Thursday, April 28, 2016

Note for Play+Learn #1 (Einstein)

แนะนำคลิปวิดิโอให้น้องเพลินไปดูดีกว่า....

https://www.youtube.com/watch?v=1CYqBNgqJ1A

รื่องนี้ก็เป็นหนังน่าดูเรื่องนึง ที่อธิบายสมการของไอน์สไตน์ได้แบบเข้าใจง่าย พูดถึงชีวิตของไอน์สไตน์กับการค้นพบสมการ E= mc2 ของเขา เรื่องนี้วนเวียนกับสถานที่หลายแห่งในยุโรป(เผื่อหน่องน้องจะตามไปดูอีกครั้งเพื่อไปซาบซึ้งในรายละเอียด) มีตั้งแต่ที่ Bern, Munich, Zurich,Paris,London มีหลายที่ที่หน่องน้องเคยไปเนอะ

เรื่องนี้เล่าถึงการค้นพบสมการของไอน์สไตน์ โดยแยกไปดูตัวแปรแต่ละตัวว่ามีที่มาอย่างไร มีทั้งเรื่องของ ...

E Energy คือการทดลองของฟาราเดย์ที่พบความสัมพันธ์ของแม่เหล็กและไฟฟ้า (ปัจจุบันยังมีเลกเชอร์ที่ฟาราเดย์เซ็ตขึ้นตั้งแต่ปี 1825 คือ Christmas Lecture ของ Royal Institute หาดูได้ใน Youtube น่าสนใจมาก)

มีเรื่องของ M Mass คือการค้นพบกฏการทรงมวลของสสารของลาวัวซิเยร์(มีแลปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ art and craft ที่ปารีส ครั้งหน้าไปอย่าลืมแวะไปดู)

แล้ววกกลับมาที่เรื่องของ C Speed of light ก็เป็นการค้นพบของฟาราเดย์ที่ Maxwell นำไปต่อยอดจนกลายเป็นศาสตร์ Electromagnetic ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเร็วแสง (Light is another form of electromagnetic wave)

ส่วนตัวสุดท้ายในสมการคือ 2 squared มาจากผลงานของเอมิลี หญิงสาวตระกุูลสูงผู้ได้รับการศึกษาสูงมากของฝรั่งเศส เธอได้รับการกล่าวถึงโดยวอลแตร์ว่าเป็น "a great man whose only fault was being a woman" (http://www.singingbluejay.blogspot.com/.../%E0%B8%A7%E0... ) เธอศึกษางานของนิวตัน งานของไลซ์นิชในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ squared และงานของนักวิทยาศาสตร์ดัชต์ Willem 's Gravesande ที่พูดถึง kinetc energy การตกของบอลพิสูจน์ว่าแนวคิดของไลซ์นิชถูกต้อง

จากความรู้ของคนในอดีต ไอน์สไตน์ได้คิดในมุมมองใหม่ และได้สมการที่รวมทุกอย่างลงในรูปแบบง่ายๆ E=mc2

การพิสูจน์งานของไอน์สไตน์น่าจะกินเวลายาวนาน แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในช่วงนั้นมีนักฟิสิกส์หญิงชื่อ Lise Meitner ผู้ค้นพบการเกิด nuclear fission ลองคิดซิว่าถ้าเราแยกอะตอมหนึ่งอะตอมออกจากกันเป็นสองส่วน พลังงานที่เกิดขึ้นจะมากมายแค่ไหน มันเป็นไปตามสมการของไอน์สไตน์นั่นเอง (คนนี้เก๋มากๆ มีธาตุชนิดใหม่ที่ได้รับการตั้งชื่อว่า meitnerium เป็นเกียรติแก่เธอเมื่อปี 1997 จะมีใครซักกี่คนในโลกมีธาตุเป็นของตัวเองแบบนั้น และเป็นคนที่ไอน์สไตน์เรียกว่า German Marie Curie)

หลังจากการค้นพบที่จะแยกอะตอมได้ นักฟิสิกส์ทั่วโลกก็สามารถหาวิธีการที่จะสร้างการแยกอะตอมด้วยวิธีการอื่น ด้วยธาตุอื่น และระเบิดปรมาณูก็ุถูกสร้างขึ้นด้วยความสำเร็จของการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้เอง

เรื่องนี้สนุกดีนะ เราเห็นว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง บางคนก็รู้จักกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ฟาราเดย์จะเป็นผู้ช่วยของเซอร์ฮัมฟรีย์ แต่ไม่ได้รับการยกย่อง ในขณะที่เมื่อแก่ตัวลง ฟาราเดย์เป็นเพื่อนต่างวัยกับแมกซเวลล์และดีกันมาก เอมิลีและวอลแตร์ก็มีความสัมพันธ์กัน ไอน์สไตน์และแมก แพลงค์ก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ไมท์เนอร์ก็เคยเป็นผู้ช่วยของแพลงค์

Btw,ไอน์สไตน์ตายในปีที่ป้ามิลินท์เกิด ปี 1955 ค่ะ

No comments: