ที่รีบมาบันทึกก่อนเพราะกลัวจะลีม เรื่องหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ถ้าผู้เขียนเขียนออกแนว Popular Science ก็จะมีข้อผิดพลาดมากมาย เพราะตอนจะอ่านสงครามหลุมดำก็พยายามไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ในบ้านมาอ่านอีกครั้ง ทีแรกอยากอ่าน Billions and Billions/Carl Sagan แต่หาไม่เจอ ก็ไปเจอหนังสือ ไอสไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น กับฟิสิกส์นิวตัน ของทันตแพทย์สม สุจีรา พลิกหน้าแรกเจอลายมือตัวเองเขียนไว้ทั้งสองเล่มว่าข้อมูลในหนังสือมีข้อผิดพลาดทางวิชาการ ให้ไปค้นมาอ่านประกอบ ตกลงยังไม่ทันอ่าน สงครมหลุมดำก็ไปค้นบทความของ ดร.บัญชา ธนสารสมบัติ มาอ่านประกอบ ตานี้ก็กลัวจะลืม หาไม่เจอ เอามาเก็บไว้ในบล็อกนี้ดีกว่า :)
">ช่วยยกตัวอย่างความผิดพลาดด้วยครับ?
เรื่องนี้ผมเขียนไว้ในเว็บบางส่วนแล้ว พอเป็นตัวอย่างนิดหน่อย (http://gotoknow.org/blog/science/192799 และhttp://www.vcharkarn.com/varticle/37687) แต่จะขอเพิ่มเติมบ้างกรณีตัวอย่างความผิดพลาดลักษณะแรก (แก้ไขง่าย) เช่น "...วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา (หมายถึง เดอบรอย) ที่ยืนยันว่าอิเล็กตรอนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า..." (ที่ถูกต้องคือ "....ที่ถือเสมือนว่า อิเล็กตรอนสามารถประพฤติตัวเป็นคลื่นได้" (หน้า 16) และ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมดต้องถือเป็นอนุภาค และอนุภาคทุกชนิดต้องถือว่าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า" (ที่ถูกต้องคือ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจประพฤติตัวเป็นคลื่นหรืออนุภาคได้ แล้วแต่สภาวะเงื่อนไขที่เราทำการสังเกต" (หน้า 17)
หรือมีตัวอย่างประโยคที่ซ้อนความคิดหลายชั้น มีถูกมีผิดปนกัน ทำให้ต้องค่อยๆ แยกแยะอย่างระมัดระวัง เช่น "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส) ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" (หน้า 65)
ข้อความ "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส)" - ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง
ข้อความ "...ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" - ข้อความนี้ถูกต้องเฉพาะท่อนแรก คือยังไม่มีใครสร้างอุณหภูมิศูนย์เคลวินได้ เพราะกฎข้อที่สามของเทอร์โมไดนามิกส์ห้ามเอาไว้ แต่มีการทดลองบางอย่างที่สามารถลดอุณหภูมิลงจนต่ำมากๆ ได้ และที่สำคัญคือ การลดอุณหภูมินั้นไม่จำเป็นต้องทำกับห้องที่คนอาศัยอยู่ แต่สามารถทำภายในแชมเบอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิ ข้อสรุปที่ว่า "ถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน..." จึงแสดงถึงความไม่เข้าใจเงื่อนไขในการทดลอง
คุณจะเห็นว่าแค่เพียงประโยค 2 บรรทัดในตัวอย่างหลังสุดนี้ ยังมีแง่มุมละเอียดอ่อนที่ซ่อนอยู่ ซึ่งหากจะแก้ไขต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว และประโยคในลักษณะนี้เองที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในหนังสือเล่มนี้ ทำให้หนังสือเล่มนี้ซึ่งอ่านง่าย แต่จะแก้ไขให้ถูกต้องนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา ความรู้ และความอดทนอย่างมาก
ส่วนตัวอย่างของกรณีที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามในการปรับแก้นั้น มักจะปรากฏขึ้นเมื่อกล่าวถึงแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีเคออส (Chaos Theory) ในข้อความที่ว่า "ทฤษฎีแห่งความยุ่งเหยิง (Chaos T heory) ถือว่าเป็นทฤษฎีแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถเข้ามาแทนที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ความมหัศจรรย์ของทฤษฎีนี้ก็คือ สามารถนำไปใช้อธิบายระบบได้ทุกระบบ" (หน้า 77)
(ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง เพราะทฤษฎีเคออสศึกษาระบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นซึ่งมีพฤติกรรมไวต่อเงื่อนไขตั้งต้น ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษซึ่งศึกษาการสังเกตปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงที่มีความเร่งหรือมีความโน้มถ่วง) การที่จะอ้างถึงเรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของทฤษฎีที่กล่าวถึงอย่างถ่องแท้"ตามไปอ่านแล้วเหนื่อยเชียว ก็เลยยังไม่ได้อ่านสงครมหลุมดำซักที แต่เรื่องนั้นน่าจะดีเพราะผู้เขียนเป็นนักฟิสิกส์ระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีคุณูปการกับวงการฟิสิกส์มาก
No comments:
Post a Comment