Wednesday, March 16, 2011

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น

สึนามิครั้งใหญ่ที่ผ่านมาทำให้เกิดวิกฤติการณ์กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น รู้สึกตัวว่าใกล้ตัวมาก อยากจะบันทึกสถานการณ์และความรู้เรื่องนิวเคลียร์ไว้ให้ชัดเจน

ศุกร์ที่ 11 มีนาคม

2:46 p.m.(เวลาเที่ยงสี่สิบหกนาทีในระเทศไทย) แผ้นดินไหวที่ความรุนแรงระดับ 9.0 ก่อให้เกิดคลื่นสูง 9 เมครซัดเข้ามาในพื้นที่ชายฝั่ง
ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ของบริษัท Tokyo Electric Power Company's (TEPCO) ซึ่งอยู่ทางใต้ของ Sendai ประมาณ 65 กิโลเมคร

เสาร์ที่ 12 มีนาคม

2.06 a.m.: ระดับรังสีที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพิ่มขึ้น
6:22 p.m. มีการระเบิดของไฮโดรเจนที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 มีผู้บาดเจ็บ 4 คน ทำการอพยพประชาชนประมาณ 200,000 คน ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบบริเวณ

จันทร์ที่ 14 มีนาคม

11 a.m. มีการระเบิดของไฮโดรเจนที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 สร้างความเสียหายให้ระบบทำความเย็นของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 มีผู้บาดเจ็บ 11 คน

อังคารที่ 15 มีนาคม

6 a.m. มีการระเบิดครั้งที่สามภายในสี่วัน ส่งผลต่อที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2

พุธที่ 16 มีนาคม

7 a.m. มีเปลวไฟครั้งที่สองภายในสองวันที่พบในอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4

Scale of nuclear accidents

  • Level 7 - Major release of radioactive material. Example: Chernobyl, Ukraine, 1986
  • Level 6 - Significant release of radioactive material. Example: Kyshtym, Russia, 1957
  • Level 5 - Limited release of radioactive material. Example: Three Mile Island, US, 1979, and Windscale, UK, 1957
  • Level 4 - Minor release of radioactive material with at least one death from radiation. Example: Tokaimura, Japan, 1999
  • Level 3 - Exposure in excess of 10 times the statutory annual limit for workers
  • Level 2 - Exposure of a member of the public in excess of 10mSv (average annual dose is 1mSv)
  • Level 1 - Exposure of a member of public above statutory annual limit. Minor safety problems
(Source: UN nuclear agency, IAEA)

อธิบายปัญหากันง่ายๆว่า ในเตาปฏิกรณ์มีแท่งเชื้อเพลิง ซึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีแท่งควบคุมการเกิดปฏิกิริยาเลื่อนขึ้นมาหยุดปฏิกิริยา แต่เนื่องจากระบบทำความเย็นใช้งานไม่ได้เพราะเครื่องจ่ายไฟเสียหาย น้ำที่หล่อแท่งเชื้อเพลิงจึงเดือดกลายเป็นไอ ปริมาณน้ำจึงลดระดับลงจนแท่งเชื้อเพลิงมีความร้อนสูงและหลอมเหลวบางส่วน โลหะผสมเซอร์โคเนียมที่หุ้มแท่งเชื้อเพลิงจึงทำปฏิกิริยากับไอน้ำเกิดก๊าซไฮโดรเจน เมื่อวิศวกรระบายก๊าซออกมาจึงเกิดการระเบิดขึ้น

No comments: