Wednesday, May 23, 2007

รับน้อง..ประเพณีของปัญญาชนที่ไม่ยอมใช้ปัญญาที่มี

ที่นี่ก็มีการรับน้อง ปีนี้คิดว่าจะดำเนินไปด้วยปี กลับกลายเป็นว่ามีเหตุที่ไม่น่าจะเกิดเอาดื้อๆ เสียดายกับสิ่งที่ต้องเสียไปในเหตุการณ์นี้จริงๆ

21 พฤษภาคม ตอน 8 โมงเช้า ที่ที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ควรอยู่คือ ศาสนสถานตามศาสนาของตนเองซึ่งรุ่นพี่ได้เตรียมการไว้ไห้ไปทำศาสนกิจ ซึ่งจะเป็นสถานที่ในเมือง จะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองมาแสดงความยินดีกับนักศึกษาปีนี้ มีของจัดเตรียมไว้ให้ รถที่รอรับก็เตรียมพร้อม แต่นักศึกษายังรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณหน้าหอพัก!!!

เกิดอะไรขึ้น ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมหายไปไหน? อยากจะถามคำถามนี้เสียจริงๆ แต่ก็รู้ว่าจะไม่ได้คำตอบที่แสดงให้เห็นว่ามีสำนึกต่อความเสียหายที่ก่อไว้ แต่จะเป็นคำตัดพ้อต่อการกีดกั้นเสรีภาพในการรับน้อง

ทำไมปัญญาชนถึงไม่ยอมใช้ปัญญา หรือที่เราคิดว่าเขาเป็นปัญญาชนมันไม่ใช่?

ได้รับโทรศัพท์จากนักศึกษาคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคณะทำงานจัดกิจกรรมรับน้อง โทรมาถามว่ารู้สถานการณ์ที่นักศึกษาปี 1 ไม่ได้ไปศาสนกิจหรือเปล่า ตอบว่าไม่รู้ เพิ่งตื่นตอนได้รับโทรศัพท์นี่เอง เขาบอกว่ากำลังมีการประชุมกันที่อาคารบริหาร ก็บอกเขาว่าจะตามไป

ตอนที่เข้าไปในที่ประชุม มีกรรมการองค์การนักศึกษา เข้าประชุมร่วมกับส่วนกิจการนักศึกษา มีที่ปรึกษากลุ่มสัมพันธ์เข้าประชุมด้วย เขาคุยกันมาพักใหญ่แล้ว ได้ฟังข้อมูลว่านักศึกษาปีสองได้มีการประชุมกลุ่มสัมพันธ์กันเนื่องจากเมื่อคืนมีเรื่องที่นักศึกษาปี 1 ของกลุ่ม 10 ลงมาจากหอเพื่อขอให้พี่ๆช่วยซ้อมเชียร์ให้ พี่ๆบอกว่าน้องลงมาเองไม่ได้บังคับให้ลงมา ในขณะที่ทางส่วนกิจการนักศึกษาก็บอกว่างั้นก็ต้องให้ปี 2 บอกให้น้องปี 1กลับหอไปเพราะขัดกับกติกาที่ตกลงเรื่องกิจกรรมรับน้องไว้เพียง 2 ทุ่ม นอกจากเรื่องนี้ทราบว่านักศึกษาปี 2 ได้ข่าวว่าจะมีการยุบกลุ่มบางกลุ่ม (ซึ่งไม่เป็นจริงตามนั้น) และคงมีเรื่องอื่นๆประกอบอีก แต่ข้อสรุปคือนักศึกษาปี 2 ขอยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ข้อที่ 1 คือขยายเวลาการรับน้องจาก 2 ทุ่มเป็น 4 ทุ่ม ข้อที่ 2 คือการขอยกเลิกการใช้บัตรเหลืองและบัตรสีฟ้าที่จัดให้สำหรับนักศึกษาที่นำนันทนาการและดูแลกิจกรรมรับน้อง นักศึกษาขอให้อนุญาตให้นักศึกษารุ่นพี่คนอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยไม่มีข้อจำกัด และข้อที่ 3 ขอให้กิจกรรม Walk Rally สามารถดำเนินกิจกรรมได้เหมือนการรับน้องครั้งก่อนๆโดยไม่ต้องถูกจำกัดว่าจะดุหรือบังคับน้องไม่ได้เลยเหมือนที่กำลังถูกจำกัดในกติกาปีนี้

อธิการบดีไม่ได้เข้าประชุมเพราะติดภารกิจที่อื่น แต่รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (ผ.ศ. ดร. มารวย) ได้นำข้อตัดสินจากอธิการบดีมาแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ไม่ตกลงทุกข้อเสนอที่เรียกร้องมา และกิจกรรมรับน้องโดยเฉพาะวันนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมนำนักศึกษาไปร่วมศาสนกิจ ให้ประกาศแก่นักศึกษาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทุกคนให้ขึ้นรถภายใน 10 นาฬิกา ถ้าไม่ให้ความร่วมมือก็ถือว่าไม่ยุติกิจกรรม

หลังการประชุม ฉันไปที่บ้านกลุ่มสัมพันธ์ และพบว่านักศึกษาไปอยู่กันที่หน้าหอ 5 แบ่งกันเป็นบ้านๆเป็นระเบียบ นักศึกษาปี 1 อยู่ในชุดนักศึกษาเรียบร้อย ฉันลองถามดูว่าจะไปร่วมกิจกรรมหรือไม่ นักศึกษาปี 1ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไม่ไป" ฉันถามต่อว่าทราบเหตุผลหรือเปล่าว่าทำไมเราถึงควรจะไม่ไป นักศึกษาตอบว่า "ไม่ทราบ ไม่ไปเพราะพี่ไม่ให้ไป" คำพูดเหล่านี้เป็นคำที่ฉันได้ยินเองกับหู แล้วจะไม่ให้เสียใจกับการตัดสินใจที่ไม่ใช้ปัญญาแบบนี้ได้อย่างไร

นักศึกษาปี 2 เข้าใจหรือไม่ว่ากิจกรรมรับน้องจัดขึ้นเพื่ออะไร การที่ดำเนินกิจกรรมไปโดยไม่เคารพกติกาและไม่นึกถึงผลที่จะตามมา ถามว่าความรับผิดชอบอยู่ที่ไหน

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทั้งชั้นปีไม่มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมศาสนกิจในปีนี้ เป็นปี 1 รุ่นแรกที่ขาดโอกาส โดยที่ตัวเองไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร

ค่าใช้จ่ายในการติดต่อรถเข้าเมือง 35 คัน แสน-สองแสนบาท ละลายไปเฉยๆโดยไม่มีอะไรกลับมา เสียเวลาคนขับรถแถมยังอาจจะโดนดูถูกซ้ำว่าวางแผนกันเป็นแค่นี้นะหรือ เช่ารถมารอเฉยๆ ไม่มีใครได้ใช้ประโยชน์ เงินภาษีของใครที่จ่ายไป

กิจกรรมลงชุมชนของวันรุ่งขึ้นต้องถูกระงับโดยปริยายเพราะไม่มีใครแน่ใจว่าพรุ่งนี้จะดำเนินการอย่างไร กิจกรรมดีอย่างนี้ ปี 1 ไม่มีโอกาสได้สัมผัสอีกแล้ว

ที่เสียหายมากที่สุดคือภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ที่ต้องไปขอโทษผู้ใหญ่ในเมืองทั้งภาคราชการที่เตรียมการเพื่อต้อนรับนักศึกษาปี 1 เข้าเมือง ท่านเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุที่ได้ขออนุญาตนำนักศึกษาไปแห่ผ้าขึ้นธาตุในวัด ทั้งๆที่ช่วงนี้ทางวัดเนืองแน่นไปด้วยคนจากทุกสารทิศเข้ามาจัดพิธีบวงสรวงจตุคามรามเทพ การที่นักศึกษาเข้าไปดำเนินศาสนกิจที่นั่น ทำให้วัดยิ่งแออัดเข้าไปใหญ่ แต่ทุกฝ่ายก็ยอม เพื่อให้กิจกรรมสำหรับปี 1 ได้มีความทรงจำที่งดงาม ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เสียหายไปจากความต้องการรับน้องแบบเก่าๆ ที่เคยเห็นมาโดยไม่คำนึงถึงว่าวิธีรับน้องที่ดีควรเป็นอย่างไร

