Wednesday, October 30, 2013

กล้วยไม้มีดอกช้า..ฉันใด

"กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด 
การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น
แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น 
งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม"

(คุรุบุปผชาติ -  นิพนธ์โดย ศ.มล.ปิ่น มาลากุล "กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด...การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น...แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น...งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม...หยดน้ำที่พร่างพรม ดูดซับเข้ากิ่งใบ ทีละน้อยซึมเข้าไปเนิ่นช้า...ความรู้ก็เช่นกัน หมั่นทบทวนศึกษา ไม่เว้นว่างตำราเหมือนดั่งน้ำ...ห่างน้ำก็แห้งกรัง แช่น้ำก็เน่าพัง กล้วยไม้จึงเปรียบดังคำสอนใจ...เมื่อถึงวันที่กล้วยไม้ออกดอก งดงามดั่งดวงตะวัน...หยดน้ำที่พร่างพรมทุกวัน ได้รังสรรค์เป็นดอกกล้วยไม้...")

บทกลอนข้างบนเป็นของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล กล่าวถึงการศึกษา แต่ที่ยกมานี้เป็นชื่อของหนังสืออนุสรณ์ในงานศพของ ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน

ดร.ทิพย์วัลย์ สุทินเป็นอาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เสียชีวิตคืนวันที่ 24 ตุลาคม 2556 คืนเดียวกับที่พระสังฆราชสิ้นพระชนม์ (เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ม.ล. ปิ่น มาลากุลด้วยเช่นกัน) แต่ไม่ทราบเวลาที่แน่นอนด้วยมาพบร่างผู้เสียชีวิตตอนเช้าวันที่ 25 ตุลาคม 2556 (ไม่แน่ใจว่ามรณบัตรเขียนไว้เป็นเวลาใด ะไปสอบถามมาอีกครั้ง)

อาจารย์เป็นผู้ทำงานด้านการศึกษาอย่างทุ่มเท เป็นคนที่มีคนรักเคารพมากมาย เมื่ออาจารย์สิ้นลงจึงมีคนที่มีความทรงจำดีๆกับอาจารย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ในโพสต์นี้อยากจะลงรายละเอียดในเรื่องที่อาจารย์ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา

ในส่วนที่อาจารย์เกี่ยวข้องมีเยอะมากจะมาขยายประเด็นอีกครั้ง ในที่นี้ขอใส่หัวข้อไว้ก่อนว่ามีเรื่องของการสร้างระบบการดูแลนักศึกษา ระบบหอพักนักศึกษา ระบบการประเมินบุคลากรในสถาบันการศึกษา การเรียนการสอนแลล PBL การเรียนการสอนเชิงรุก มาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป



TBC

Tuesday, October 22, 2013

Emilie and Voltaire

ตั้งใจจะค้นเรื่องของวอลแตร์มาอ่าน เพราะมีร้านกาแฟชื่อวอลแตร์เปิดอยู่ที่ซอยข้างห้างโอเชียนนคร ได้ยินว่าเป็นร้านน่ารัก มีการสอนศิลปะชั้นบน และเจ้าของปลาบปลื้มวอลแตร์มากจนนำมาตั้งเป็นชื่อร้าน

จริงๆแล้วรู้จักวอลแตร์แค่ชื่อ จำได้ว่าแต่งหนังสือเรื่องกองดิดส์ แต่ไม่คิดจะอ่าน เพราะเคยอ่านเรื่องย่อแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่แนวที่ชอบ นอกเหนือจากนั้นก็รู้ว่าเป็นนักปรัชญาอะไรทำนองนั้น

มาเปิดวิกิพีเดียอ่านประวัติดู อ่านไปก็ทึ่งไปว่าวอลแตร์ดูจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อคนมากมายทีเดียว และความสามารถของเขาดูจะไม่ใช่โดดเด่นแค่การเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง แต่กลับมีบทบาททางด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ อภิปรัชญา การเขียนหนังสือ บทกวี บทความ ฯลฯ แต่ที่ทำให้คนนึกถึงวอลแตร์น่าจะเป็นการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์สังคม ระบบการปกครองในสมัยนั้นโดยใช้หลักเหตุผล โจมตีความเชื่องมงาย แนวคิดของเขาส่งผลมากต่อการลุกฮือของประชาชนในการปฏิวัติฝรั่งเศส

