Saturday, April 18, 2015

เศรษฐกิจไทยช่วงหกเดือนที่่่านมา

เช้านี้ วัน้สาร์ นั่งฟังรายการนายกพบประชาชนที่มารีรัน หลังจากนายกพูดก็มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาพูดให้ฟังต่อ

ฟัง ม.ล. ปรีดิยาธร เทวกุลอธิบายสภาพเศรษฐกิจของไทยช่วงหกเดือนที่่านมา  ก็ดีนะคะ  ปกติได้แต่อ่านจากหนังสือพิมพ์  ได้ฟังการชี้แจงจากแหล่งข้อมูลต้นทางแบบนี้`ชัดเจนดี


โดยสรุป ทราบว่า อัตราขยายตัวของ  GDP `เดิมในปีที่่านมาประมาณ 0.6% ซึ่งถือว่าต่ำ รัฐบาลจึงใช้วิธีงเร่งใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ จ่ายเงินมากทำให้ขยายตัวสูงขึ้นมาถึง .55% เป็น  2.3% โดยมีการขยายตัวภาคเอกชน   และการท่องเที่ยว สามปัจจัยนี้ทำให้เศรษฐกิจโต

ไตรมาสที่สอง  ภาครัฐยังขยายตัวต่อไป  เอกชนก็ขยาย  และการส่งออกบริการหรือการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้น   แม้ว่าการส่งออกจะติดลบถึง 4% แต่เนื่องจากการลงทุนภาครัฐ  เอกชนและอื่นสูงขึ้น ก็จะไม่น่าเป็นห่วง

สรุป เศรษฐกิจของไทยถึงการส่งออกจะต่ำเพราะโลกชะลอตัวลง จีนซื้อสินค้าเราลดลง  ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซ๊ยนก็ลด มีแต่อเมริกาที่เพิ่มได้  แต่ในไตรมาสต่อไป โลกได้กระตุ้นเศรษฐกิจมาก  เชื่อว่าเราจะมียอดส่งออกที่ไม่ลดลงอีกต่อไป  เมื่อรวมกับการขยายตัวของการลงทุนและการท่องเที่ยว  เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสองและสามของปีนี้น่าจะดีขึ้น

หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ข้อมูลต่อ ซึ่งก็มีการขยายตัวดี มีประเด็นที่ชี้แจงเพิ่มคือกระบวนการในการอนุมัติโรงงาน  เหมืองแร่ก่อน คสช เข้ามาค่อนข้างช้า  หลังจาก คสช เข้ามาได้มีกำหนดเวลาการทำงาน การอนุมัติทำได้มากและเร็วไม่ล่าช้า  เป็นเหตุลทำให้หลังจาก   22  พฤษภาคม ปีที่แล้วโครงการได้รับอนุมัติมีจำนวนมาก

จุดอ่อนของเศรษฐกิจคือข้าว และยางพารา หกเดือนที่่านมาราคาต่ำกว่าปีก่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ชี้แจงการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรว่า เมื่อเข้ามามีปัญหาสต๊อกข้าวมาก  ราคายางเป็นปัจจัยจากราคาน้ำมันลดลง  ได้มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรหนึ่งพันบาทต่อไร่  และมีความช่วยเหลือทางอ้อม เช่น การจ้างงาน   การอบรม  การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง   แต่สิ่งที่เกิดมีลจากความแล้ง มาตรการหลักที่ดำเนินการอยู่คือ การช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก  ให้เกษตรกรคิดอ่านอาชีพของตนเอง  ปรับปรุงอาชีพ ปรับปรุงลิตภัณฑ์  จัดการแหล่งน้ำ แปรรูปลลิต ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  ฯลฯ
ยางพารามีปัญหาทางดครงสร้างมากกว่าเพราะไม่ใช่อาหาร แต่เป็นส่วนประกอบสร้างลิตภัณฑ์อื่น  มาตรการที่ช่วยเหลือคือการอัดฉีดเงินหนึ่งพันบาท ส่งเสริมสหกรณ์โดยให้เงินกู้หมุนเวียน วงเงินหมื่นล้านบาท  ให้สินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างระยะยาว ปรับเป็นเกษตรสมสาน  กู้ได้รายละไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ทั้งหมดเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ต่อไปคงต้องปรับโครงสร้างให้ดีขึ้น
ประมง  เดิมลดลงเพราะเกิดโรคตายด่วน  ปัจจุบันปรับขึ้นมากแล้ว  โรคตายด่วนมีเรื่องสิ่งแวดล้อมและแม่พันธ์ุ

สรุปอีกครั้งโดย ม.ล. ปรีดิยาธรว่า  ถึงแม้การส่งออกติดลบถึง 4% ปัจจัยอื่นน่าจะมาช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น

No comments: