พาหนะเดินทางในวงโคจร
เรามักจะได้ข่าวกันเสมอว่าขณะนี้มียานอวกาศเดินทางขึ้นสู่วงโคจรของโลกอีกลำหนึ่งแล้วเพื่อปฎิบัติภารกิจเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เคยได้ยินชื่อยานโคลัมเบีย ยานแอตแลนติส ยานชาแลนเจอร์ และอีกหลายชื่อใช่ไหมคะ เคยนึกสงสัยไหมคะว่ายานแต่ละลำแตกต่างกันอย่างไร ยานใดถูกสร้างก่อนและทำไมถึงได้ชื่อที่เราคุ้นหู เช่นโคลัมเบีย เกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทหนังอย่างโคลัมเบียพิคเจอร์รึเปล่า ข้อมูลรายละเอียดเหล่านี้องค์การนาซา( NASA ) มีข้อมูลให้เราได้ไปศึกษากันที่ http://science.ksc.nasa.gov/shuttle/resources/orbiters/orbiters.html และในที่นี้ก็จะสรุปข้อมูลที่น่ารู้บางส่วนให้ทราบกันค่ะ
ชื่อของยานแต่ละลำมาจากไหน
ยานอวกาศของอเมริกาส่วนใหญ่ถูกตั้งชื่อตามเรือเดินสมุทรยุคบุกเบิกที่มีชื่อในด้านการวิจัยและสำรวจ นาซาได้ศึกษาลงในรายละเอียดหนังสือประวัติศาสตร์เพื่อหาเรือที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในการค้นพบเกี่ยวกับมหาสมุทรในโลกหรือเกี่ยวกับโลกเอง หรืออาจจะได้ชื่อจากการเลือกในระดับนานาชาติ เช่น ยานลำใหม่สุดคือ เอนเดียเวอร์ ( Endeavour )ถูกเสนอชื่อโดยนักเรียนจากทั่วโลก และเราจะเห็นว่ายานแต่ละลำมีชื่อเรียกเป็น OV แล้วตามด้วยหมายเลข เช่น OV-101 ซึ่งเป็นหมายเลขของยานเอนเทอร์ไพร์ซ โดย OV มาจากคำว่า Orbiter Vehicle หรือพาหนะเดินทางในวงโคจร นั่นเอง
ขณะนี้มียานอวกาศกี่ลำ
ที่เราได้ยินชื่ออยู่ในปัจจุบันมี 2 ลำคือ
1. ยานแอตแลนติส ( Atlantis (OV-104) )
2. ยานเอนเดียเวอร์ (Endeavour (OV-105))
เราอาจจะบอกว่า ไม่ใช่ละมั๊ง เคยได้ยินชื่อยานอื่นๆอีก เช่น ยานเอนเทอร์ไพร์ซ ยานชาแลนเจอร์ ยานโคลัมเบีย ยานที่กล่าวถึงนั้นเป็นยานที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ทดสอบหรือปลดประจำการไปด้วยสาเหตุต่างๆไปแล้วค่ะ ซึ่งได้แก่
1. Main Propulsion Test Article (MPTA-098)
2. ยานพาธไฟน์เดอร์ ( Pathfinder )
3. ยานชาแลนเจอร์ (Challenger (STA-099,OV-99)) : ยานระเบิดในปี 1986
4. ยานเอนเทอร์ไพร์ซ (Enterprise (OV-101))
5. ยานโคลัมเบีย (Columbia (OV-102)) : ยานระเบิดในปี 2003
1. Main Propulsion Test Article (MPTA-098)
2. ยานพาธไฟน์เดอร์ ( Pathfinder )
3. ยานชาแลนเจอร์ (Challenger (STA-099,OV-99)) : ยานระเบิดในปี 1986
4. ยานเอนเทอร์ไพร์ซ (Enterprise (OV-101))
5. ยานโคลัมเบีย (Columbia (OV-102)) : ยานระเบิดในปี 2003
6. ยานดิสคัฟเวอรี ( Discovery (OV-103) ) หลังการประจำการได้ 27 ปี ถูกปลดระวาง เที่ยวบินสุดท้ายวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 9 มีนาคม 2554
ลำดับเหตุการณ์ของยานยานทดสอบลำแรกคือ ยานเอนเทอร์ไพร์ซ ต่อจากนั้นยานโคลัมเบียถูกสร้างขึ้นและเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่บินสู่วงโคจรโลกในปี 1981 ภายในเวลา 10 ปีต่อมา ยานน้องอีก 4 ลำก็ได้เข้าสู่ฝูงบิน คือยานชาแลนเจอร์ ซึ่งเข้าประจำการในปี 1982 แต่ยานระเบิดไปในเวลา 4 ปีถัดมา จากนั้นเป็นยานดิสคัฟเวอรีเข้าประจำการในปี 1983 ยาน แอตแลนติส เข้าประจำการในปี 1985 และยาน เอนเดียเวอร์ซึ่งถูกสร้างขึ้นแทนยานชาแลนเจอร์ เข้าประจำการในปี 1991.
ยานเอนเทอร์ไพร์ซ (Enterprise)
ลำดับเหตุการณ์ของยานยานทดสอบลำแรกคือ ยานเอนเทอร์ไพร์ซ ต่อจากนั้นยานโคลัมเบียถูกสร้างขึ้นและเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่บินสู่วงโคจรโลกในปี 1981 ภายในเวลา 10 ปีต่อมา ยานน้องอีก 4 ลำก็ได้เข้าสู่ฝูงบิน คือยานชาแลนเจอร์ ซึ่งเข้าประจำการในปี 1982 แต่ยานระเบิดไปในเวลา 4 ปีถัดมา จากนั้นเป็นยานดิสคัฟเวอรีเข้าประจำการในปี 1983 ยาน แอตแลนติส เข้าประจำการในปี 1985 และยาน เอนเดียเวอร์ซึ่งถูกสร้างขึ้นแทนยานชาแลนเจอร์ เข้าประจำการในปี 1991.
ยานเอนเทอร์ไพร์ซ (Enterprise)
ยานแรกที่ขึ้นสู่วงโคจรโลกลำนี้ถูกตั้งชื่อในรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นเกียรติในการฉลองรัฐธรรมนูญของอเมริกาครบ 200 ปีโดยได้รับการโหวตจากผู้ชมภาพยนตร์ทีวีชุด Star Trek ให้เลือกชื่อ Enterprise ตามชื่อของยานในภาพยนตร์ ในวันที่ 31 มกราคม 1977 ได้ถูกส่งไปที่ NASA's Dryden Flight Research Facility ที่ Edwards Air Force Base เพื่อทำการทดสอบการลงจอด การทดสอบนี้เกี่ยวข้องทั้งการทดสอบภาคพื้นและการบิน นอกเหนือจากการใช้เป็นยานทดสอบในหลายปฎิบัติการแล้ว ยานเอนเทอร์ไพร์ซได้ถูกนำออกแสดงในหลายประเทศทั่วโลก ในที่สุดในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1985 ยานเอนเทอร์ไพร์ซถูกส่งจาก Kennedy Space Center ไปที่ Washington, D.C.และกลายเป็นสมบัติของสถาบันสมิธโซเนียน ยานเอนเทอร์ไพร์ซ ถูกสร้างเพื่อเป็นพาหนะในการทดสอบและไม่ได้ถูกติดตั้งเพื่อการบินในอวกาศ ใช้เวลาในการสร้างจนประกอบเสร็จจากโรงงานตั้งแต่ปี 1972-1975 ทำการทดสอบการบิน 16 ครั้ง
ยานโคลัมเบีย (Columbia (OV-102))
ยานโคลัมเบียเป็นยานบินในวงโคจรเป็นยานแรก เป็นยานแรกที่สามารถนำกลับมาบินได้อีก ยานนี้ได้ชื่อตามเรือที่กัปตันโรเบิร์ต เกรย์ (Robert Gray) ได้นำเรือโคลัมเบียผ่านสันทรายอันตรายปากแม่น้ำที่ซึ่งปัจจุบันคือ south-eastern British Columbia, Canada และชายแดนรัฐ Washington-Oregon ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1792 แม่น้ำสายนั้นต่อมาก็ได้ชื่อตามเรือลำนี้ Gray ยังได้นำเรือโคลัมเบียแล่นเรือขนสินค้าไปยังเมืองจีนและกลับมาที่บอสตัน ทั้งนี้ชื่อโคลัมเบียถือว่าเป็นชื่อแสดงเพศหญิงซึ่งตั้งตามชื่อนักสำรวจผู้มีชื่อเสียงคือ Christopher Columbus นั่นเอง ยานโคลัมเบียมักจะถูกเรียกว่า OV-102 น้ำหนักยานเปล่า 158,289 lbs at rollout และหนัก 178,000 lbs เมื่อติดตั้งเครื่องยนต์หลัก เที่ยวบินแรกคือ STS-1 ทำการบินในวันที่ 04/12/81 ยานโคลัมเบียถึงจุดจบในวันที่ 1 ก.พ.2003 โดยตัวยานระเบิดหลังจากกลับเข้าสู่โลกได้ 16 นาที ทั้งนี้ยานโคลัมเบียได้ทำหน้าที่เป็นยานขนส่งอวกาศทั้งหมด 28 เที่ยว
ยานชาแลนเจอร์ (Challenger (STA-099, OV-99))