มหาวิทยาลัยอื่นเปลี่ยนรูปแบบกันไปนานแล้ว ที่นี่ยังรับน้องแบบโบราณ แล้วยังคิดว่าตัวเองรับน้องในแบบสำหรับคนรุ่นใหม่ ฉันคุยในกลุ่มสัมพันธ์ว่าการรับน้องแบบที่เขาอยากทำมันเป็นสิ่งที่ผิดไปจากติกาที่เขาตกลงกันไว้ นักศึกษาถามกลับมาว่า ไม่คิดว่านักศึกษาปัจจุบันมีความแตกต่างจากสมัยก่อนหรือครับ อนาถใจจนพูดไม่ออก บอกเขาว่าการรับน้องมันก็ไม่ผิดแผกแตกต่างกันมากหรอกตั้งแต่สมัยก่อนมาถึงสมัยนี้ ในแก่นแท้มันไม่ต่าง พูดได้แค่นั่นเพราะเหนื่อยใจเกินจะอธิบายต่อว่า สิ่งที่ต่างคือกิจกรรมที่จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร มีความคิดมากก็มีกิจกรรมที่มีความหมาย งดงาม ความคิดน้อยๆก็มีแต่กิจกรรมใช้แรง มีแค่สันทนาการ แล้วบอกว่าเคยรับน้องกันมาอย่างนี้ พี่น้องรักกันดี กิจกรรมที่เขาทำอยู่ตอนนี้เป็นกิจกรรมที่เคยเห็นมาตั้งแต่ 10ปีก่อนที่ตัวฉันเองจะอยู่ปี 1 มาถึงรุ่นฉัน กิจกรรมเริ่มเปลี่ยนให้รุนแรงน้อยลง ใช้ความใส่ใจของพี่ๆน้องเข้ามา พี่น้องก็รักกันดีเหมือนกัน

ปีนี้มหาวิทยาลัยต่างๆมีกิจกรรมรับน้องสร้างสรรค์มากมาย ม.ทักษิณได้รับรางวัลในการเสนอวิธีการรับน้องที่สร้างสรรค์โดยการนำน้องเข้าชุมชน ซึ่งของเราก็ทำ แต่รูปแบบอาจจะนำเสนอไม่ชัดเจนเท่า บางมหาวิทยาลัยจัดนักศึกษาไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ฯลฯ ที่นี่เป็นอะไร.... เสนอขอให้รับน้องจัดกิจกรรมสันทนาการนานขึ้น? มีอะไรที่แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อสังคมหรือชุมชนบ้างไหม?

กิจกรรมต่อจากนั้น ให้สำนักวิชาเข้ามาดูแลในช่วงบ่าย ทางสำนักวิชาต้องย้ายกิจกรรมที่เคยกำหนดไว้วันอื่นมาเป็นวันนี้ ก็เรียกตัวกันในทันที มาพบกับนักศึกษาปี 1

บ่ายสามโมงครึ่งวันเดียวกัน มีการประชุมที่ห้องประชุมศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาแนวทางจัดกิจกรรมรับน้องต่อ โดยจะให้ทางสำนักวิชาเข้ามารับดำเนินกิจกรรม มีแผรงานออกมาเรียบร้อย แต่มีแนวคิดเสนอมาว่าน่าจะให้โอกาสนักศึกษาปี 2 ให้แก้ตัวเพื่อปี 1 ทำกิจกรรมที่ดีเพื่อน้อง ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ทุกคน แต่ทุกคนก็บอกว่า จะลองก็ได้ ขอสรุปจึงให้ที่ปรึกษากลุ่มทุกกลุ่มเข้าไปคุยในกลุ่ม แล้วให้มารวมกลุ่มตอน 6 โมงครึ่งเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรต่อ

6โมงครึ่ง กลับไปประชุม กลุ่มที่ฉันไปคุยยังอยากจะรับน้อง แต่ทั้งนี้ก็คุยกันแล้วว่าการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ทุกกลุ่มต้องเห็นร่วมกัน กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดไม่ทำ ทั้งหมดก็จะไม่ทำ ในการประชุมรวมที่อาคารกิจกรรม เราคุยกันหลายความคิด เพราะบางกลุ่มก็ไม่ตัดสินใจ ในที่สุดสรุปว่าให้นำประธานกลุ่มของทุกกลุ่มไปคุยกันที่สำนักงานส่วนกิจการนักศึกษา เพราะช่วงนั้นน้กศึกษาปี 1 จะต้องเข้าหอประชุมใหญ่เพื่อฟังคำชี้แจงเรื่องทุน (ประธานกลุ่มบางคนยังทำท่ารีรอว่าจะไม่ไปคุย เห็นได้ชัดว่าไม่ไว้ใจส่วนกิจการ ซึ่งก็เป็นลักษระเดยวกัยกับอีกฝ่าย) ในที่ประชุม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาได้ชี้ให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วให้คุยแสดงความคิดเห็นกัน จนสุดท้ายยอมกันที่เวลา ให้ใช้เวลารับน้องจาก 3โมงครึ่งจนถึง 3 ทุ่ม แต่ข้ออื่นๆไม่ตกลง ในเวลาเดียวกันที่กำลังมีการประชุม ได้ข่าวว่านักศึกษาปี 1 (ยกเว้นนักศึกษาสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ซึ่งเป็นรุ่นแรกไม่มีรุ่นพี่ ยังคอยกันในห้องประชุม ซึ่งฉันถือว่าเป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล และกล้าหาญ) ถูกพี่ๆเรียกตัวให้ลงจากห้องประชุมไปที่หน้าอาคาร ฉันไม่เห็นภาพนี้เพราะยังคงอยู่ในที่ประชุม
ในที่ประชุมมีอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นศิษย์เก่าจากที่นี่ด้วย ได้ให้ความเห็นสั้นๆแต่ได้รับความชื่นชมมากว่า ตัวอาจารย์ยึดถือเรื่องกติกามาตลอด ในการทำเรื่องใดๆ เราต้องเล่นตามกติกา ในเมื่อกติกานี้มาจากการตกลงร่วมกันแล้วทำไมจึงไม่นับถือกติกานั้น สิ่งที่ควรทำคือการบริหารจัดการให้ได้ตากติกานั้นต่างหาก (จุดนี้มีนักศึกษาแสดงความเห็นเช่นกันว่า กติกาควรมีความยืดหยุ่นถ้ามันทำให้การดำเนินการทำไม่ได้ดี เช่น ได้ใช้เวลาจนถึง 2 ทุ่มมาแล้ว รู้ว่าไม่พอจึงอยากขอเป็น 4 ทุ่ม)

หลังจากนั้นพี่ๆน้องๆก็เข้าบ้าน มีการรับขวัญกันพอควร อย่างเช่นในกลุ่มที่ฉันไปดูอยู่มีการทำขนมโคเลี้ยงน้อง และต้มข้าวต้มเลียงน้อง ซึ่งเกินเวลาแน่นอน นักศึกษาก็มาปรึกษา ก็เลยบอกว่าทำไปเถอะแต่พยายามควบคุมเวลา แล้วเราไปแจ้งส่วนกิจการนักศึกษาไว้ให้ทราบว่านักศึกาได้มาขออนุญาตไม่ได้ทำอะไรพละการเกินข้อตกลง

วันรุ่งขึ้นยกเว้นช่วงกิจกรรมลงชุมชน นอกนั้นก็เป็นไปตามกิจกรรมเดิมที่กำหนด แต่ถ้าถามความเห็นส่วนตัวคงต้องบอกว่าผิดหวังมากกับการจัดกิจกรรมรับน้องในปีนี้





Friday, May 18, 2007

การแปรอักษร

เดือนมกราคมปีหน้าจะมีการจัดกีฬา

อียิปต์....ดินแดนมหัศจรรย์

อาทิตย์ที่แล้วได้ทำตามความฝันอีกเรื่องคือ ได้ไปดูปิรามิดที่อียิปต์ เป็นความหวังมานานที่ไม่คิดว่าจะมีโอกาสเพราะหาโอกาสไปก็ยาก หาคนไปด้วยก็ยาก การไปอียิปต์ครั้งนี้ถือเป็นความสุขใจมากๆอย่างหนึ่งในชีวิต

ทริปนี้อยู่ในช่วงวันที่ 10- 14 พฤษภาคม 2550 ได้ค้างที่อียิปต์ 3 คืน แต่ได้เที่ยว 5 วัน เพราะใช้เวลาเดินทางช่วงกลางคืนเสีย 2 คืน

ได้เขียนโปสการ์ดให้แม่ทุกวันเหมือนเคย เดี๋ยวเอาข้อความในโปสการ์ดมาโพสต์จะดีกว่า เพราะเขียนสดๆช่วงเวลานั้น เดี๋ยวค่อยมา update นะ


ยังไม่ได้ update เรื่อง แต่ส่งรูปมาแปะไว้ก่อนดีกว่า



หน้าตาปิรามิดทั้ง 3 แห่งเมืองกิซ่า มุมที่ถ่ายรูปนี้เป็นจุดที่เขาจัดขึ้นสำหรับถ่ายรูปโดยเฉพาะ ต้องนั่งรถเข้าไปในทะเลทรายให้ห่างปิรามิดพอควร เพื่อจะได้เก็บภาพของหมู่ปิรามิดได้ครบถ้วน สวยงาม มีคนมาเที่ยวชมมากทีเดียว จุดนี้จะมีแผงแบกะดิน ขายของที่ระลึกด้วย



ปิรามิดขั้นบันไดที่ฟาโรห์โซเชอร์เป็นผู้สร้าง เป็นปิรามิดยุคแรกก่อนจะปรับเปลี่ยนเป็นปิรามิดทรงเรียบที่คุ้นกัน ปิรามิดนี้อยู่ที่เมืองซัคคารา ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์


ต้นกกที่เห็นนี้คือ ปาปิรัส ที่เลื่องชื่อของอียิปต์ (ได้ยินคนอียิปต์ออกเสียงว่า "ปาไป๊หรุส") เราไปที่ National Papyrus Institute เขาสาธิตวิธีทำกระดาษให้ดูดูแล้วก็ไม่เห็นจะยาก ต้นกกนี่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของอียิปต์ล่างด้วย ถ้าตัดก้านกกในแนวขวางขะเห็นเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด



ตอนเช้าตื่นนอนขึ้นมาริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มองไปที่ปราสาทเก่าฝั่งตรงข้ามซึ่งกลายสภาพเป็นโรงแรมคาสิโนและเป็นร้านอาหารหรูที่เราไปกินมื่อเย็นกันมาด้วย อิ อิ ขนาดเล็กนี๊ดเดียวจริงๆ



รูปนี้ถ่ายระหว่างทางจากอเล็กซานเดรียตอนกลับไปไคไร คนขับรถขึ้นไปจอดกล้าหาญมาก นับถือจริงๆ

Tuesday, May 01, 2007

Reith Lectures ผลงานของ BBC ที่แสนจะมีประโยชน์กับคนทั้งโลก

วันหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้ลองค้นเว็บไซต์ของ BBC4 ตั้งใจจะหาไฟล์เสียงมาฝึกฟังภาษาอังกฤษ ตามลิงก์ไปเรื่อยๆอย่างเพลิดเพลินเจริญใจแล้วก็มาเจอเว็บนี้ค่ะ http://www.bbc.co.uk/radio4/reith/reith_history.shtml ซึ่งเป็นรายการของ BBC ที่จัดการบรรยายออกอากาศ โดยเชิญบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความคิด มีชื่อเสียง ให้มาบรรยายในสถานที่ต่างๆ 5 ครั้งใน 1 ปี (ไฮโซมาก เช่น บรรยายครั้งแรกในอังกฤษ บรรยายครั้งที่สองในจีน ครั้งต่อไปไปที่อเมริกา เป็นต้น) เมื่อบรรยายเสร็จแต่ละครั้งก็จะมีคนถามคำถาม ซึ่งคนถามบางคนก็ระดับเทพ

ทีแรกลองเลือกเนื้อหาการบรรยายของปี 2006 พบว่าน่าสนใจมากเพราะเป็นการบรรยายชนิดที่มีบทพูดอยู่ในเว็บด้วย เราสามารถฟังการบรรยายพร้อมๆกับอ่านเนื้อหาที่เขาพูดได้ทัน รู้สึกว่าชีวิตไม่รันทดจนเกินไป ก็เลยลองค้นดูประวัติของรายการนี้ ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นไปอีก


ข้อมูล: ขอยืมแปะไว้ก่อน เดี๋ยวจะมาเรียบเรียงค่ะ

The History of the Reith Lectures The Reith Lectures were inaugurated in 1948 by the BBC to mark the historic contribution made to public service broadcasting by Sir John (later Lord) Reith, the corporation's first director-general.


