ช่วงนี้มีข่าวคราวต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของคนในอำเภอท่าศาลา ตามข่าวจาก Facebook เรื่อยๆก็เห็นว่ามีการนัดชุมนุมกันที่หน้าอำเภอ วันที่ 22 และ 24 กุมภาพันธ์ เวลาขับรถจะเห็นหลายบ้านเขียนป้ายไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ติดอยู่หน้าบ้าน เขียนแบบง่ายๆไม่เน้นสวย แต่มีจำนวนมากใช้ได้ เห็นตั้งแต่แถบกลายไปถึงสระบัว คิดว่าชาวบ้านตื่นตัวกันมากใช้ได้ทีเดียว
ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจองชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม เกิดความกดอากาศสูลจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย และสภาพอากาศปิด (inversion) ด้วย
การดำเนินการแก้ไขปัญหา
- กำหนดจำนวนโรงไฟฟ้าที่พีงจะพัฒนาได้ในบริเวณลุ่มแม่เมาะ
- กำหนดความสูงของปล่อง
- กำหนดประสิทธิภาพและเทคโนโลยีของเครื่องดักฝุ่น
- กำหนดให้ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเซอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 12 และ 13 (ชนิด wet Scrubber ประสิทธิภาพ 92%)
- กำหนดเลือกใช้เตาเผาชนิด Low Nox Burner
นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งเครือข่ายสถานีอุตุนิยมวิทยา และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบริเวณลุ่มแม่เมาะ ปัจจุบันมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศชนิดต่อเนื่องตลอดเวลา 12 สถานี"
http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=2
ปัญหามลภาวะอากาศโรงไฟฟ้าแม่เมาะปี 2535
ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจองชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม เกิดความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย และสภาพอากาศปิด (inversion) ด้วย
การดำเนินการแก้ไขปัญหา
การดำเนินการแก้ปัญหา กฟผ. ได้กำหนดมาตรฐานการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. มาตรการระยะยาว
ในการดำเนินการแก้ปัญหาในระยะยาว ครม. ได้มีมติให้ กฟผ. ติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่่ 8-11 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง และโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 12-13 ซึ่งดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมกับตัวโรงไฟฟ้า ส่วนโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-3 เป็นเครื่องเก่าไม่เหมาะสมที่จะติดตั้ง จะเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศโปร่ง
2. มาตรการระยะสั้น
เนื่องจากการดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-11 ซึ่งแล้วเสร็จในต้นปี 2541 ดังนั้นในระหว่างช่วงฤดูหนาวปี 2536 - 2540 กฟผ. ได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาปัญหามิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน ดังนี้
- ลดกำลังผลิตในช่วงสภาวะอากาศไม่อำนวย (ระหว่าง 01:00-12:00 น.ในปี 2536-2537 และระหว่าง 06:00-13:00 น. ในปี 2537-2540) ลงเหลือประมาณ 700-1,000 MW
- กำหนดการหยุดซ่อมแซมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ตรงกับช่วงฤดูหนาว
- สำรองใช้ถ่านลิกไนต์เปอร์เซนต์ซัลเฟอร์ต่ำ (น้อยกว่า 2 เปอร์เซ๊นต์ซัลเฟอร์) ใช้ในช่วงสภาะอากาศไม่อำนวยในฤดูหนาวปี 2536-2540 และหาถ่านลิกไนต์ เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (1 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์) จากแหล่งภายนอก (บริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด, บริษัท บ้านปู จำกัด, บริษัท เหมืองเชียงม่วน จำกัด และ บริษัท ชัยธารินทร์ จำกัด) มาเสริมสำหรับฤดูหนาวปี 2537-2541