ยานชาแลนเจอร์เป็นยานบินในวงโคจรยานที่สองที่ทำการบินที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี้ ยานนี้ถูกตั้งชื่อตามเรือสำรวจการวิจัยของราชนาวีอังกฤษที่ชื่อ HMS Challenger ที่ได้แล่นเรือไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกในช่วงทศวรรษ 1870's ยานลงดวงจันทร์ของ Apollo 17 ก็ถูกตั้งชื่อตามเรือ Challenger เช่นกัน ยานชาแลนเจอร์เริ่มประจำการกับนาซ่าในเดือนกรกฎาคม 1982 ได้ปฏิบัติภารกิจ 9 ครั้ง และในวันที่ 28 มกราคม 1986 ตัวยานพร้อมกับลูกเรือเจ็ดคนระเบิดกลางอากาศหลังจากการปล่อยยานได้เพียง 73 วินาที ยานชาแลนเจอร์มักจะถูกเรียกว่า OV-99 และ STA-099 เนื่องจากได้ถูกสร้างเป็นยานทดสอบก่อนทำการปรับเป็นกระสวยอวกาศ) เที่ยวบินแรกคือ (STS-6) ทำการบินในวันที่ 04/04/83 ยานชาแลนเจอร์ได้ทำการบิน 10 เที่ยว โคจรรอบโลก 987 เที่ยว ใช้เวลาในอวกาศ 69 วัน
ยานดิสคัฟเวอรี ( Discovery (OV-103) )
ยานดิสคัฟเวอรีเป็นยานที่สามที่ประจำการที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี้ ได้ชื่อตามชื่อเรือหนึ่งในสองลำที่นักสำรวจชาวอังกฤษ เจมส์ คุก (James Cook) ได้ใช้เดินทางในทศวรรษ 1770s ในการเดินทางไปแถบแปซิฟิกใต้ซึ่งนำไปสู่การค้นพบเกาะฮาวาย เรืออีกลำหนึ่งของเขาก็ได้ถูกนำมาตั้งชื่อยานอีกลำหนึ่งของนาซาคือยานเอนเดียเวอร์ ยานดิสคัฟเวอรีมักจะถูกเรียกว่า OV-103 น้ำหนักยานเปล่า 151,419 lbs at rollout และหนัก 171,000 lbs เมื่อติดตั้งเครื่องยนต์หลัก เที่ยวบินแรกคือ (41-D) ทำการบินในวันที่ 08/30/84
เที่ยวบินสุดท้ายคือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 กลับมาพื้นโลกวันที่ 9 มีนาคม 2554
ยานแอตแลนติส Atlantis (OV-104)
ยานแอตแลนติสเป็นยานลำที่สี่ที่ได้เข้าประจำการที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี้ ถูกตั้งชื่อตามเรือสำหรับการวิจัยของสถาบัน Woods Hole Oceanographic Institute แห่งรัฐแมตซาจูเซตต์ ที่ใช้งานในช่วงปี1930 ถึง 1966 ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ในการวิจัยทางสมุทรศาสตร์ ยานแอตแลนติสได้รับสืบทอดวิญญาณแห่งการเดินเรือโดยการรับภารกิจสำคัญ เช่นภารกิจการสำรวจ Galileo planetary ในปี 1989 และการสังเกตการณ์รังสี Arthur Holley Compton Gamma Ray ในปี 1991 ยานแอตแลนติสมักจะถูกเรียกว่า OV-104 น้ำหนักยานเปล่า 151,315 lbs at rollout และหนัก 171,000 lbs เมื่อติดตั้งเครื่องยนต์หลัก เที่ยวบินแรกคือ (51-J) ทำการบินเที่ยวบินแรกในวันที่ 10/03/85
ยานเอนเดียเวอร์ Endeavour (OV-105)
ยานเอนเดียเวอร์ถูกตั้งชื่อตามเรือลำแรกของกัปตัน Cook ซึ่งในการเดินเรือครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 1768 กัปตันคุก (Cook) ได้แล่นเรือไปที่แปซิฟิกใต้เพื่อเฝ้าสังเกตเหตุการณ์ดาวศุกร์โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ การกำหนดเส้นทางผ่านของดาวศุกร์ทำให้นักดาราศาสตร์ยุคนั้นสามารถหาระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้และได้ใช้ระยะทางนั้นเป็นหน่วยวัดระยะในจักรวาล ชื่อที่ได้นี้ได้จาการให้นักเรียนระดับประถมและมัธยมทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาได้เสนอชื่อแข่งขันกัน ยานเอนเดียเวอร์มักจะถูกเรียกว่า OV-105 น้ำหนักยานเปล่า 151,205 lbs at rollout และหนัก 172,000 lbs เมื่อติดตั้งเครื่องยนต์หลัก เที่ยวบินแรกคือ (STS-49) ทำการบินเที่ยวบินแรกในวันที่ 05/07/92