จริงๆแล้วรู้จักวอลแตร์แค่ชื่อ จำได้ว่าแต่งหนังสือเรื่องกองดิดส์ แต่ไม่คิดจะอ่าน เพราะเคยอ่านเรื่องย่อแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่แนวที่ชอบ นอกเหนือจากนั้นก็รู้ว่าเป็นนักปรัชญาอะไรทำนองนั้น
มาเปิดวิกิพีเดียอ่านประวัติดู อ่านไปก็ทึ่งไปว่าวอลแตร์ดูจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อคนมากมายทีเดียว และความสามารถของเขาดูจะไม่ใช่โดดเด่นแค่การเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง แต่กลับมีบทบาททางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ อภิปรัชญา การเขียนหนังสือ บทกวี บทความ ฯลฯ แต่ที่ทำให้คนนึกถึงวอลแตร์น่าจะเป็นการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์สังคม ระบบการปกครองในสมัยนั้นโดยใช้หลักเหตุผล โจมตีความเชื่องมงาย แนวคิดของเขาส่งผลมากต่อการลุกฮือของประชาชนในการปฏิวัติฝรั่งเศส
งานของเขาได้แก่ (คัดจากวิกิพีเดีย, นำมาลิสต์รายการไว้เผื่อจะหาอ่านในอนาคต) :)
Philosophical works
- Letters concerning the English nation (London, 1733) (French version entitled Lettres philosophiques sur les Anglais, Rouen, 1734), revised as Letters on the English (circa 1778)
- Le Mondain (1736)
- Sept Discours en Vers sur l'Homme (1738)
- Zadig (1747)
- Micromégas (1752)
- Candide (1759)
- Traité sur la tolérance (1763)
- Ce qui plaît aux dames (1764)
- Dictionnaire philosophique (1764)
- L'Ingénu (1767)
- La Princesse de Babylone (1768)
- Œdipe (1718)
- Mariamne (1724)
- Zaïre (1732)
- Eriphile (1732)
- Irène
- La princesse de Navarre (1745)
- L'Orphelin de la Chine (1755)
- History of Charles XII, King of Sweden (1731)
- The Age of Louis XIV (1751)
- The Age of Louis XV (1746–1752)
- Annals of the Empire – Charlemagne, A.D. 742 – Henry VII 1313, Vol. I (1754)
- Annals of the Empire – Louis of Bavaria, 1315 to Ferdinand II 1631 Vol. II (1754)
- Essay on the Manners of Nations (or 'Universal History') (1756)
- History of the Russian Empire Under Peter the Great (Vol. I 1759; Vol. II 1763)
- History of the Parliament of Paris (1769)[66]
ค่อนข้างประหลาดใจที่พบว่าเขาทำงานด้านวิทยาศาสตร์ด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่เขาต้องออกจากฝรั่งเศสไปอยู่ที่อังกฤษเป็นเวลาสามปี เขาได้แนวคิดจากอังกฤษมามากโดยเฉพาะแนวคิดของนิวตันเรื่อง Optics และแรงโน้มถ่วง และในเวลาต่อมาได้ศึกษาเรื่องนี้ร่วมกับเพื่อนหญิงของเขา เอมิลี่
วอลแตร์ได้เข้าร่วมในพิธีศพของนิวตัน ได้มีส่วนในการเรียกร้องให้เขาได้รับการนำไปอยู่ที่ Westminster Abbey และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับนิวตัน รวมทั้งเป็นคนกระพือเรื่องเล่าที่ว่านิวตันได้คิดเรื่องแรงโน้มถ่วงเพราะถูกแอปเปิ้ลหล่นใส่หัว
