Thursday, August 22, 2013

Google Doodle-Claude Debussy

เปิด Google วันนี้เจอ Google Doodle ที่ทำขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดครั้งที่ 151 ของ Claude Debussy (ถ้าเขายังอยู่นะ แต่ก็...ไม่อยู่แล้วล่ะ  ) เป็น Doodle ที่น่ารักดีค่ะ มีทั้ง Animation และเพลงประกอบเพราะๆ

Debussy ไม่ใช่นักแต่งเพลงคนโปรดแต่ก็ได้ฟังเพลงเขาเรื่อยๆ บางทีก็เห็นเป็นเพลงประกอบในภาพยนตร์บ้าง ที่โดนเพื่อนบังคับฟังมาตั้งแต่สมัยเรียนคือ La mer ส่วนเพลงประกอบที่ Google ใส่ให้วันนี้ชื่อ Clair de Lune แปลว่า Moonlight ค่ะ เพราะดีเหมือนกัน ชื่นชม Doodle วันนี้ด้วยว่า Animation น่ารักโดยเฉพาะตอนจบ บรรยากาศดีมาก

ตอนนี้ Debussy อยู่ที่ Passy Cemetery (อยู่หลัง Trocadero ที่เพิ่งไปเดินเที่ยวมา เดินเลยไปนิดเดียว) ไม่รู้มาก่อนว่าเขาอยู่ตรงนั้น จริงๆถ้าได้ไปก็จะได้ไปคารวะ Manet ศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ที่อยู่ที่เดียวกันด้วย คนนั้นละคนโปรดจริงๆ Cemetery ที่ๆเขาอยู่มีคนดังๆมาก แม้แต่จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของเวียดนามก็อยู่ที่นั่น เสียดายๆๆๆ




Sunday, August 18, 2013

The Black Hole war สงครามหลุมดำ

วันนี้ซื้อหนังสือมาใหม่เล่มหนึ่ง ยังไม่ทันได้อ่าน แต่อยากอ่านมากเพราะเป็นการโต้แย้งระหว่าง Leonard Susskind ต่องานของ Stephen Hawkings ที่ทาง Hawkings บอกว่าถ้ามีอะไรถูกดูดเข้าไปในหลุมดำ ทุกอย่างก็จะสูญหายหมด ตานี้มันก็จะขัดแย้งกับหลัก Conservation of Information ที่หลักฟิสิกส์เคยเข้าใจกันมา Susskind ได้เสนอแนวคิดในการอธิบายไปจนถึงทฤษฎีโฮโลแกรม  รายละเอียดรออ่านจบค่อยมาเล่า

ที่รีบมาบันทึกก่อนเพราะกลัวจะลีม เรื่องหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ถ้าผู้เขียนเขียนออกแนว Popular Science ก็จะมีข้อผิดพลาดมากมาย    เพราะตอนจะอ่านสงครามหลุมดำก็พยายามไปหาหนังสือที่เกี่ยวกับฟิสิกส์ในบ้านมาอ่านอีกครั้ง ทีแรกอยากอ่าน Billions and Billions/Carl Sagan แต่หาไม่เจอ ก็ไปเจอหนังสือ ไอสไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น กับฟิสิกส์นิวตัน ของทันตแพทย์สม สุจีรา พลิกหน้าแรกเจอลายมือตัวเองเขียนไว้ทั้งสองเล่มว่าข้อมูลในหนังสือมีข้อผิดพลาดทางวิชาการ ให้ไปค้นมาอ่านประกอบ  ตกลงยังไม่ทันอ่าน สงครมหลุมดำก็ไปค้นบทความของ ดร.บัญชา ธนสารสมบัติ มาอ่านประกอบ  ตานี้ก็กลัวจะลืม หาไม่เจอ เอามาเก็บไว้ในบล็อกนี้ดีกว่า  :)