- ใช้น้ำมันดีเซลเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ต่ำ (0.5-0.6 เป็นเซ็นต์ซัลเฟอร์) เสริมในช่วงวิกฤติกรณที่พบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ณ สถานีใดสถานีหนึ่งกำลังสูงขึ้น
- ปรับปรุงกระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ ที่มีอยู่ให้เป็นระบบ Real time Air Qality Monitoring และเชื่อมดยงผลการตรวจวัด ให้สามารถอ่านค่าได้ที่ห้องควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (จำนวน 8 สถานี ก่อนพฤศจิกายน 2537 และเพิ่มเป็น 12 สถานี หล้ังพฤศจิกายน 2537)
- ดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาคอมพิวเตอร์ ในขณะนี้มีสถานะตรวจวัดคุณภาพอากาศชนิดต่อเนื่อง 12 สภานี ส่วนระบบ Air Quality Warning System กำลังขอให้ AUSAID ดำเนินการ
ปัญหาและอุปสรรค
- การลดกำลังผลิตที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งในช่วง 06:00-13:00 น. ในฤดูหนาวปี 2537-2538 ลงต่ำถึง 700 เมกกะวัตต์ เพื่อรักษาระดับคุณภาพอากาศไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน มีผลกระทบต่อระบบการผลิดเพราะจำเป็นต้องผลิดไฟฟ้าจากแหล่งผลิดไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ๆ ในระบบ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้เพียงพอ
- มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศสำหรับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อนเกิดเหตการณ์มลภาวะอากาศแม่เมาะปี 2535 ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานช่วงสั้น ๆ คือค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีแต่ค่าเฉลี่ย 1 วัน(300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และค่าเฉลี่ย 1 ปี (100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ต่อมากรมควบคุมมลพิษได้ให้ใช้ค่าเบื้องต้นเฉลี่ยน 1 ชั่วโมง 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง สำหรับพืิ้นที่อำเภอแม่เมาะ ส่วนการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยกรมอนามัย (เริ่มทำการศึกษาวิจัยเดือนตุลาคม 2537) จะเป็นส่วนประกอบการพิจารณาปรับปรุงมาตรฐานในอนาคต
- ปริมาณถ่านคุณภาพดี ที่มีเปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์เจือปนต่ำ ในบ่อเหมืองลิกไนต์แม่เมาะมีปริมาณน้อยและยากต่อการจัดการเพื่อนำมาใช้ในช่วงฤดูหนาว ขณะนี้ กฟผ. ได้ทำการแก้ไขโดยซื้อถ่านจากเหมืองเอกชนมาเสริมในฤดูหนาวปี 2537-2541 เป็นจำนวน 1,039,000 ตัน แต่มีขึดจำกัดที่การขนส่งโดยรถบรรทุกและถ่านจากเหมืองเอกชนมีค่าความแข็งสูง อาจจะมีปัญหากับเครื่องโม่และเครื่องบดได้
- ราษฏรที่ได้รับผลกระทบไม่เชื่อข้อมูลของทางราชการ เกี่ยวกับผลการพิสูจน์ความเสียหายเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่อพืชและสัตว์ ตลอดจนการวินิจฉัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยเนื่องมาจากสาเหตุของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชาวบ้านชุมนุมร้องเรียนในเดือนตุลาคม 2537 เพื่อให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เสร็จโดยเร็ว และให้ กฟผ. รักษาพยาบาลฟรีแก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโรคต่อเนื่องรวมทั้งจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายต่อพืชและสัตว์ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหารัฐบาลได้ตั้งคณะอนุกรรมการชดใช้ค่าเสียหายแ่ก่ราษฏรที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีรองผู้ว่างราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยตัวแทนหน่วยราชการ ตัวแทนชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวิฒิ และ กฟผ. มีหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายแก่ราษฏรที่ได้รัีบผลกระทบ
การประสานงานและการดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ
กรมควบคุมมลพิษ กับ กฟผ.