งานของเขาได้แก่ (คัดจากวิกิพีเดีย, นำมาลิสต์รายการไว้เผื่อจะหาอ่านในอนาคต)  :)
Philosophical works
  • Letters concerning the English nation (London, 1733) (French version entitled Lettres philosophiques sur les Anglais, Rouen, 1734), revised as Letters on the English (circa 1778)
  • Le Mondain (1736)
  • Sept Discours en Vers sur l'Homme (1738)
  • Traité sur la tolérance (1763)
  • Ce qui plaît aux dames (1764)
  • La Princesse de Babylone (1768)
Plays
  • Irène
  • L'Orphelin de la Chine (1755)
Historical
  • The Age of Louis XIV (1751)
  • The Age of Louis XV (1746–1752)
  • Annals of the Empire – Charlemagne, A.D. 742 – Henry VII 1313, Vol. I (1754)
  • Annals of the Empire – Louis of Bavaria, 1315 to Ferdinand II 1631 Vol. II (1754)
  • Essay on the Manners of Nations (or 'Universal History') (1756)
  • History of the Russian Empire Under Peter the Great (Vol. I 1759; Vol. II 1763)
  • History of the Parliament of Paris (1769)[66]

ค่อนข้างประหลาดใจที่พบว่าเขาทำงานด้านวิทยาศาสตร์ด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่เขาต้องออกจากฝรั่งเศสไปอยู่ที่อังกฤษเป็นเวลาสามปี เขาได้แนวคิดจากอังกฤษมามากโดยเฉพาะแนวคิดของนิวตันเรื่อง Optics และแรงโน้มถ่วง และในเวลาต่อมาได้ศึกษาเรื่องนี้ร่วมกับเพื่อนหญิงของเขา เอมิลี่ 

วอลแตร์ได้เข้าร่วมในพิธีศพของนิวตัน ได้มีส่วนในการเรียกร้องให้เขาได้รับการนำไปอยู่ที่ Westminster Abbey และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับนิวตัน รวมทั้งเป็นคนกระพือเรื่องเล่าที่ว่านิวตันได้คิดเรื่องแรงโน้มถ่วงเพราะถูกแอปเปิ้ลหล่นใส่หัว

วอลแตร์ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงคือ François-Marie Arouet  ชื่อวอลแตร์เป็น anagram ของคำว่า  "AROVET LI," ซึ่งเป็นชื่อในภาษาละตินของนามสกุลของเขา (Arouet)  ส่วนอักษรย่อมาจากคำว่า "le jeune" ("the young")

เมื่อเสียชีวิตวอลแตร์ได้รับการทำพิธีแบบรีบร้อนก่อนคำสั่งประกาศห้ามการทำพิธีของเขาจะถูกประกาศออกมา เพราะยามมีชีวิตไม่ได้ญาติดีกับคริสตจักรเท่าไรนัก เขาจึงได้รับการปฏิเสธที่จะให้ทำพิธีในโบสถ์ แต่เพื่อนของเขาก็ได้จัดการให้ได้ทัน  เขาเสียชีวิตวันที่ 30 พฤษภาคม 1778 และในที่สุดหลังจากนั้นอีกสิบกว่าปีวันที่ 11 กรกฎาคม 1791 ร่างของเขาได้ถูกนำไปไว้ที่ Pantheon ที่ฝังศพบุคคลสำคัญของฝรั่งเศส(ได้ไปเยี่ยมชม Pantheon เมื่อเดือนพฤษภาคม 2013 และได้เห็นที่ฝังศพของวอลแตร์ด้วย โดดเด่นกว่าของคนอื่นมากเพราะถูกนำมาอยู่ด้านหน้าและมีรูปปั้นด้วย)



What is tolerance? it is the consequence of humanity. We are all formed of frailty and error; let us pardon reciprocally each other's folly-that is the first law of nature." ("Tolerance", ibid)


อ่านแล้วก็ตามลิงก์ต่อไปดูข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะคุ้นๆกับชื่อ
Emilie du Châtelet ที่ทำงานร่วมกับวอลแตร์ ยิ่งค้นเรื่องของเธอยิ่งพบว่าน่าสนใจมาก แทบจะมากกว่าตัววอลแตร์เองด้วยซ้ำเมื่อคิดว่าเธอเป็นผู้หญิงในยุคนั้นที่ได้รับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ระดับสูง มีทักษะและพื้นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ดีกว่าวอลแตร์ เธอรู้ภาษาละติน อิตาเลียน กรีก เยอรมัน ตั้งแต่อายุสิบสองปี มีความสามารถในการเต้นรำ เล่นฮาร์ปซิคอร์ด และเล่นละครสมัครเล่น และเคยใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ในการพนันเพื่อหาเงินมาซื้อหนังสืออ่าน

เธอเป็นผู้แปลหนังสือ Principia ของนิวตันจากภาษาละตินเป็นภาษา
ฝรั่งเศส ซึ่งยังคงถือว่าเป็นต้นฉบับฝรั่งเศสฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด

เธอได้รับการกล่าวถึงโดยวอลแตร์ว่าเป็น "a great man whose only fault was being a woman"

