัดชายแดน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,330,246 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 597,055 คน (ร้อยละ 44.88)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ในปี 2557 น้อยกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ในปี 2554 เป็นอย่างมาก โดยครั้งนั้น มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน คิดเป็นร้อยละ 75.03
ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานว่า นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยภายหลังการประชุมกกต.ถึงจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กพ.ที่ผ่านมา ว่า ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการมีผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 20,468,646 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 68 จังหวัดที่ไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.เขต 44,649,742 คน คิดเป็นร้อยละ 45.84 โดย จ.ลำพูน เป็นจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด ร้อยละ 72.8 ลำดับที่ 2 หนองบัวลำภู 72.50 และลำดับที่ 3 จ.บึงกาฬ มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งร้อยละ 70 ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยที่สุด ร้อยละ 0.11 โดยมีประชาชน มาใช้สิทธิ์ 1,292 คนจากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด 1,153,060 คน เพราะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้เพียง 24 หน่วยเท่านั้น อย่างไร ก็ตามผลที่เป็นทางการจะทราบในวันพรุ่งนี้ เพราะจะมีการประชุมของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่จะมีการรายงาน ผลการเลือกตั้งแต่ละจังหวัดให้ กกต.ทราบรวมถึงการกำหนดวันเลือกตั้งทดแทน เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดด้วย ทั้งนี้จำนวนผู้มาใช้สิทธิจะสมบูรณ์หลังการจัดการเลือกตั้งทดแทนหน่วยเลือก ตั้งที่ไม่สามารถจัดได้ รวมถึงการเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด
No comments:
Post a Comment