วอลแตร์ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงคือ François-Marie Arouet ชื่อวอลแตร์เป็น anagram ของคำว่า "AROVET LI," ซึ่งเป็นชื่อในภาษาละตินของนามสกุลของเขา (Arouet) ส่วนอักษรย่อมาจากคำว่า "le jeune" ("the young")
เมื่อเสียชีวิตวอลแตร์ได้รับการทำพิธีแบบรีบร้อนก่อนคำสั่งประกาศห้ามการทำพิธีของเขาจะถูกประกาศออกมา เพราะยามมีชีวิตไม่ได้ญาติดีกับคริสตจักรเท่าไรนัก เขาจึงได้รับการปฏิเสธที่จะให้ทำพิธีในโบสถ์ แต่เพื่อนของเขาก็ได้จัดการให้ได้ทัน เขาเสียชีวิตวันที่ 30 พฤษภาคม 1778 และในที่สุดหลังจากนั้นอีกสิบกว่าปีวันที่ 11 กรกฎาคม 1791 ร่างของเขาได้ถูกนำไปไว้ที่ Pantheon ที่ฝังศพบุคคลสำคัญของฝรั่งเศส(ได้ไปเยี่ยมชม Pantheon เมื่อเดือนพฤษภาคม 2013 และได้เห็นที่ฝังศพของวอลแตร์ด้วย โดดเด่นกว่าของคนอื่นมากเพราะถูกนำมาอยู่ด้านหน้าและมีรูปปั้นด้วย)
What is tolerance? it is the consequence of humanity. We are all formed of frailty and error; let us pardon reciprocally each other's folly-that is the first law of nature." ("Tolerance", ibid)
อ่านแล้วก็ตามลิงก์ต่อไปดูข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะคุ้นๆกับชื่อ
Emilie du Châtelet ที่ทำงานร่วมกับวอลแตร์ ยิ่งค้นเรื่องของเธอยิ่งพบว่าน่าสนใจมาก แทบจะมากกว่าตัววอลแตร์เองด้วยซ้ำเมื่อคิดว่าเธอเป็นผู้หญิงในยุคนั้นที่ได้รับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ระดับสูง มีทักษะและพื้นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ดีกว่าวอลแตร์ เธอรู้ภาษาละติน อิตาเลียน กรีก เยอรมัน ตั้งแต่อายุสิบสองปี มีความสามารถในการเต้นรำ เล่นฮาร์ปซิคอร์ด และเล่นละครสมัครเล่น และเคยใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ในการพนันเพื่อหาเงินมาซื้อหนังสืออ่าน
เธอเป็นผู้แปลหนังสือ Principia ของนิวตันจากภาษาละตินเป็นภาษา
ฝรั่งเศส ซึ่งยังคงถือว่าเป็นต้นฉบับฝรั่งเศสฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด
เธอได้รับการกล่าวถึงโดยวอลแตร์ว่าเป็น "a great man whose only fault was being a woman"
ในชีวิตครอบครัวกลับเป็นว่าเธอต้องแต่งงานตั้งแต่อายุน้อยกับขุนนางชั้นสูงตามแบบฉบับผู้ดีสมัยก่อน แต่เธอก็มีความสัมพันธ์กับคนอื่นอีกหลายคน ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือวอลแตร์ โดยได้ใช้ช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกันในการศึกษางานที่สำคัญหลายชิ้น
เธอเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 42 ปี หลังการคลอดบุตรคนที่สี่ที่เกิดจากความสัมพันธ์กับคนรักอีกคนหนึ่ง
(ในประวัติของเธอกล่าวว่าเธอเกิดที่ย่านตุยเลอรี่ส์ ในปารีสใน Townhouse ขนาดใหญ่ใกล้สวน น่าเสียดายที่อ่านเรื่องนี้หลังจากกลับมาจากปารีสแล้ว ไม่อย่างนั้นคงจะต้องตามไปดูซักนิด นับว่าเป็นผู้หญิงที่เป็นฮีโร่ได้อีกคน)
แหล่งข้อมูล
http://philosophyofscienceportal.blogspot.com/2009/03/emilie-du-chateletties-to-newton-and.html
http://www.hypatiamaze.org/emilie/chatelet.html
http://www.hypatiamaze.org/emilie/chatelet.html
No comments:
Post a Comment