">ช่วยยกตัวอย่างความผิดพลาดด้วยครับ?
เรื่องนี้ผมเขียนไว้ในเว็บบางส่วนแล้ว พอเป็นตัวอย่างนิดหน่อย (http://gotoknow.org/blog/science/192799 และhttp://www.vcharkarn.com/varticle/37687) แต่จะขอเพิ่มเติมบ้างกรณีตัวอย่างความผิดพลาดลักษณะแรก (แก้ไขง่าย) เช่น "...วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา (หมายถึง เดอบรอย) ที่ยืนยันว่าอิเล็กตรอนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า..." (ที่ถูกต้องคือ "....ที่ถือเสมือนว่า อิเล็กตรอนสามารถประพฤติตัวเป็นคลื่นได้" (หน้า 16) และ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมดต้องถือเป็นอนุภาค และอนุภาคทุกชนิดต้องถือว่าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า" (ที่ถูกต้องคือ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจประพฤติตัวเป็นคลื่นหรืออนุภาคได้ แล้วแต่สภาวะเงื่อนไขที่เราทำการสังเกต" (หน้า 17)
หรือมีตัวอย่างประโยคที่ซ้อนความคิดหลายชั้น มีถูกมีผิดปนกัน ทำให้ต้องค่อยๆ แยกแยะอย่างระมัดระวัง เช่น "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส) ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" (หน้า 65)
ข้อความ "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส)"  - ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง
ข้อความ "...ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" - ข้อความนี้ถูกต้องเฉพาะท่อนแรก คือยังไม่มีใครสร้างอุณหภูมิศูนย์เคลวินได้ เพราะกฎข้อที่สามของเทอร์โมไดนามิกส์ห้ามเอาไว้ แต่มีการทดลองบางอย่างที่สามารถลดอุณหภูมิลงจนต่ำมากๆ ได้ และที่สำคัญคือ การลดอุณหภูมินั้นไม่จำเป็นต้องทำกับห้องที่คนอาศัยอยู่ แต่สามารถทำภายในแชมเบอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิ ข้อสรุปที่ว่า "ถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน..." จึงแสดงถึงความไม่เข้าใจเงื่อนไขในการทดลอง
คุณจะเห็นว่าแค่เพียงประโยค 2 บรรทัดในตัวอย่างหลังสุดนี้ ยังมีแง่มุมละเอียดอ่อนที่ซ่อนอยู่ ซึ่งหากจะแก้ไขต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว และประโยคในลักษณะนี้เองที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในหนังสือเล่มนี้ ทำให้หนังสือเล่มนี้ซึ่งอ่านง่าย แต่จะแก้ไขให้ถูกต้องนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา ความรู้ และความอดทนอย่างมาก
ส่วนตัวอย่างของกรณีที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามในการปรับแก้นั้น มักจะปรากฏขึ้นเมื่อกล่าวถึงแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีเคออส (Chaos Theory) ในข้อความที่ว่า "ทฤษฎีแห่งความยุ่งเหยิง (Chaos T heory) ถือว่าเป็นทฤษฎีแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถเข้ามาแทนที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ความมหัศจรรย์ของทฤษฎีนี้ก็คือ สามารถนำไปใช้อธิบายระบบได้ทุกระบบ" (หน้า 77)
(ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง เพราะทฤษฎีเคออสศึกษาระบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นซึ่งมีพฤติกรรมไวต่อเงื่อนไขตั้งต้น ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษซึ่งศึกษาการสังเกตปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงที่มีความเร่งหรือมีความโน้มถ่วง) การที่จะอ้างถึงเรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของทฤษฎีที่กล่าวถึงอย่างถ่องแท้"

ตามไปอ่านแล้วเหนื่อยเชียว ก็เลยยังไม่ได้อ่านสงครมหลุมดำซักที  แต่เรื่องนั้นน่าจะดีเพราะผู้เขียนเป็นนักฟิสิกส์ระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีคุณูปการกับวงการฟิสิกส์มาก