- กรมควบคุมมลพิษ ขอความช่วยเหลือทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมา US Environment Protection Agency (USEPA) และ US Department of Energy (USDOE) มาตรวจสอบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2535 โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก US Agency for International Developemnt (USAID) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สรุปว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะอากาศปิด ทำให้ควันจากปล่องไม่สามารถระบายสู่บรรยากาศชั้นบนได้ (Fumigation) พร้อมทั้งเห็นควรให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายไทยในเรื่องการตรวจสอบ audit เครื่องมือตรวจวัดการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศ และให้เจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษและ กฟผ. ไปอบบรมที่ USEPA
- การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับคาดการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่แม่เมาะ กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. ร่วมกับ USEPA และ Nation Oceanic Atmosheric Administration (NOAA) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก USAID และ กฟผ. ดำเนินการปรับปรุงและทดสอบแบบจำลองที่เหมาะสมกับพื้นที่แม่เมาะ โดยพิจารณากรณีการเกิด Fumigation ร่วมอยู่ในแบบจำลอง การศึกษาขึ้นต้นแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2537 และในปี 2538 กรมควบคุมมลพิษ และ กฟผ. จะดำเนินการต่อเนื่องจาก USEPA/NOAA ในการ Validate แบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยมีงบประมาณสำรหับการดำเนินการจากกรมควลคุมมลพิษ 35 ล้านบาท และจาก กฟผ. อีกจำนวนหนึ่ง
- การพิจารณาแนวทางเลือก ในการควบคุมการะบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากหน่วยผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-7 จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ "Development of System Wide Emission Control Strategies Application to Mae Moh Power Plants" โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2537 แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2537
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยความช่วยเหลือของ USEPA และวิทยาลัยสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือของ กฟผ. และกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำแผนและรายละเอียดผลกระทบของมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะต่อสุขภาพอนามัย โครงการมีระยะเวลา 5 ปี เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2537 ใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 31 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเงินสนับสนุนจาก กฟผ. 14.5 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก ส่วน 3 ปีหลัง กรมอนามัยจะตั้งงบประมาณดำเนินการเอง
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่มีผลต่อพืชและสภาพดินและน้ำ และการใช้ประโยชน์ของยิปซัมและขึ้เถ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเพื่อการเกษตร โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2537 เป็นระยะเวลา 3 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 3.335 ล้านบาท โดยใน 2 ปีแกร กฟผ. สนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นเงิน 2.57 ล้านบาท ส่วนในปีสุดท้าย จะใช้งบของกรมวิชาการเกษตร
http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=3
ปัญหามลภาวะอากาศโรงไฟฟ้าแม่เมาะปี 2541
เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2541 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะทางอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีสาเหตุจากการที่เครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขัดข้อง ต้องหยุดซ่อมฉุกเฉิน และประกอบกับเป็นช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนทำให้เกิดผลกระทบขึ้น กฟผ. ได้ดำเนินการดังนี้
- การตรวจสอบความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือ
กฟผ. ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ อำเภอแม่เมาะ โรงพยาบาลแม่เมาะ สาธารณสุขอำเภอ เกษตรอำเภอ ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าไปช่วยเหลือราษฎรที่เจ็บป่วยจัดพาหนะ รับ-ส่ง ราษฎรที่เจ็บป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่เมาะรวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรของราษฎรเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป - การชดเชยค่าเสียหาย
ได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างอำเภอแม่เมาะ ตัวแทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบและ กฟผ. เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย ให้แก่ราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบ จำนวน 1,225 ราย จาก 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน ของอำเภอแม่เมาะ โดยจ่ายเป็นค่าชดเชยให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย จำนวน 868 ราย เป็นเงิน 2,683,921 บาท จ่ายเป็น ค่าชดเชยแก่ราษฎรที่พืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบจำนวน 1,211 ราย เป็นเงิน 28,886,247.50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,570,168.50 บาท - การดำเนินการแก้ไขปัญหา
คณะรัฐมนตรี และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญญา และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะ ได้มีมติให้มีมาตรการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้- ให้ กฟผ. ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณ ต้นปี 2543 นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-13 ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำเข้าใช้งานแล้ว ส่วนโรงไฟฟ้า เครื่องที่ 1-3 เป็นเครื่องเก่าไม่เหมาะสมที่จะติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ให้เดินเครื่องน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และเพื่อให้เพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้าให้กับ 5 จังหวัด ภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน และลำปาง ให้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-7 ซึ่งยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ผลิตไฟฟ้ารวมกันไม่เกิน 500 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตที่มีอยู่ 825 เมกะวัตต์ รวมทั้งควบคุมปริมาณการระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1-13 รวมกันแล้วไม่เกิน 15 ตันต่อชั่วโมง