John Reith maintained that broadcasting should be a public service which enriches the intellectual and cultural life of the nation. It is in this spirit that the BBC each year invites a leading figure to deliver a series of lectures on radio. The aim is to advance public understanding and debate about significant issues of contemporary interest.
The very first Reith lecturer was the philosopher, Bertrand Russell who spoke on "Authority and the Individual". Among his successors were Arnold Toynbee (The World and the West, 1952), Robert Oppenheimer (Science and the Common Understanding, 1953) and J.K. Galbraith (The New Industrial State, 1966). More recently, the Reith lectures have been delivered by the Chief Rabbi, Dr Jonathan Sacks (The Persistence of Faith, 1990) and Dr Steve Jones (The Language of the Genes, 1991).
Other lecturers were Jean Aitchison (The Language Web, 1996), Patricia J. Williams (Race and Race Relations, 1997) John Keegan (War and Our World, 1998) Anthony Giddens (Runaway World, 1999). In 2000, five lecturers, Chris Patten, Tom Lovejoy, John Browne, Gro Harlem Brundtland and Vandana Shiva, spoke on Respect for the Earth, and then took part in a seminar hosted by the Prince of Wales. Tom Kirkwood examined The End Of Age in 2001 and Onora O'Neill lectured on A Question of Trust in 2002. Last Year, the neuroscientist V.S. Ramachandran dealt with The Emerging Mind.
Chronological List of Reith Lecturers

1948 Bertrand Russell Authority And The Individual
1949 Robert Birley Britain in Europe
1950 John Zachary Young Doubt and Certainty in Science
1951 Lord Radcliffe Power and The State
1952 Arnold Toynbee The World and The West
1953 Robert Oppenheimer Science and The Common Understanding
1954 Sir Oliver Franks Britain and Tide of World Affairs
1955 Nikolaus Pevsner The Englishness of English Art
1956 Sir Edward Appleton Science and The Nation
1957 George Kennan Russia, The Atom and The West
1958 Bernard Lovell The Individual and The Universe
1958 Peter Medawar The Future of Man
1960 Edgar Wind Art and Anarchy
1961 Margery Perham The Colonial Reckoning
1962 Prof. George Carstairs This Island Now
1963 Dr Albert Sloman A University in The Making
1964 Sir Leon Bagrit The Age of Automation
1965 Robert Gardiner A World of Peoples
1966 J K Galbraith The New Industrial State
1967 Edmund Leach A Runaway World
1968 Lester Pearson Peace In The Family of Man
1969 Dr Frank Frazer Darling Wilderness and Plenty
1970 Dr Donald Schon Change and Industrial Society
1971 Richard Hoggart Only Connect
1972Andrew Schonfield Europe: Journey To An Unknown Destination
1973Prof. Alistair Buchan Change Without War
1974Prof. Ralf Dahrendorf The New Liberty
1975Dr Daniel Boorstin America and The World Experience
1976Dr Colin Blakemore Mechanics of the Mind
1977Prof. A H Halsey Change In British Society
1978Rev. Dr E. Norman Christianity and the World
1979Prof. Ali Mazrui The African Condition
1980Ian Kennedy Unmasking Medicine
1981Prof. Laurence Martin The Two Edged Sword
1982Prof. Denis Donoghue The Arts Without Mystery
1983Sir Douglas Wass Government and the Governed
1984Prof. John Searle Minds, Brains and Science
1985David Henderson Innocence and Design
1986Lord McCluskey Law, Justice and Democracy
1987Prof. Alexander Goehr The Survival of The Symphony
1988Prof. Geoffrey Hosking The Rediscovery of Politics
1989Jacques Darras Beyond The Tunnel of History
1990Rabbi Dr Jonathan Sacks The Persistence of Faith
1991Dr Steve Jones The Language of the Genes
1992None None
1993Edward Said Representation of the Intellectual
1994Marina Warner Managing Monsters
1995Sir Richard Rogers Sustainable City
1996Jean Aitchison The Language Web
1997 Patricia Williams The Genealogy of Race
1998 John Keegan War In Our World
1999 Anthony Giddens Runaway World
2000Chris Patten, Sir John Brown, Thomas Lovejoy, Gro Harlem Brundtland, Vandana Shiva, HRH Prince of Wales Respect For The Earth
2001 Prof Tom Kirkwood The End Of Age
2002 Prof Onora O'Neill A Question of Trust
2003 V.S. Ramachandran The Emerging Mind
2004 Wole Soyinka Climate of Fear
2005 Lord Broers The Triumph of Technology
2006 Daniel Barenboim In the Beginning Was Sound