ในชีวิตครอบครัวกลับเป็นว่าเธอต้องแต่งงานตั้งแต่อายุน้อยกับขุนนางชั้นสูงตามแบบฉบับผู้ดีสมัยก่อน แต่เธอก็มีความสัมพันธ์กับคนอื่นอีกหลายคน ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือวอลแตร์ โดยได้ใช้ช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกันในการศึกษางานที่สำคัญหลายชิ้น

เธอเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 42 ปี หลังการคลอดบุตรคนที่สี่ที่เกิดจากความสัมพันธ์กับคนรักอีกคนหนึ่ง

(ในประวัติของเธอกล่าวว่าเธอเกิดที่ย่านตุยเลอรี่ส์ ในปารีสใน Townhouse ขนาดใหญ่ใกล้สวน น่าเสียดายที่อ่านเรื่องนี้หลังจากกลับมาจากปารีสแล้ว ไม่อย่างนั้นคงจะต้องตามไปดูซักนิด นับว่าเป็นผู้หญิงที่เป็นฮีโร่ได้อีกคน)

แหล่งข้อมูล

Wednesday, October 02, 2013

Inspiration

Inspiration บางครั้งงานของใครบางคนก็เป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลายคน...





ส่วนตัวแล้วประทับใจภาพนี้ที่สุดในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เมื่อหันไปเห็นภาพนี้ รู้สึกถึงความเศร้าโศรก ความรัก การพลัดพราก โดยไม่รู้มาก่อนด้วยว่าเป็นภาพที่เกี่ยวกับเรื่องอะไร นั่งดูอยู่นาน ชอบมากๆ ซื้อโปสการ์ดกลับมาชื่นชมอีกต่างหาก

ภาพนี้ชื่อ The burial of Atala เป็นภาพเขียนแสดงเรื่องราวของสาวน้อยคริสเตียนเลือดผสมคนหนึ่งชื่อ Atala ผู้ซึ่งสาบานไว้ว่าจะถือพรหมจรรย์ แต่เมื่อเธอพบคนรักซึ่งเป็นหนุ่มอินเดียนแดงเผ่า Natchez. เธอจึงเลือกที่จะกินยาพิษฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้ผิดคำสาบาน

ภาพนี้วาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส Anne-Louis Girodet ผู้ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากงานเขียนของ Francois-René de Chateaubriand เรื่อง Atala ซึ่งก็ได้แรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องนี้จากการเดินทางไปอเมริกาอีกต่อหนึ่ง งานของเขาได้รับการแปลหลายภาษาและเป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพของศิลปินคนอื่นที่วาดภาพฉากนี้เช่นเดียวกัน เช่นงาน Ultimos momentos de Atala by Luis Monroy. และ Death of Atala ของ Rodolpho Amoedo

นี่ถ้าวาดรูปเก่งๆจะวาดมั่งนะคะเนี่ย ชอบจังเลย...




Atala เขากินยาพิษฆ่าตัวตายค่ะ โดยไม่บอกมิชชั่นนารี Père Aubry ผู้ชายหนวดยาวคนนั้น  


 เขาก็เลยคิดว่าเธอป่วยเฉยๆ เมื่อ Chactas คนรักของเธอมา เธอก็บอกความจริง แต่ก็ช่วย


ชีวิตไม่ทันแล้ว ซึ่งมิชชั่นนารีได้บอกว่าทางศาสนาคริสต์ก็ยอมให้ถอนคำปฏิญานได้( พระ


หรือแม่ชีที่ได้ทำ renunciation of vows เพื่อออกไปแต่งงานก็เคยมี) Atala ไม่น่าจะต้องกิน


ยาพิษค่ะ เศร้าเนอะ...



==========================================




ส่วนงานชิ้นนี้ชื่อ The spirit of eternal rest. เป็นผลงานของโรแดงค่ะ ตั้งอยู่ในสวนที่พิพิธภัณฑ์โรแดง โดมข้างหลังคือ แองวาลิด ที่ฝังศพนโปเลียน ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์โรแดงแล้วได้ภาพนี้มา ไม่ได้ตั้งใจแปลผลงานท่านโรแดงเป็นอื่นเลยจริงจริ๊ง



=======================================
รูปปั้นชุดนี้อยู่ในลูฟร์ค่ะ  ดูแล้วอารมณ์ดี


เห็นได้ชัดว่าน้องเป็นเด็กโหด

ส่วนคุณลุงคุณป้าคู่นี้ยืนขนาบทางเดิน แลดูไหว้แบบเสียไม่ได้นะคะ






================================================

ที่เป็นแรงบันดาลใจตลอดมาคงหนีไม่พ้น Da Vinci