- ให้มีถ่านลิกไนต์กำมะถันต่ำสำรองไว้ใช้ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะตลอดเวลา โดยใช้ถ่านซึ่งจัดซื้อจากเอกชน มีส่วนผสมของซัลเฟอร์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์ และถ่านคุณภาพดีของเหมือง แม่เมาะซึ่งมีส่วนผสมของซัลเฟอร์น้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ซัลเฟอร์
- ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีอยู่ให้เป็นระบบ REAL TIME AIR QUALITY MONITORING และเชื่อมโยงผลการตรวจวัดให้สามารถอ่านค่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ห้องศูนย์ควบคุมการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และโรงพยาบาลแม่เมาะ
- กรมควบคุมมลพิษจะสรุปค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่จุดวัดต่างๆ ส่งให้ราษฎรทราบโดยผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา เพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการฯ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล.) ในปี 2533 กฟผ. ได้วางแผนให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 12-13 มีระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization System) แบบเปียก (Wet Limestone Process) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สูงประมาณ 92% โดยดำเนินการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ไปพร้อมกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2538 ขณะเดียวกันได้ศึกษาความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องอื่น ๆ ที่ได้เดินเครื่องจ่ายไฟเข้าระบบแล้ว ในเดือนตุลาคม 2535 ได้เกิดมลภาวะทางอากาศที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ สาเหตุเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิมและสภาพอากาศปิด (Inversion) ในช่วงฤดูหนาว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตลอดจนทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง กฟผ. ได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดผลกระทบของก๊าซซัลเฟอร์ฯ โดยลดกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าลงเมื่อตรวจพบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ เกินค่ามาตรฐานในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8-11 โดยเลือกระบบแบบเปียก (Wet Limestone Process) มี ประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สูงประมาณ 95% มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2539 นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ว่าจ้างบริษัท KBN Engineering and Applied Sclences, Inc. แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการศึกษาควบคุมสิ่งแวดล้อมทางอากาศในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และในขณะเดียวกัน กรมควบคุมมลพิษร่วมกับ กฟผ. โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก United States Agency for International Development (USAID) ได้ว่าจ้างบริษัท Sargent & Lundy Engineers จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการ "Development of System Wide Emission Control Strategies Application to Mae Moh Power Plant" ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ค่ามาตรฐานของปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ ในคาบเฉลี่ย 1 ชั่วโมงที่เหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ คือ 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และควรติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ แบบเปียก (Wet Limestone Process) สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ระบบแบบเปียกนี้จะใช้หินปูนเป็นวัตถุดิบ เพื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซซัลเฟอร์ฯ โดยใช้หินปูนจากบริเวณตอนใต้ของดอยผาตูบ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ ใกล้กับบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 มีความต้องการใช้หินปูนประมาณ 34 ตันต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ย 0.24 ล้านตันต่อปี รวมปริมาณความต้องการใช้หินปูนสำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-13 ประมาณ 127 ตันต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ย 0.89 ล้านตันต่อปี งานติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ นี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,230 ล้านบาท หรือ 127 ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้เวลาในการดำเนินงานหลังจากได้รับอนุมัติจากรัฐบาลประมาณ 40 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถเดินเครื่องระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 6-7 ได้ในเดือนมิถุนายน 2542 และสำหรับโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-5 ได้ในเดือนสิงหาคม 2542 ในกรณีที่ใช้ถ่านลิกไนต์ที่มีปริมาณกำมะถันเฉลี่ย 2.8% ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ สำหรับ โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 สามารถกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ได้ประมาณปีละ 140,000 ตัน หรือ 2,268,000 ตัน ตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า ซึ่งช่วยบรรเทาและแก้ไขการเกิดมลภาวะทางอากาศจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ โดยสามารถควบคุมปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ฯ ให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ 2. ข้อมูลจากเว็บของ Green Peace "Hazardous emissions from Thai coal-fired power plants: Toxic and potentially toxic elements in fly ashes collected from the Mae Moh and Thai Petrochemical Industry coal-fired power plants in Thailand, 2002"http://maemoh.egat.com/index_maemoh/index.php?content=environment&topic=4
การติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
http://www.greenpeace.to/publications/Thai%20fly%20ash%20report%20FINAL.pdf